แหล่งท่องเที่ยวกาญจนบุรี


  • กาญจนบุรี.jpg
    อำเภอเมืองกาญจนบุรี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านเหนือทั้งตำบล ตำบลบ้านใต้ทั้งตำบล บางส่วนของตำบลปากแพรก และบางส่วนของตำบลท่ามะขาม รวมไปถึงบางส่วนของตำบลท่าล้อในเขตอำเภอท่าม่วง

  • ถ้ำกระแซ.jpg
    อำเภอไทรโยค เป็นอำเภอในจังหวัดกาญจนบุรี อยู่ห่างจากศูนย์กลางจังหวัดประมาณ 50 กิโลเมตร ลักษณะทั่วไปเป็นพื้นทีป่าไม้และภูเขา มีแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงคือ น้ำตกไทรโยค, ถ้ำละว้า,...

  • น้ำตกจ๊อกกะดิ่น
    อำเภอทองผาภูมินับว่าเป็นหัวเมืองเก่า ในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุง รัตนโกสินทร์ ตั้งอยู่ทางฝังตะวันออกของแม่น้ำแควน้อย ที่บ้านท่าขนุน มีเจ้าเมืองปกครองขึ้นตรงต่อกรุง รัตนโกสินทร์ ต่อม...

  • สะพานมอญ.jpg
    อำเภอสังขละบุรี เมืองสามหมอก ดินแดนสามวัฒนธรรม เมืองแห่ง สายน้้า ขุนเขา และผืนป่าอันอุดม เมืองที่มีความงามหลากหลายเชื้อชาติและวัฒนธรรมของพี่น้องต่างเผ่าพันธุ์ ทั้งมอญ กระเหรี่ยง ไท...

  • เขื่อนศรีนครินทร์
    “ศรีสวัสดิ์”มีประวัติการตั้งหมู่บ้านมาช้านานกว่า 200 ปีเศษ ในท้องที่อำเภอศรีสวัสดิ์ มีเมืองอยู่ 2 เมือง มีฐานะเป็นเมืองหน้าด่าน คือ เมืองศรีสวัสดิ์กับเมืองท่ากระดาน เมืองทั้งสองขึ้...

  • 1-01.jpg
    อำเภอท่าม่วงจัดตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2441ที่บ้านท่าไม้รวก ตำบลม่วงชุมในปัจจุบัน โดยเริ่มแรกเนื่องจากอำเภอที่ตั้งขึ้นมีอาณาเขตติดต่อกับ "วัดใต้" (วัดมโนธรรมารามในปัจจุบัน) จึงตั้งชื่อ...

  • ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ในจังหวัดกาญจนบุรี
    ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ในจังหวัดกาญจนบุรี - "กลุ่มศูนย์ปฏิบัติการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเนินพอกิน"ปรัชญา“- มูลนิธิพัฒนรักษ์” หนาวนี้มีโอกาสไปเยือนสังขละบุรีน่า...

  • ปกนวัตวิถี.png
    ไปกาญจน์กัน >>> รู้จักทั้ง 32 ชุมชน ที่ใครไปแล้วก็จะรัก

  • ปก.jpg
    สนใจรายละเอียดการทำบุญ ไหว้พระ แก้ปีชงของวัดในจังหวัดกาญจนบุรีเพิ่มเติมติดต่อ:081-4513581 คุณปัญญา

  • สวนผลไม้ อ.ทองผาภูมิ (1).png
    สวนผลไม้ อำเภอทองผาภูมิ วันนี้แอดมิน ว้าว ทูเกเตอร์ ทราเวล จะพาทุกคนมาอัพเดตสวนผลไม้ใน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี กันค่ะ พลาดไม่ได้เลยสำหรับคนที่มาเที่ยว อำเภอทองผาภูมิ นอกจาก...

   ประวัติความเป็นมาของกาญจนบุรี

   กาญจนบุรีเป็นดินแดนทีมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาสืบต่อกันมาหลายยุคสมัย  เริ่มตั้งแต่มีการตั้งถิ่นฐานมนุษย์  มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ริมน้ำแควน้อยและแควใหญ่ ในสังคมการล่าสัตว์มนุษย์เริ่มรู้จักการทำเครื่องเมือหินกะเทาะ เป็นดินแดนที่อยู่ของมนุษย์ยุคหินเก่า จากหลักฐานที่พบทางด้านโบราณคดีมากมาย อาทิเช่น เครื่องมือหินกะเทาะ   จนพัฒนาสู่สมัยสังคมเกษตรกรรม รู้จักการทำบ้านเรือนแบบง่ายๆ คลอดจนการทำพิธีกรรมต่างๆ ต่อมาเริ่มรู้จักเอาโลหะมาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ ดังพบหลักฐานที่บ้านดอนตาเพชร นอกจากนี้ยังมีการค้นพบ เครื่องมือสมัยหินใหม่ เครื่องมือสมัยโลหะ โครงกระดูกมนุษย์ ภาชนะดินเผา เครื่องประดับ ภาพเขียนสีที่ผนังถ้ำ โลงศพ ฯลฯ ตามถ้ำเพิงผา และตามลำน้ำแควน้อย ลำน้ำแควใหญ่ รวมถึงลุ่มแม่น้ำแม่กลอง

   เมื่อวัฒนธรรมอินเดีย  และพุทธศาสตร์แพร่เข้ามาสู่ดินแดนสุวรรณภูมิ ราวพุทธศตวรรษที่ 11 มีการค้นพบหลักฐานชุมชนโบราณที่บ้านพงตึก  บ้านท่าหวี  บ้างวังปะโท่ โบราณวัตถุสถานที่พบ อันประกอบด้วย ซากเจดีย์ วิหาร พระพุทธรูป พระพิมพ์ เสมาธรรมจักร ระฆังหิน เครื่องประดับ ภาชนะดินเผาและยังพบตะเกียงโรมันสำริด ที่มีอายุราว พ.ศ.600 นับเป็นโบราณวัตถุที่เก่าแก่ที่สุดของไทย  
   ภายหลังขอมได้ขยายอิทธิพลมาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ผ่านเมืองลพบุรี สุพรรณบุรีเข้าสู่กาญจนบุรี  ปรากฏหลักฐานคือปราสาทเมืองสิงห์ เมืองครุฑ เมืองกลอนโด ขึ้นที่ริมลำน้ำแควน้อย ในเขตอำเภอไทรโยค ซึ่งเชื่อว่า เป็นอิทธิพลจากศิลปะขอมในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 จนขอมเริ่มเสื่อมอำนาจลง 
จากหลักฐานทางเอกสารที่เก่าแก่ที่สุด ที่กล่าวถึงเมืองกาญจนบุรี คือ พงศาวดารเหนือ กล่าวว่า “ กาญจนบุรี เป็นเมืองของพญากง พระบิดาของพระยาพาน เป็นเมืองสำคัญของแคว้นอู่ทอง หรือสุวรรณภูมิ มีผู้สันนิษฐานว่าพญากง  สร้างขึ้นราว พ.ศ.1350 ” 
    จนเมื่อคนไทย สามารถรวบรวมตั้งเป็นอาณาจักรสุโขทัย ขึ้นเป็นอิสระ ได้พบพระปรางค์บนยอดเขารักษ์ ที่บ้านดอนแสลบ เป็นศิลปะสุโขทัยหรืออยุธยาตอนต้น  ต่อมาเมื่อกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมืองกาญจนบุรี ได้รับการยกฐานะเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญ คอยป้องกันทัพพม่าที่ยกมา ทางด่านพระเจดีย์สามองค์ และด่านบ้องตี้ (แควน้อยเขตอำเภอไทรโยค) พระมหาอุปราชา ได้กรีฑาทัพผ่านมาทางด่านเจดีย์สามองค์ และได้เข้ามาทำยุทธหัตถี กับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ ตำบลดอนเจดีย์ พระมหาอุปราชาถูกพระแสงง้าวสิ้นพระชนม์บนคอช้าง ในสมัยกรุงศรีอยุธยานี้ ไทยต้องทำสงครามกับพม่าถึง 24 ครั้ง กาญจนบุรีเป็นสมรภูมิหลายครั้ง และเป็นทางผ่านไปตีกรุงศรีอยุธยา จนต้องเสียกรุงครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.2310 ในสมัยกรุงธนบุรีเป็นราชธานี (พระเจ้าตากสินมหาราช) ในสมัยนั้นเกิดสงครามกับพม่าถึง 10 ครั้ง  

  กระทั่งถึงสมัยรัตนโกสินทร์  รัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช กษัตริย์ของพม่า คือพระเจ้าปดุง ต้องการยึดครองประเทศใกล้เคียง โดยการยกทัพเข้ามาตีไทย ทางด่านเจดีย์สามองค์ และทางด่านต่างๆ รวม 9 ทัพ จึงเรียกสงครามครั้งนั้นว่า “ สงคราม 9 ทัพ ” การสู้รบระหว่างไทยกับพม่า ณ ทุ่งลาดหญ้า (ปัจจุบันเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอเมือง) เป็นอดีตประวัติศาสตร์สำคัญครั้งหนึ่ง ของกาญจนบุรี เดิมตัวเมืองกาญจนบุรีเดิมนั้นตั้งอยู่ที่ตำบลลาดหญ้า ริมแม่น้ำแควใหญ่(บริเวณเขาชนไก่ในปัจจุบัน) เป็นเมืองที่เป็นทั้งสนามรบ และทางผ่านของกองทัพไทยและพม่า ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเรื่อยมา เมื่อเกิดการสู้รบบ่อยครั้ง ภายหลังจนถึง พ.ศ. 2374 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้โปรดให้ก่อสร้างกำแพงเมืองและป้อมปราการขึ้นเป็นการถาวร ณ เมืองกาญจนบุรีใหม่โดยตั้งอยู่ ณ ตำบลปากแพรก อันเป็นสถานที่บรรจบของแม่น้ำแควใหญ่และแม่น้ำแควน้อย ราษฏรจึงอพยพมาอยู่ที่ตำบลปากแพรก อย่างหนาแน่น ซึ่งเป็นที่รวมของแม่น้ำ 2 สาย คือแม่น้ำแควน้อย กับแม่น้ำแควใหญ่ กลายเป็นแม่น้ำแม่กลอง กลายเป็นชุมชนใหญ่ขึ้น มีการคมนาคมสะดวก โดยตัวเมืองอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำแม่กลองกับแม่น้ำแควใหญ่ ซึ่งมีความเหมาะสมทางยุทธศาสตร์และด้านการค้า โดยเริ่มก่อสร้างเมืองเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2374 และสำเร็จในวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2375 และได้แยกออกจากสุพรรณบุรีนับแต่นั้นเป็นต้นมา ทั้งนี้โดยมีพระราชประสงค์ส่วนใหญ่เพื่อติดต่อค้าขายกับเมืองราชบุรี ดังพระราชนิพนธ์เสด็จพระพาสไทรโยค กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า 

   "แต่มีเมืองปากแพรกเป็นที่ค้าขาย ด้วยเขาชนไก่เมืองเดิมอยู่เหนือมากมีแก่งถึงสองแก่ง ลูกค้าไปมาลำบาก จึงลงมาตั้งเมืองเสียที่ปากแพรกนี้เป็นทางไปมาแก่เมืองราชบุรีง่าย เมืองที่สร้างขึ้นใหม่ กว้าง 5 เส้น ยาว 18 วา มีป้อม 4 มุมเมือง ป้อมย่านกลางด้านยาวตรงหน้าเมืองทิศตะวันตกเฉียงใต้มีป้อมใหญ่อยู่ตรงเนิน ด้านหลังมีป้อมเล็กตรงกับป้อมใหญ่ 1 ป้อม" 

                                  ขอบพระคุณภาพสวยๆจาก Guitar Photo Home

  การสร้างเมืองกาญจนบุรีใหม่นี้ ดังปรากฏในศิลาจารึกดังนี้ ให้พระยาราชวรินทร์ เจ้ากรมพระตำรวจเป็นพระยาประสิทธิสงครามรามภักดีศรีพิเศษประเทศนิคมภิรมย์ราไชยสวรรค์พระยากาญจนบุรี ครั้งกลับเข้าไปเฝ้าโปรดเกล้าฯว่าเมืองกาญจนบุรีเป็นเมืองอังกฤษ พม่า รามัญ ไปมาให้สร้างเมืองก่อกำแพงขึ้นไว้จะได้เป็นชานพระนครเขื่อนเพชรเขื่อนขัณฑ์มั่นคงไว้แห่งหนึ่ง ในปัจจุบันกำแพงถูกทำลายลงโดยธรรมชาติและหน่วยราชการเพื่อประโยชน์อย่างอื่น เหลือเพียงประตูเมืองและกำแพงเมืองบางส่วน ให้เห็น ปัจจุบันตัวเมืองที่ตั้งศาลากลางจังหวัด ย้ายไปอยู่ที่บ้านบ่อ ห่างจากที่ตั้งเดิมไปทางใต้ 3 กิโลเมตร เนื่องจากตัวเมืองเดิมทรุดโทรม 

   ต่อมา ในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อมีการจัดรูปแบบการปกครองเป็นมณฑลเทศาภิบาล กาญจนบุรีถูกโอนมาขึ้นกับมณฑลราชบุรี และยกฐานะเป็นจังหวัดกาญจนบุรีในปี พ.ศ. 2467  ในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นนี้เอง กาญจนบุรีกลับกลายเป็นเมืองท่องเที่ยว  พระมหากษัตริย์สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นทุกพระองค์ได้เสด็จมา  โดยเฉพะรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสน้ำตกไทรโยค เป็นที่เลื่องลือความงามของธรรมชาติ ทำให้เกิดเพลงเขมรไทรโยค

    ครั้นเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2484-2485) กาญจนบุรี เข้ามาเกี่ยวข้องเมื่อญี่ปุ่น เกณฑ์เชลยศึกมาสร้างทางรถไฟไปพม่า   โศกนาฏกรรมก็เกิดขึ้น เพราะเชลยศึกรวมทั้งกรรมกรชาวต่างชาติต้องมาล้มตายในป่าเมืองกาญจน์ เป็นจำนวนมาก จึงเรียกทางรถไฟสายนี้ว่า  "ทางรถไฟสายมรณะ" ยังปรากฏหลักฐานของอนุสาร์สงคราม เช่น ทางรถไฟ สะพานข้ามแม่น้ำแคว โค้งมรณะ ตลอดจนสุสานของเหล่าเชลยศึกที่บ้านดอนรักและบ้านเขาปูน

ที่ตั้งและสภาพภูมิศาสตร์

สภาพที่ตั้งและอาณาเขต

   จังหวัดกาญจนบุรี ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของประเทศไทย อยู่ห่างจาก กรุงเทพฯ ตามเส้นทางถ.เพชรเกษม สายนครปฐม-บ้านโป่ง ประมาณ 129 กม. ที่ตั่งตามสภาพภูมิศาสตร์อยู่ในระหว่างเส้นรุ่งที่ 13 ลิปดา ถึง 15 องศาเหนือ และเส้นแวงที่ 98 องศา 10 ลิปดา ถึง 99 องศา 52 ลิปดา ตะวันออก มีพื้นที่ทั้งหมด 19,486.148 ตารางกิโลเมตรหรือ 12,176,967 ไร่  พื้นที่ส่วนใหญ่ 70 % เป็นภูเขา มีอาณาเขตมากเป็นอันดับที่ 3 ของประเทศไทย รองจาก จังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดเชียงใหม่ เป็นจังหวัดชายแดนทางด้านตะวันตกของไทย และมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศพม่า เป็นระยะทางตามแนวเทือกเขาตะนาวศรี ประมาณ 371 กิโลเมตร 

คำขวัญประจำจังหวัด

     " แคว้นโบราณ ด่านเจดีย์ มณีเมืองกาญจน์ สะพานข้ามแม่น้ำแคว แหล่งแร่ น้ำตก "

Visitors: 109,545