ปราสาทเมืองสิงห์

อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ เป็นหนึ่งในอุทยานประวัติศาสตร์ของประเทศไทย ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำแควน้อยทางทิศเหนือในเขตตำบลสิงห์ อำเภอไทรโยคจังหวัดกาญจนบุรี แวดล้อมด้วยทิวเขาเป็นแนวยาวอยู่โดยรอบ ลักษณะผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กำแพงเมืองก่อด้วยศิลาแลง กว้างประมาณ 800 เมตร หมายถึงส่วนกว้างของเมือง ยาวประมาณ 850 เมตร และกำแพงสูง 7 เมตร มีประตูเข้าออก 4 ด้าน มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ ภายในเมืองมีสระน้ำ 6 สระ

ประวัติ  

 หลักฐานเก่าแก่ที่สุดที่พบที่ในบริเวณเมืองสิงห์นั้น ได้จากการขุดค้นบริเวณริมแม่น้ำแควน้อยนอกกำแพงเมืองด้านทิศใต้ หลักฐานดังกล่าวเป็นหลุมฝังศพมนุษย์และเครื่องมือเครื่องใช้ที่ฝังร่วมกับศพ อาทิเช่นภาชนะดินเผา แวดินเผา ภาชนะสำริด ขวานสำริด ทัพพีสำริด กำไลสำริด ลูกปัดหินอะเกตและคาร์นีเลียน กำไลหิน ลูกปัดแก้ว กำไลเปลือกหอย ฯลฯ หลักฐานเหล่านี้คล้ายคลึงกับที่พบที่บ้านดอนตราเพชร อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งกำหนดอายุอยู่ในราวปลายยุคโลหะสมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีอายุประมาณ ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว แสดงให้เห็นว่าบริเวณนี้มีคนเข้ามาทำกิจกรรมก่อนหน้าที่จะสร้างเมืองเป็นเวลานานนับพันปี แต่น่าเสียดาย ที่ไม่ปรากฏหลักฐานแสดงความต่อเนื่องทางวัฒนธรรมของบริเวณนี้จากสมัยก่อนประวัติศาสตร์มาสู่ยุคที่มีการสร้างเมือง

 ปราสาทเมืองสิงห์
   ในสมัยต่อมาของเมืองสิงห์คือช่วงเวลาที่มีการสร้างเมือง ปรากฏหลักฐานเป็นจำนวนมาก ได้แต่ตัวเมืองรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดพื้นที่ประมาณ ๑ ตารางกิโลเมตร มีคูเมือง คันดิน และกำแพงเมืองศิลาแลงล้อมรอบ ที่กลางเมืองมีโบราณสถานทรงปราสาทสร้างขึ้นตามลักษณะศิลปะขอมแบบบายน และโบราณวัตถุที่เป็นประติมากรรมตามลักษณะศิลปะขอมแบบเดียวกัน ซึ่งจากลักษณะทางศิลปกรรมสามารถกำหนดอายุได้ว่าปราสาทหลังนี้น่าจะสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ หรือในราวรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ที่ประเทศกัมพูชา มีศิลาจารึกหลักหนึ่งที่พบที่ปราสาทพระขรรค์ อันเป็นศาสนสถานแห่งหนึ่งที่พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ได้ทรงสร้างขึ้น ศิลาจารึกหลักนี้สร้างขึ้นโดยเจ้าชายวีรกุมารพระราชโอรสองค์หนึ่งของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ มีข้อความสรรเสริญความกล้าหาญและการบุญกุศลของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ และมีตอนหนึ่งกล่าวถึงชื่อเมืองต่างๆ ๒๓ แห่ง ว่าเป็นที่ประดิษฐานพระชัยพุทธมหานาถ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปฉลองพระองค์พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ซึ่งน่าจะเกี่ยวข้องกับเมืองสิงห์และบริเวณใกล้เคียงโดยเฉพาะได้ระบุชื่อเมือง ๖ เมือง ได้แก่ ลโวทยะปุระ สุวรรณปุระ ศัมพูกปัฏฏนะ ศรีราชบุรี ศรีชัยสิงหบุรี และชัยวัชรบุรี ซึ่งตีความว่าอยู่ในเขตภาคกลางของประเทศไทย กล่าวคือ เมืองลโวทยปุระคือเมืองละโว้หรือลพบุรี สุวรรณปุระคือเมืองสุพรรณบุรี ชัยราชบุรีคือเมืองราชบุรี ชัยวัชรบุรีคือเมืองเพชรบุรี และเมืองศรีชัยสิงหบุรีก็คือเมืองสิงห์ที่ตั้งปราสาทเมืองสิงห์ในจังหวัดกาญจนบุรี
 
    ในสมัยกรุงศรีอยุธยาพระเจ้าแผ่นดินผู้ทรงปกครองบ้านเมืองคงจะมีพระราชดำริว่า เมืองสิงห์เป็นเมืองเล็กไม่มีความสำคัญแต่อย่างใด จึงไม่ได้มีการแต่งตั้งเจ้าเมืองปกครอง และในทำเนียบศักดินาหัวเมืองก็ไม่ปรากฏชื่อเมืองสิงห์อยู่เลย จึงเป็นที่เข้าใจว่าเมื่อขอมหมดอำนาจลงแล้ว เมืองสิงห์ก็คงถูกปล่อยให้เป็นเมืองร้างไป เมืองสิงห์ปรากฏหลักฐานอีกครั้งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์ได้ทรงสถาปนาเมืองสิงห์ขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง แต่มีฐานะเป็นเพียงเมืองหน้าด่านเล็กๆ มีเจ้าเมืองปกครองและขึ้นอยู่กับเมืองกาญจนบุรี แต่เนื่องจากบริเวณนี้เป็นที่กันดาร เจ้าเมืองจึงไม่ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่นี้ แต่ทว่าไปอยู่ที่บ้านโป่ง และส่งหมวดลาดตระเวณไปคอยตรวจตราเป็นประจำ เจ้าเมืองจะขึ้นไปบัญชาการที่เมืองนี้ก็เฉพาะแต่กรณีฉุกเฉินบางครั้งบางคราวเท่านั้น
 
   ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ได้พระราชทานนามให้แก่เจ้าเมืองต่างๆ ที่ครองเมืองด่านเล็กๆ ตามลำน้ำแควน้อยนี้ใหม่ทั้งหมด เช่น โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามเจ้าเมืองไทรโยคว่าพระนิโครธาภิโยค พระราชทานนามเจ้าเมืองท่าตะกั่วว่า พระชินดิษฐบดี สำหรับเมืองสิงห์เจ้าเมืองได้รับพระราชทานนามว่า "พระสมิงสิงห์บุรินทร์"

    เมืองสิงห์ยังคงดำรงฐานะเป็นเมืองเรื่อยมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พระองค์ทรงเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาลขึ้นใหม่ ครั้งนี้เมืองสิงห์ถูกลดฐานะลงเป็นตำบลเรียกกันว่าตำบลสิงห์เรื่อยมาจนทุกวันนี้
 
    เมืองสิงห์ได้ประกาศขึ้นทะเบียนเมืองสิงห์เป็นโบราณสถานของชาติ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๕๒ ตอนที่ ๗๕ ลงวันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๗๘ เรื่องกำหนดจำนวนโบราณสถานสำหรับชาติ แต่ยังไม่ได้กำหนดขอบเขต การกำหนดขอบเขตโบราณสถานมีขึ้นในปี ๒๕๐๓ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ ๗๗ ตอนที่ ๖๐ ลงวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๐๓ มีเนื้อที่ทั้งสิ้น ๗๑๘ ไร่ ๓ งาน และกรมศิลปากรได้มีหนังสือลงวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๐๓ ถึงกรมที่ดิน เพื่อขอให้ออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง เมื่อพนักงานที่ดินจังหวัดดำเนินการรังวัดสอบเขต แล้วจึงได้ออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง มีเนื้อที่ ๖๔๑ ไร่ ๑ งาน ๖๕ ตารางวา โดยกรมศิลปากรได้รับหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงนี้ไว้เมื่อวันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๐๕
 
    หลังจากนั้นจนกระทั่ง พ.ศ. ๒๕๑๗ จึงได้เริ่มดำเนินการเพื่อการบูรณะพัฒนาพื้นที่ โดยการดำเนินการถากถางทำความสะอาด ขุดแต่งขุดค้น บูรณะโบราณสถาน ปรับปรุงสภาพแวดล้อม ปรับปรุงสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็น และดำเนินการจัดการในรูปของอุทยานประวัติศาสตร์ เมื่อการดำเนินการเสร็จ จึงได้มีพิธีเปิดอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๓๐ โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ มาเป็นองค์ประธานในพิธี และนับว่าเป็นอุทยานประวัติศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย

โบราณสถาน

ปราสาทเมืองสิงห์

 ปราสาทเมืองสิงห์ตั้งอยู่บริเวณที่ราบริมฝั่งทิศเหนือของแม่น้ำแควน้อย พื้นที่โดยรอบโอบรอบด้วยภูเขาขนาดไม่สูงมากนัก บริเวณโบราณสถานจะมีกำแพงและคูคันดินเป็นชั้นๆ แนวกำแพงดังกล่าวมีลักษณะเกือบเป็นรูปสี่เหลี่ยม คือแม่น้ำแควน้อยไหลผ่านด้านทิศใต้ ด้งนั้นพื้นที่ด้านนี้จึงขยายออกไปตามแนวแม่น้ำ สำหรับด้านทิศตะวันออก ทิศตะวันตก และทิศเหนือ แนวกำแพงต่อกันเป็นรูปสีเหลี่ยม รอบนอกกำแพงจะเป็นคูคันดินล้อมรอบอยู่ โดยเฉพาะด้านตะวันตกปรากฏซากคันดินอยู่ถึง 7 ชั้น กำแพงและคูดินนี้จะล้อมรอบกลุ่มโบราณสถานสำคัญ ซึ่งประกอบด้วยโบราณสถานหมายเลข 1 - 4 กำแพงและประตู คูคันดิน สระน้ำ และสิ่งก่อสร้างอื่นๆ  โบราณสถานในอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ สามารถแบ่งได้เป็นเช่นนี้
 โบราณสถานหมายเลข 1
    โบราณสถานหมายเลข 1 โบราณสถานหมายเลข 1 ตั้งอยู่บริเวณใจกลางกลุ่มโบราณสถาน องค์โบราณสถานหันหน้าไปทางทิศตะวันออกและประกอบด้วยสิงห์สำคัญคือ ปรางค์ประธาน ระเบียงคด โคปุระ บรรณศาลา และกำแพงแก้ว
   ปรางค์ประธานเป็นศูนย์กลางของโบราณสถานมีลักษณะเป็นปรางค์องค์เดียวทรงหอสูงคล้ายฝักข้าวโพด องค์ประธานตั้งอยู่บนฐานย่อมุมไม้ 20 ขนาดกว้างและยาวด้านละ 13.20 เมตร มีมุขยื่นออกไปรับกับมุขด้านในของโคปุระทั้งสี่ทิศ โดยมุขด้านตะวันออกยาวกว่าด้านอื่นๆ และระหว่างปรางค์ปรานกับโคปุระด้านตะวันออกมีลานศิลาแลงเชื่อมเป็นลานกว้าง ระเบียนคดเป็นอาคารที่ล้อมรอบองค์ปรางค์ประธาน ด้านเหนือและด้านใต้ยาวด้านละ 42.50 เมตร ด้านตะวันออกและด้านตะวันตกยาวด้านละ 36.40เมตร ตามมุมของระเบียนคดจะมีซุ้มทิศอยู่สี่มุม
   โคปุระหรือซุ้มประตูเข้าเป็นอาคารอยู่ระหว่างระเบียงคดทั้ง 4 ด้าน ซึ่งอยู่ในแนวเดียวกับซุ้มขององค์ปรางค์ และมีทางเข้าเฉพาะซุ้มด้านทิศตะวันออกเท่านั้น
    บรรณศาลาหรือบรรณาลัยเป็นอาคารเล็กๆ มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 4.50เมตร ยาว 5.50 เมตร ตั้งอยู่ที่มุมทิศตะวันออกเฉียงใต้ขององค์ปรางค์ประธานประตุบรรณศาลามีประตูเดียวอยู่ทางตะวันตก สันนิษฐานว่าบรรณลัยนี้เป็นที่เก็บตำราหรือคัมภีร์ต่างๆ ทางพระพุทธศาสนา กำแพงแก้วเป็นส่วนที่ล้อมรอบตัวปราสาทมีประตูเข้าทางตะวันออก กำแพงแก้วประกอบด้วยฐานกว้าง 2.40 เมตร มีด้านกว้าง 81.20 เมตร และยาว 97.60เมตร
โบราณสถานหมายเลข 2
    โบราณสถานหมายเลข 2 ยังมีปรางค์ประธาน โคปุระ 4 ด้าน แต่พังลงมามาก บูรณะได้น้อย สถานที่ขุดพบเทวรูป
โบราณสถานหมายเลข 2 โบราณสถานแห่งนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของโบราณสถานหมายเลข1 และมีลักษณะคล้ายคลึงกัน ตัวโบราณสถานตั้งอยู่บนฐานสูงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 33.90 เมตร ยาว 54.20 เมตร และสูง 80 เมตร โบราณสถานหมายเลข 2 ตั้งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก และประกอบด้วยปรางค์ประธาน ระเบียงคดโคปุระ และกำแพงแก้ว ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับโบราณสถานหมายเลข 1 แต่มีขนาดเล็กกว่า โบราณสถานกลุ่มนี้ยังสร้างไม่เสร็จเรียบร้อย
   โบราณสถานหมายเลข 1 และโบราณสถานหมายเลข 2 เป็นอาคารที่สันนิษฐานว่า เป็นศาสนสถานที่สำคัญ มีองค์ปรางค์ประธานตั้งอยู่กลางอาคารและเป็นที่ตั้งของรูปเคารพที่สำคัญอีกด้วย การก่อสร้างใช้ศิลาแลงเป็นส่วนวัสดุสำคัญ วัสดุอืนๆที่ใช่ ประกอบอาคารคือ กระเบื้องดินเผา ไม้ ศิลาทราย เหล็ก และอิฐ เป็นต้น การตกแต่งตัวอาคารใช้ปูนฉาบและประดับด้วยลายปูนปั้นตามปรางค์ประธานและซุ้มทิศ ปูนปั้นใช้หินปูนและเปลือกหอยเผาบดแล้วผสมด้วยกาวหนังสัตว์หรือส่วนผสมที่มีความข้นเหนียวและคลุกเคล้ากับน้ำอ้อยเพื่อให้ปูนแข็งตัวช้าทำให้ง่ายต่อการปั้นแต่งเป็นลวดลาย เทคนิคในการก่อสร้าง การก่อสร้างปรางค์ประธาน ซุ้มทิศ ระเบียง ล้วนใช้สิลาแลงและเรียงซ้อนขึ้นไปโดยมิได้ใช้ปูนสอ แต่บางแห่งก็ใช้เหล็กรูป ตัวไอ หรือ ตัวที ช่วยยึดระหว่างก้อนศิลา
โบราณสถานหมายเลข 3
    โบราณสถานหมายเลข 3 โบราณสถานแห่งนี้อยู่บริเวณนอกกำแพงแก้วทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของโบราณสถานหมายเลข 1 องค์โบราณสถานมีลักษณะเป็นสิ่งก่อสร้างขนาดเล็กสร้างด้วยอิฐและศิลาแลง ซึ่งอาจจะเป็นฐานของเจดี ดังที่กรมศิลปากรสันนิษฐานว่า สิ่งก่อสร้างสันนิษฐานว่าเป็นเจดี 2 องค์ ฐานแรกมีขนาด 5.20 คูณ 5.20 เมตร เป็นฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสสูง 1.43 เมตร ลักษณะเป็นฐานเขียงสี่เหลี่ยม ก่อขึ้นไปเป็นฐานปัทม์(บัวคว่ำหงาย) ทั้งหมดนี้ก่อสร้างด้วยอิฐโดยใช้เทคนิคการเรียงอิฐแบบ Header Bond คือใช้ด้านสันของอิฐโผล่ออกมาด้านนอก ชั้นบนของฐานปัทม์ขึ้นไปใช้ศิลาแลงก่อเป็นฐานเขียงอีกชั้นหนึ่ง...ฐานเจดีอีกองค์หนึ่งทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือใช้แลงก่อเป็นฐาน...ฐานเจดีอีกองค์นี้สภาพชำรุดมากจึงไม่สามารถบอกขนนาดและลักษณะที่แน่นอนได้
โบราณสถานหมายเลข 4
   โบราณสถานหมายเลข 4 อยู่ใกล้หมายเลข 3 ยังบูรณะอยู่ เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าโบราณสถานหมายเลข4โบราณสถานแห่งนี้เป็นอาคารรูปสี่เหลียมผืนผ้าแบ่งเป็นส่วนเรียงเป็นแถวแนวเหนือใต้ แต่ละส่วนมีขนาดกว้าง 3.90 เมตร และยาว 6.65 เมตร โดยเว้นระยะห่าง กัน 0.50 เมตรในแต่ล่ะส่วนทำเป็นขอบสูงขึ้นมาประมาณ 40 เซนติเมตร บนฐานส่วนที่สองจากทิศของประติมากรรมตั้งอยู่ การก่อสร้างอาคารใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุสำคัญ



กาญจนบุรี ไหว้พระ (K307)

ภูมิปัญญาด้านวรรณกรรมในท้องถิ่น  ตำนานปราสาทเมืองสิงห์
   ตำนานปราสาทเมืองสิงห์ คำบอกเล่าของชาวพื้นเมืองว่า มีภิกษุชาวกะเหรี่ยงเล่าตำนานที่เกี่ยวกับเมืองสิงห์และปราสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี มีใจความสำคัญซึ่งนำมาเรียบเรียงได้ดังต่อไปนี้
    เดิมมีพระฤาษีตนหนึ่งอาศัยอยู่ที่วัดสูงงิ้วด้านทิศเหนือของจังหวัดนครศรีธรรมราช ฤาษีมี ลูกศิษย์อยู่สองคน คือท้าวอู่ทอง
กับท้าวเวชสุวรรณโณ ภายในบริเวณอาศรมที่หลังเขาสูงงิ้วดำมี บ่อทอง บ่อเงิน และบ่อน้ำกรด ซึ่งพระฤาษีห้ามศิษย์ทั้งสองลงไปเล่นบริเวณนั้นอยู่มาวันหนึ่งพระฤษีไม่อยู่ ท้าวอู่ทองกับท้าวเวชสุวรรณโณ จึงหนีไปที่บ่อทั้งสาม ทั้งสองจึงคิดอยากจะลงไปในบ่อ และตกลงกันว่า ถ้าใครลงไปในบ่อคนที่อยู่ข้างบนต้องฉุดขึ้นมา ครั้นตกลงกันเสร็จแล้วท้าวอู่ทองจึงลงไปก่อนในบ่อเงิน และบ่อทอง บ่อทั้งสองจึงแห้งหมด ท้าวเวชสุวรรณโณจึงฉุดท้าวอู่ทองขึ้นมา คราวนี้ท้าวเวชสุวรรณโณจะต้องลงไปบ้าง ซึ่งเหลือบ่อน้ำกรดเป็นบ่อสุดท้าย และท้าวเวชสุวรรณโณก็ยินยอมที่จะลงไปในบ่อน้ำกรดนั้น เมื่อท้าวเวชสุวรรณโณลงไปแทนที่น้ำกรดจะแห้งเหมือนบ่อเงิน บ่อทอง กลับปรากฏว่าร่างของท้าวเวชสุวรรณโณถูกน้ำกรดกัดจนกร่อนละลาย ท้าวอู่ทองเห็นดังนั้นจึงไม่ยอมฉุดท้าวเวชสุวรรณโณขึ้นมาจากบ่อน้ำกรดนั้น และตนเองก็หลบหนีไปเมื่อฤาษีกลับมาที่พัก ไม่เห็นลูกศิษย์ทั้งสอง จึงไปดูที่บ่อน้ำทั้งสาม เห็นบ่อเงินและบ่อทองน้ำแห้ง และในบ่อกรดเห็นร่างของท้าวเวชสุวรรณโณกำลังถูกน้ำกรดกัดกร่อนเหลือเพียงเล็กน้อยจึงช่วยขึ้นมาจากบ่อน้ำกรด แล้วชุบตัวท้าวเวชสุวรรณโณขึ้นมาใหม่ เมื่อท้าวเวชสุวรรณโณได้รับการชุบตัวขึ้นมาใหม่ก็เคียดแค้นท้าวอู่ทอง จึงคิดตามล่าล้างแค้นท้าวอู่ทองให้จงได้ท้าวอู่ทองผู้เป็นฝ่ายหนีออกเดินทาง ก้าวหนึ่งเท่ากับนกเขาเหินหนึ่งครั้ง ส่วนท้าวเวชสุวรรณโณ เป็นฝ่ายตามล่านั้นเดินทางก้าวหนึ่งเท่ากับนกเขาเดินหนึ่งก้าว ดังนั้นท้าวอู่ทองจึงมีเวลาหนีไปได้ไกลและสามารถสร้างเมืองครอบครองได้ แต่ทว่าท้าวเวชสุวรรณโณก็ไม่ละความพยายามที่จะติดตามและมาทันทุกครั้งที่ท้าวอู่ทองหยุดสร้างเมือง ท้าวอู่ทองซึ่งมุ่งหน้าไปทางทิศเหนือ มาสร้างเมืองครั้งแรกที่สระ ๔ มุมแต่สามารถสร้างได้เพียงสระเท่านั้นยังไม่ทันสร้างเมือง ท้าวเวชสุวรรณโณก็ตามมาทันอีก ท้าวอู่ทองจึงหนีต่อมาที่วังเย็นแต่สร้างเสร็จแค่กลอนประตูท้าวเวชสุวรรณโณก็ตามมาทันอีก ท้าวอู่ทองจึงต้องหนีไปสร้างเมืองขึ้นอีกเรียกว่าเมืองครุฑ ท้าวเวชสุวรรณโณ ก็ตามมาทันอีกท้าวอู่ทองจึงหนีจากเมืองครุฑมาสร้างเมืองสิงห์และสามารถสร้างได้สำเร็จ มีการสร้างกำแพงป้องกันอย่างแน่นหนาเพื่อป้องกันท้าวเวชสุวรรณโณ และสร้างกำแพงดินล้อมรอบกำแพงเมือง 7 ชั้นจึงสร้างกำแพงเมืองซึ่งด้านนอกก่อด้วยศิลาแลง สร้างกำแพงแก้วล้อมรอบตัวปราสาทอีกชั้นหนึ่ง ยากที่ท้าวเวชสุวรรณโณจะตามไปข้างในได้ ท้าวอู่ทองได้จัดเวรยามคอยเฝ้าอย่างแน่นหนา และปิดประตูเมืองไม่ให้ใครเข้าออก เมื่อท้าวเวชสุวรรณโณตามมาทันแต่ไม่อาจจะเข้าไปภายในเมืองได้ เพราะมีทั้งกำแพงเมืองและทหารคอยเฝ้าอยู่อย่างแข็งแรงจึงได้แปลงกายเป็นลูกวัวเดินร้องอยู่ที่หน้า
ประตูเมือง ทหารคิดว่าคงจะหลงแม่หรือฝูงวัวมา แต่ก็มองหาฝูงวัวไม่พบจึงนำความไปกราบทูลท้าวอู่ทอง ท้าวอู่ทองไม่ทราบว่าลูกวัวนี้คือท้าวเวชสุวรรณโณซึ่งแปลงตัวมา จึงให้นำ ลูกวัวเข้ามาเลี้ยงไว้ในเมืองท้าวเวชสุวรรณโณได้โอกาสจึงจับทหารของท้าว อู่ทองกินทีละคนเป็นประจำทุกวันจนเกือบหมดท้าวอู่ทองเกิดความสงสัยว่าลูกวัวที่นำมาเลี้ยงนี้คงจะเป็นใครไม่ได้นอกจากท้าวเวชสุวรรณโณ จึงคิดหนีออกจากกำแพงเมืองทางด้านกำแพงขาดไปพร้อมทั้งหีบและโซ่เมื่อไปถึงวังหีบ ท้าวอู่ทองก็ลงไปในหีบที่นำมาเอาโซ่มัดหย่อนลงน้ำ แต่ท้าวเวชสุวรรณโณก็ตามมาทัน เท้าของท้าวเวชสุวรรณโณไปสะดุดโซ่ที่มัดหีบไว้จึงสาวขึ้นมา เมื่อเปิดหีบดูเห็นท้าวอู่ทองอยู่ในหีบนั้น จึงจับท้าวอู่ทองกินจนหายแค้น

ที่มาของรูปแบบ
  อาคารทรงปราสาทที่ใช้เป็นศาสนสถานในวัฒนธรรมขอมนั้นมีที่มาจากอินเดีย กล่าวคือ ชาวอินเดียได้สร้างปราสาท ขึ้นเพื่อประดิษฐานรูปเคารพทางศาสนา เรียกว่า เทวาลัยโดยสร้างอาคารของปราสาทเมืองสิงห์เป็นอาคารที่มีหลังคาซ้อนชั้นขึ้นไปหลายชั้น แต่ละชั้นมีการประดับอาคาร เป็นการสร้างในสายวัฒนธรรมของอินเดียภาคใต้เรียกว่า “ทรงวิมาน” คือปราสาทที่มีหลังคาซ้อนเป็นชั้นๆ แต่ละชั้นมักประดับอาคารจำลองจากรูปแบบของปราสาทขอม ในระยะแรกเชื่อกันว่าได้รับอิทธิพลของทรงศิขรจากอินเดียภาคเหนือส่วนทรงวิมานนั้นส่งอิทธิพลมายังศิลปะชวา
คติการสร้าง
  การสร้างอาคารทรงปราสาทมาจาก คติความเชื่อของชาวอินเดียที่ว่าเทพเจ้าทั้ง หลายสถิตอยู่ ณ เขาพระสุเมรุอันเป็นแกนกลางของจักรวาลซึ่งอยู่บนสวรรค์การสร้างปราสาทจึงเปรียบเสมือนการจำลองเขาพระสุเมรุมายังโลกมนุษย์ เพื่อเป็นที่สถิตของเทพเจ้า และมีการสร้างรูปเคารพของเทพเจ้าขึ้นเพื่อประดิษฐานไว้ภายในโดยตัวปราสาทมีสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ใช้แทนความหมายของเขาพระสุเมรุ เช่น มีปราสาทประธานตรงกลางมีปราสาทบริวารล้อมรอบ ถัดออกมามีสระน้ำ และกำแพงล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง การที่ทำหลังคาปราสาทเป็นเรือนซ้อนชั้นก็ หมายถึง สวรรค์หรือวิมานของเทพเทวดานั่นเอง ด้วยเหตุที่เป็นการจำลองจักรวาลมาไว้บนโลกมนุษย์ และเป็นที่สถิตของเทพเจ้าจึงต้องมีระเบียบกฎเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ในคัมภีร์ทางศาสนาอย่างเคร่งครัด ตัวปราสาทจึงมีขนาดใหญ่โต และใช้เวลาก่อสร้างยาวนาน
ความสำคัญ
  ด้วยเหตุที่การสร้างปราสาทขอมมีความเชื่อในเรื่งศูนย์กลางของจักรวาล ดังนั้นตัวปราสาทและเขต ศาสนสถานจึงถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และใช้ในความหมายที่เป็นศูนย์กลางของเมืองหรือชุมชน ปราสาทเป็นที่ประดิษฐาน รูปเคารพและใช้ทำพิธีกรรมทางศาสนา ซึ่งในศาสนาฮินดูจะมีพราหมณ์เป็นผู้ทำพิธี เช่น การสรงน้ำรูปเคารพที่อยู่ภายในห้องครรภคฤหะ น้ำที่สรงแล้วจะไหลออกมาทางท่อน้ำเรียกว่า ท่อโสมสูตร ซึ่งต่อออกมาภายนอกตัวปราสาท เพื่อที่ชาวบ้านจะได้นำน้ำศักดิ์สิทธิ์นี้ไปใช้
นอกเหนือจากปราสาทที่เป็นศูนย์กลางของชุมชนแล้วการสร้างสระน้ำและบาราย (สระน้ำขนาดใหญ่)ก็เป็นส่วนหนึ่งของปราสาท เพื่อเป็นอ่างเก็บน้ำสำหรับชุมชนในการอุปโภคบริโภค ดังนั้น การสร้างปราสาทจึงเป็นภาระสำคัญของพระมหากษัตริย์ที่เมื่อขึ้นครองราชย์แล้ว ต้องสร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้แก่บรรพบุรุษ หรือให้แก่พระองค์เอง และสร้างบารายให้แก่ประชาชน การสร้างปราสาทที่มีขนาดใหญ่จึงแสดงให้เห็นถึงบุญบารมี และพระราชอำนาจของกษัตริย์แต่ละพระองค์ด้วย
ความเกี่ยวเนื่องระหว่างปราสาทกับศาสนา
  ศาสนสถานในศิลปะขอม จะสร้าง ขึ้นเนื่องใน พระพุทธศาสนานิกายมหายาน ที่สร้างขึ้นในศิลปะแบบบายนโดยเฉพาะทับหลัง ประดับด้านหน้าของห้องครรภคฤหะจะเป็นตัวบอกได้ดีที่สุด ในส่วนของปราสาทที่สร้างขึ้นในศาสนาฮินดูเป็น ลัทธิ “ไวษณพนิกาย” คือ การบูชาพระนารายณ์ หรือพระวิษณุเป็นใหญ่ ซึ่งพบกลุ่มปราสาทรุ่นหลังในศิลปะแบบบายนที่พบทางภาคกลางของประเทศไทยทั้งหมด
• มูลเหตุของการสร้างปราสาท มาจากอิทธิพลความเชื่อต่างๆทางศาสนาเป็นแรงบันดาลใจให้พระเจ้าแผ่นดินเขมร ได้ก่อสร้างปราสาทที่ใหญ่โตและงดงามไว้มากมาย คำว่า “ปราสาท”ไม่ได้หมายความว่าเป็นปราสาทพระราชวัง และก็ไม่ใช่ที่ประทับของพระมหากษัตริย์ แต่เป็นที่อยู่ของเทพเจ้า โดยรูปแบบของปราสาทนั้นจะมีลักษณะแบบ “ศาสนาสถาน มีคูน้ำล้อมรอบ และยังมีการแกะสลักหินให้มีลวดลายเป็นพญานาค เพื่อแสดงถึงสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ที่มีอยู่ในอาณาจักรนั่นเอง”
วัตถุประสงค์ ในการสร้างปราสาทที่ปรากฏคือสร้างปราสาทขึ้นเพื่อต้องการให้เป็นศูนย์กลางของเมือง ของ ปราสาทบายน
ความเชื่อทางศาสนาของอาณาจักรขอม
  • ในช่วงพุทธศักราชที่ 500 ศาสนาพราหม์ที่ได้มีการนับถืออยู่ในประเทศอินเดีย ได้มีการเริ่มแผ่กระจายขยายอิทธิพลไปยังดินแดนกัมพูชา โดยเข้ามาตามเส้นทางของการค้าขายและใน ช่วงเวลาไม่นานชาวกัมพูชาต่างก็ยอมรับศาสนาพราหมณ์ และศาสนาพราหมณ์จะมีความโดเด่นและรุ่งเรืองในกัมพูชาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 6-16 จากนั้นก็มีการสร้างปราสาทและรูปเคารพขึ้นมากมาย
  • ในช่วงยุคแรกๆเทวสถานจะสร้างอยู่บนภูเขาหรือเนินเขาที่เป็นธรรมชาติ ซึ่งถูกจัดไว้เป็นศูนย์กลางจักรวาล หลังจากนั้นจึงได้มีการปรับเปลี่ยนโดยการสร้างเทวสถานขึ้นมาใหม่ในบริเวณพื้นที่ราบใจกลางเมือง ซึ่งลักษณะในการก่อสร้างนั้นอาจสร้างภูเขาจำลองขึ้นมาแทน อยู่ใจกลางเมืองเปรียบเสมือนกับแกนหรือศูนย์กลางของจักรวาลนั่นเองศาสนาพุทธในอาณาจักรดินแดนขอมเป็นพระพุทธศาสนานิกายมหายาน ได้มีการผสมผสานควบคู่กับการนับถือเทพเจ้าฮินดู มีความเชื่อว่าพระพุทธเจ้าได้ทรงสร้างโลกนี้ขึ้นมา และยังได้มีการนับถือพระโพธิ์สัตว์ เพราะเคยเป็นอดีตชาติของพระพุทธเจ้า ทางด้านพระโพธิ์สัตว์ที่เคารพก็คือ พระโลกิเตศวร และพระอวโลติเกศวรในช่วงสมัยพระนครเมืองพระนครถือได้ว่า พระพุทธศาสนามหายานเป็นที่นับถือกันอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ซึ่งในแต่ละยุคแต่ละสมัย ศาสนาพุทธและศาสนาฮินดู ได้ผลัดกันเจริญรุ่งเรือง เพราะอยู่ที่ว่ากษัตริย์ที่ขึ้นปกครองเลือกนับถือศาสนาไหนเป็นหลักรูปเคารพของพุทธศาสนานิกายมหายานการสังเกตว่าศาสนสถานแห่งนั้นๆ สร้างขึ้นเนื่องในศาสนาและลัทธิใด ดูได้จากรูปเคารพที่ประดิษฐานภายในปราสาทประธานเป็นสำคัญ ถ้าไม่ปรากฏรูปเคารพให้ดูได้จากภาพเล่าเรื่องบนทับหลังในปราสาทเมืองสิงห์ปรากฏรูปเคารพดังนี้
พระโพธิ์สัตว์โลเกศวร

พระโพธิ์สัตว์โลเกศวร หมายถึงพระโพธิ์สัตว์ที่ได้ตรัสรู้แล้ว แต่ยังไม่ยอมไปนิพพานเพราะมีความปรารถนาที่จะรอให้ความช่วยเหลือแก่ผู้คนและสัตว์ทั้งหลายให้หลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง
นางปรัชญาปารมิตา หมายถึง เทวีแห่งความฉลาดเฉลียวของพุทธศาสนานิกายมหายานในขณะเดียวกันจะเรียกว่าเป็นมารดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลายด้วยกัน
ทับหลังผู้วิเคราะห์ได้รับฟังจากบุคคลในท้องถิ่นว่าเคยมีทับหลังอยู่ในปราสาทแห่งนี้แต่ได้หายไปซึ่งไม่สามารถหาหลักฐานอื่นๆ มาอ้างอิงได้ว่าลักษณะเป็นอย่างไรเนื่องจากหายไปก่อนที่กรมศิลปากรจะทำการบูรณะ
• กำแพงแก้ว ชื่อเรียกองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมไทยประเภทหนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็นเขื่อนกั้น หรือล้อมอาคารสำคัญในศาสนสถานหรือพระราชมณเฑียรลักษณะและรูปแบบการใช้กำแพงแก้วในทางพุทธสถาปัตยกรรมของไทยมีการใช้กำแพงแก้วเพื่อกั้นเป็นเขตล้อมในลักษณะ ล้อมเป็นหมู่ หมายถึง การใช้กำแพงแก้วกั้นล้อมกลุ่มหรือหมู่อาคารสำคัญๆรวมไว้ในเขตเดียวกัน วิธีการนี้ในเชิงออกแบบเท่ากับเป็นการเน้นให้เกิดความสำคัญของอาคารภายในเท่าๆกันคติการใช้กำแพงแก้วและการเรียกชื่อนั้นมีคติที่มาเป็นเรื่องที่ปรากฏในการอธิบายถึงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์การใช้กำแพงแก้วล้อมรอบเขตหรืออาคารนั้นนอกจากจะเสริมองค์อาคารเหล่านั้นให้มีความสำคัญสง่างามยิ่งขึ้นแล้วยังทำให้ภายในพื้นที่มีความสงบและศักดิ์สิทธิ์ด้วย เหตุนี้
เมื่อนำกำแพงแก้วไปล้อมพระอุโบสถ ก็มักจะนำไปประสานเชื่อมต่อเข้าด้วยกันเป็นเขตแนวเดียวกับตัวสีมารอบพระอุโบสถ
ซึ่งยิ่งทำให้เขตพัทธสีมาแห่งนั้นดูเป็นเขตแดนต้องห้ามที่กำหนดให้ใช้เฉพาะสำหรับการทำสังฆกรรมแห่งหมู่สงฆ์
จริงๆเท่านั้น การสร้างกำแพง 7 ชั้นเปรียบเหมือนเป็นกำแพงแก้วทั้ง 7 ชั้น

ขอบคุณข้อมูลจาก http://atcharee-02.blogspot.com/



แพลนเที่ยวอำเภอไทรโยค กาญจนบุรี
ที่พักอำเภอไทรโยค
Visitors: 110,089