วัดถ้ำมังกรทอง

ประวัติวัดถ้ำมังกรทอง

ถ้ำแห่งนี้เดิมเรียกกันว่า “ถ้ำไฟไหม้” โดยมีเรื่องราวที่เล่าต่อกันมานานแสนนานถึงถ้ำแห่งนี้ ครั้งสมัยสงครามไทย-พม่า  สมัยกรุงศรีอยุธยาครั้งราวประมาณ พ.ศ. 2081 เป็นต้นมา  เมืองกาญจนบุรี เป็นเมืองหน้าด่านของศึกสงครามไทย-พม่ามาครั้งสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ตรงกับแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 จากผู้ที่เล่ากันมาว่า สมัยครั้งสร้างประตูเมือง เพราะเดิมแผ่นดินทัพพม่า มุ่งสู่ยังเมืองกาญจนบุรีเก่า(เขาชนไก่) สู่ยังทุ่งลาดหญ้า มาระยะหลังหลังพม่าได้เปลี่ยนแผนในการเดินทัพ โดยอาศัยลำน้ำแควน้อยมายังครั้งนั้น ณ บริเวณถ้ำแห่งนี้ ได้มีคนไทยมากมายหลบหนีภัยสงครามทั้งชายหญิงเด็กเล็ก  ในการอาศัยถ้ำแห่งนี้  ด้วยด้านหลังเขาเป็นเขตเขาตก  ซึ่งมีลำน้ำแควน้อยเลียบติดฝั่งเขา  ผู้คนที่หลบภัยอยู่ต้องอาศัยน้ำกินเมื่อออกมาหาอาหารและน้ำ ทหารพม่าพบเข้าจึงได้สะกดรอยเท้ามายังถ้ำแห่งนี้จึงได้รู้ว่าคนไทยมากมายหลบซ่อนอยู่ภายในถ้ำแห่งนี้ช่วงของตอนกลางคืน พม่าได้ทำศึกปิดปากถ้ำ แล้วเผากองไฟอยู่หน้าถ้ำ จึงทำให้ควันไฟเข้าไปในถ้ำ ทำให้ผู้คนภายในถ้ำล้มตายเกลื่อนกลาดไปทั่วถ้ำแห่งนี้  จากการค้นพบหลักฐานโครงกระดูกมากมาย  มีทั้งผู้หญิงและเด็ก กำไลข้อเท้าเด็ก กำไลข้อมือคนใหญ่ เครื่องประดับลูกกำปัด แหวนนิ้วมือ หลักฐานทั้งหมดบ่งบอกถึงความเป็นมานั่นคือคนไทย(เด็กคงไม่เดินทัพแน่ถ้าคิดว่าเป็นพม่า) จากความหวาดกลัว จึงเป็นที่เลื่องลือกันไปทั่วถึงยังถ้ำไฟไหม้แห่งนี้ และกลายเป็นถ้ำที่ร้างมานานแสนนานสืบต่อมาระยะเวลาหลายสิบปีต่อมา  บริเวณสถานที่แห่งนี้ ได้มีผู้ที่มาตัดไม้ไผ่มาอาศัยอยู่ ปลูกบ้านโรงไม้ไผ่ยกระดับพื้นสูง  ตามแนวลำน้ำแควน้อยอยู่ 5 หลังคาเรือนที่มุงด้วยหญ้าคา  ถัดจากเขาตกเป็นต้นมา  เพราะอยู่ในช่วงของป่าไม้ยังสมบูรณ์อยู่ เสือป่าชุมจึงยกระดับพื้นบ้านให้สูง หมู่บ้านนี้จึงมีคนรู้จักว่าหมู่บ้าน 5 หลัง  

ที่ตั้ง
หมู่ 7 ตำบลเกาะสำโรง อำเภอเมือง ในทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองกาญจนบุรีปัจจุบัน  ระยะเส้นทางราวประมาณ 5 กิโลเมตร มีทั้งทางบกและทางเรือผ่าน ณ บริเวณสถานแห่งนี้มีภูเขาล้อมรอบด้านเทือกเขาทิศตะวันออกติดต่อไปยังบ้านถ้ำ  แนวตำบลเขาน้อย  อำเภอท่าม่วง ไปท้ายสุดที่ถ้ำแก้ว  แล้วด้านหลังมายังหัวเขาแรด  หน้าเขาแดง มาบรรจบกองผสมสัตว์ที่ 1 บ้านเขาตก  ติดลำน้ำแควน้อยเลียบไหลผ่าน เขตทิศใต้

แม่ชีลอยน้ำ
เป็นที่เลื่องลือไปทั่วโลกว่าวัดถ้ำมังกรทอง มีแม่ชีลอยน้ำได้ จึงกลายเป็นจุดสนใจของนักท่องเที่ยวทั่วไป  จะเดินทางมาชมกันทุกวัน โดยเฉพาะชาวจีน ชาวใต้หวัน จะเดินทางมาชมในช่วงค่ำทุกวันแม่ชีลอยน้ำนั้น เริ่มมาจาก มีแม่ชีคนหนึ่งชื่อแม่ชีทองสุข ศรีประกอบ สามารถอธิษฐานจิตลอยน้ำนั่งสมาธิในน้ำ เดินในน้ำ นอนในน้ำ โดยที่ไม่จม ตอนแรกๆ ก็ไปลอยที่ริมแม่น้ำแควน้อย ห่างจากวัดประมาณ 1 กม. ทำให้ลำบากต่อการเดินทาง เมื่อมีคนจะชมก็ต้องเดินทางไปที่ท่าน้ำ พระครูพิพัฒน์สิทธิสาร เจ้าอาวาสวัดถ้ำมังกรทองในขณะนั้นจึงอนุญาตให้ขุดสระภายในวัดเพื่อให้แม่ชีทองสุขได้ลอยน้ำให้คนชม และก็ทำให้มีผู้ชมมากขึ้นทั้งคนไทยและชาวต่างชาติรูปปั้น แม่ชีทองสุข ศรีประกอบ  แม่ชีคนแรกที่ลอยน้ำ เมื่อสิ้นบุญของแม่ชีทองสุขแล้ว ก็มีลูกศิษย์ได้รับการถ่ายทอดวิชาลอยตัวต่อๆ กันมาจนถึงปัจจุบัน และคุณแม่ลดาวัลย์ (คนซ้ายมือในรูป)ได้บวชเป็นชีพราหมณ์และเป็นหนึ่งในลูกศิษย์ที่สืบทอดวิชาลอยตัวบนน้ำลักษณะการลอยนั้นมีหลายท่า  มีท่านอน นั่งสมาธิ เดินจงกลมท่ายืนลอยตัวจะเป็นท่าที่ยากที่สุด เมื่อสอบถามว่าเหตุใดจึงสามารถลอยตัวในน้ำ ได้คำตอบมา 2 ข้อคือ 1. เป็นความสามารถเฉพาะบุคคล 2. เกิดจากการฝึกฝน ฝึกสมาธิ ฝึกจิตภาวนา
 
วัดถ้ำมังกรทอง เปิดให้นักท่องเที่ยวและประชาชนเยี่ยมชมและสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทุกวันระหว่างเวลา 08.00 - 20.00 น. การชมแม่ชีลอยน้ำ 20 ท่านขึ้นไป อัตราค่าเข้าชมท่านละ 10 บาท (เหมาเป็นรอบ ค่าเข้าชมรอบละ 200 บาท) สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 08-7932-6995
กาญจนบุรี ไหว้พระ (K308)
บริการรถตู้
Visitors: 109,799