ศูนย์การเรียนรู้ราชานุรักษ์

ศูนย์การเรียนรู้ "ราชานุรักษ์"

เบอร์โทร. 034-571248

   ความเป็นมาของการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ราชานุรักษ์ แห่งนี้สืบเนื่องมาจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเล็งเห็นความสำคัญของ การอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ทรงเริ่มงานพัฒนาอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ  ตั้งแต่ปี พ.ศ.2503เป็นต้นมา  โดยมีพระราชดำริให้ดำเนินการรวบรวมรักษาพรรณพืชต่างๆ ที่หายากและกำลังจะหมดไป ต่อมาในปีพ.ศ.2535 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ได้ทรงสานพระราชปณิธานต่อโดยทรงมีพระราชดำริให้โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ดำเนินการจัดสร้างธนาคารพืชพรรณขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ.2536 เป็นต้นมา

ศูนย์การเรียนรู้ราชานุรักษ์
   การดำเนินงาน โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช  อันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตน ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ในระยะที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน มีหน่วยงานต่างๆ ร่วมสอนพระราชดำริเป็นจำนวนมาก โดยพื้นที่และกิจกรรมของโครงการ ได้ขยายและกระจายออกไปสู่ภูมิภาคต่างๆ รวมทั้งมีแนวทางการ ดำเนินงานที่หลาก หลายมากขึ้น ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ก็เป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่ตระหนักถึงความจำเป็นและเห็นประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น จากการดำเนินงานโครงการ อพ.สธ. จึงได้ ขอพระราชทานพระราชานุญาตเข้าร่วมสนองพระราชดำริ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 เป็นต้นมา

   เป้าหมายของโครงการเพื่อพัฒนาบุคลากร  อนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรพันธุกรรมพืชให้เกิดประโยชน์  ถึงมหาชนชาวไทย กิจกรรม ที่  กฟผ.ได้ร่วมสนองพระราชดำริ คือ การอนุรักษ์พันธุกรรมพืชป่ารอบเขื่อนอย่างเห็นคุณและรู้ค่า โดยให้เขื่อนต่างๆ ของ กฟผ. ทั้ง 11 แห่งทั่วประเทศ ดำเนินกิจกรรม 3 กิจกรรม คือ

1.จัดสรรพื้นที่ปกปักรักษา พันธุกรรมดั้งเดิม  สำหรับทำการศึกษาและนำมาใช้ประโยชน์
2.จัดแปลงปลูกรักษาพันธุกรรมพืชและรวบรวมพืชสมุนไพร  พืชอาหารสายพันธุ์ดั้งเดิมของท้องถิ่น มาปลูกรักษาไว้
3.สนับสนุนกิจกรรมต่างๆ  ของ อพ.สธ.  ถ่ายทอดความรู้และสร้างจิตสำนึก ในการอนุรักษ์ทรัพยากรของประเทศไทย โดยมี กฟผ. ชุมชนและเยาวชน ร่วมกันประสานองค์ความรู้คู่ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยเรียนรู้ร่วมกันในป่าผืนใหญ่

ศูนย์การเรียนรู้ราชานุรักษ์
     ในส่วนของ  เขื่อนศรีนครินทร์  ได้สร้าง  ศูนย์การเรียนรู้  “ราชานุรักษ์” ขึ้น  เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และจัดให้เป็นแหล่งการเรียนรู้สำหรับทุกคน ศูนย์การเรียนรู้ราชานุรักษ์แห่งนี้ เป็นศูนย์การเรียนรู้ที่ทันสมัย สร้างขึ้นด้วยแนวคิดใหม่ คือ สอนให้น้อย เรียนรู้ให้มากขึ้น “Teach Less–Learn more” แต่ละห้องที่จัดแสดง  ผู้เข้าชมสามารถแสวงหา ความรู้และค้นหาคำตอบได้ด้วยตนเอง โดยเจ้าหน้าที่จะแจกแท็บเล็ตให้ทุกคนที่ เข้าไปชมนิทรรศการ นำไปสแกน QR Code (Quick Response หมายถึง การค้นหา ข้อมูลต่างๆ อย่างรวดเร็ว) ที่ติดอยู่ตามผนังห้องแทนการติดป้ายนิเทศหรือรูปภาพแบบเดิมๆ  ก็สามารถรู้เรื่องราวต่างๆ  จากภาพและเสียงได้อย่างง่ายดาย  เทคโนโลยีที่ทันสมัยแบบนี้เหมาะสำหรับคนรุ่นใหม่และเด็กๆ

    เมื่อเข้าไป ห้องแรกจะได้ชมภาพยนตร์ “ขุมทรัพย์ของชาวไทย” ความอัศจรรย์ของระบบนิเวศป่าฝน มรดกทางธรรมชาติที่สำคัญของปวงชนชาวไทย เพื่อให้ผู้ที่ได้ชมร่วมกันคิดหาคำตอบว่า เราควรทำอย่างไรกับมรดกล้ำค่าแห่งนี้ จากนั้นไป

ศูนย์การเรียนรู้ราชานุรักษ์
     ส่วนที่ 1 สำรวจผืนป่าตะวันตก  ผ่านภาพถ่ายดาวเทียมขนาดยักษ์แผ่นใหญ่ที่สุดในโลก ทำเป็นอุโมงค์ทั้งสองข้างและเพดาน ซึ่งจะต้องใช้แท็บเล็ตสำหรับค้นคว้าหาความรู้ ผู้มาเยือนจะสามารถสำรวจความพิเศษของผืนป่าแห่งนี้ผ่านภาพถ่ายดาวเทียมขนาดยักษ์แผ่นใหญ่ที่สุดในโลก และระบบ Interactive QR Code ที่เกิดโอกาสให้ผู้มาเยือนแต่ละคน สำรวจสิ่งที่น่าสนใจได้ด้วยตนเอง เพื่อสัมผัสกับระบบนิเวศและทรัพยากร รวมทั้งลักษณะภูมิประเทศของผืนป่าตะวันตก พื้นที่ซึ่งมีกลุ่มรอยเลื่อนพาดผ่าน เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเปิดแผ่นดินไหว


ศูนย์การเรียนรู้ราชานุรักษ์
     ส่วนที่ 2 ขุมทรัพย์ที่ไม่มีวันหมด  ส่วนนี้เป็นห้องนิทรรศการที่เด็กและผู้ใหญ่ชื่นชอบ  เพราะนอกจากจะแหงนมองดูภาพต่างๆ ที่แขวนเรียงรายเต็มห้องแล้ว ยังได้รู้คำตอบผ่านระบบ  Manual  Interactive ของนิทรรศการพลังงานสะอาดได้ด้วยตนเอง  หนึ่งในทางเลือกของคนยุคนี้ เพื่อการดำรงชีวิตอย่างเป็นมิตรต่อทรัพยากรโลก คือการแสวงหาและใช้ประโยชน์จากแหล่งพลังงานธรรมชาติทดแทนเชื้อเพลิงพลังงานของโลก ที่นับวันมีแต่จะหมดไป มีอะไรบ้างให้เราใช้? ใช้เมื่อไหร่? ใช้อย่างไร? คำถามเหล่านี้ มีคำตอบรอคอยผู้มาเยือน ผ่านระบบ Manual Interactive ของนิทรรศการพลังงานสะอาดส่วนนี้


ศูนย์การเรียนรู้ราชานุรักษ์
     ส่วนที่ 3 แสงนำ ทางแห่งการอนุรักษ์  ห้องนี้ต้องให้เด็กๆดู  การหาความรู้จากห้องนี้ต้องดูจากรูเล็กๆ  แล้วจะรู้ว่าภายในรูนั้นมีความรู้อะไร ซ่อนอยู่บ้าง  เป็นเวลาเนิ่นนานมาแล้ว ที่แสงแห่งการอนุรักษ์ทรัพยากรได้สาดส่องนำทางแก่มหาชนชาวไทย มาตั้งแต่ก่อนกระแสตื่นตัวของนานาประเทศ จากพระราชดำริและพระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเมื่อกว่ากึ่งศตวรรษ ก่อนสู่การทรงสืบสานพระราชปณิธานโดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เกิดเป็นโครงการชื่อ “โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ” หรือ อพ.สธ. หน่วยงานอนุรักษ์ทรัพยากรชีวภาพ กายภาพ และภูมิปัญญาของชาวไทย


ศูนย์การเรียนรู้ราชานุรักษ์
     ส่วนที่  4  พระปณิธาน  คือ พลอากาศเอกกำธน  สินธวานนท์  องคมนตรีและอดีตผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย  ที่ออกมายืนพูดคุยถึงเรื่องราวต่างๆ เมื่อครั้งตามเสด็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไปตามเขื่อนต่างๆ ทั่วทุกภูมิภาค ต้องขอชมคนจัดห้องนี้ที่ทำวีดิโอสามมิติ เหมือนเรากำลังยืนคุยกับคุณกำธน สองต่อสองเลย ในพื้นที่ส่วนนี้ ผู้มาเยือนจะได้พบกับ ฯพณฯ พลอากาศเอก กำธน สินธวานนท์ องคมนตรี และอดีตผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มาบอกเล่าประสบการณ์ตรงของท่าน ถึงความทรงจำเมื่อครั้งตามเสด็จฯ ระหว่างทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจการพัฒนาในภูมิภาคต่างๆ ความทรงจำเหล่านั้นนำมาซึ่งแง่คิดและแรงบันดาลใจอย่างไรบ้าง ที่ ฯพณฯ องคมนตรี ปรารถนาจะถ่ายทอดสู่คนรุ่นหลังให้ได้รับรู้


ศูนย์การเรียนรู้ราชานุรักษ์
     ส่วนที่  5  อีกหนึ่งการอนุรักษ์ที่ตัวคุณ  ห้องนี้จะเป็นห้องสุดท้ายของการเยือนศูนย์ราชานุรักษ์แห่งนี้  ทุกคนจะได้รับแจกโปสต์การ์ดรูปต้นไม้และ เมล็ดพันธุ์พืชที่บรรจุในถุง พลาสติก แจกฟรีเป็นที่ระลึกคนละ  1  ชุด  เพื่อให้นำไปปลูก อันเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอีกทางหนึ่ง  ก่อนที่จะสิ้นสุดการมาเยือนศูนย์การเรียนรู้ “ราชานุรักษ์” แห่งนี้ กฟผ. เขื่อนศรีนครินทร์ มีบางสิ่งที่จะมอบสู่ผู้มาเยือนให้นำติดตัวกลับไป จะเป็นอะไรนั้น มาค้นหาคำตอบได้ที่ศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้

ทัวร์กาญจนบุรี+โฮมสเตย์ KH302ทัวร์กาญจนบุรี 3 วัน 2 คืน KH301


     ศูนย์การเรียนรู้ “ราชานุรักษ์” ตั้งอยู่ก่อนถึงห้องอาหารเรือนธารา รอบๆ บริเวณมีการจำลองวิธีการปลูกป่าแบบครบวงจรของ กฟผ. คือ มีทั้งการปลูกป่า ปลูกแฝก สร้างฝายชะลอน้ำ รวมทั้งการป้องกันไฟป่าที่มีหอเฝ้าสังเกตการณ์ไฟไหม้ป่าไว้ให้ดู มีไม้ดอกไม้ประดับ สวนหย่อม มุมสวยๆ ให้นักท่องเที่ยวเก็บภาพความประทับใจ

ศูนย์การเรียนรู้ราชานุรักษ์
     เจ้าหน้าที่ทุกคนจะ อำนวยความสะดวกพาเที่ยวชมสถานที่ต่างๆ  ที่สำคัญยังปรับพื้นที่ต่างๆ ทั่วบริเวณให้มีทางลาดสำหรับรถวีลแชร์ตามหลักอารยสถาปัตย์ ที่เอื้อเฟื้อต่อเด็กเล็ก สตรีมีครรภ์และคนชรา ให้เดินทางไปทุกที่ได้อย่างมีความสุขขอเชิญชวนนักเรียน นักศึกษา และประชาชนที่สนใจมาเที่ยวชมศูนย์การเรียนรู้ราชานุรักษ์ ที่เปิดให้บริการฟรี ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-16.00 น. จะไปเป็นครอบครัวหรือหมู่คณะก็ได้ แต่ต้องโทรศัพท์ติดต่อสอบถามนัดหมายล่วงหน้า ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0-3457-4248 และสามารถเข้าชมข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเขื่อนศรีนครินทร์ได้ที่ www.facebook.com/egatsnrศูนย์การเรียนรู้ “ราชานุรักษ์” นับได้ว่าเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่มีสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย หลากหลายรูปแบบ ตื่นเต้นน่าสนใจ ได้รับทั้งความรู้ ความเข้าใจ และยังสามารถ ค้นหาคำตอบได้ด้วยตนเองแบบมีส่วนร่วม แถมยังสอดแทรกแง่คิด แรงบันดาลใจใน การอนุรักษ์หวงแหน เห็นคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติให้อยู่คู่กับประเทศชาติและโลก ใบนี้ได้เป็นอย่างดี

ทัวร์กาญจนบุรี 3 วัน 2 คืน K302

     ครบเครื่องขนาดนี้ จึงอยากเชิญชวนให้มาเที่ยวพร้อมเก็บเกี่ยวความรู้และแรงบันดาลใจดีๆ ติดตัวกลับไป จะได้ช่วยกันคนละไม้คนละมือสร้างโลกใบนี้ให้สวยงามตลอดไป


ขอบคุณแหล่งข้อมูล: https://www.egat.co.th
                         https://www.thairath.co.th


ทีมงานไกด์กาญจนบุรี
บริการรถตู้ กาญจนบุรี

Visitors: 109,857