เมืองมัลลิกา ร.ศ. 124

เมืองมัลลิกา ร.ศ. ๑๒๔
   หากเปรียบเทียบ จ.กาญจนบุรี เป็นหญิงสาวๆ หลายคนคงคุ้นชินกับสาวน้อยคนนี้ในฐานะผู้หญิงที่มีหลากหลายบุคลิกให้เลือกค้นหา ในมุมหนึ่งเธอดูเป็นผู้หญิงที่เรียบง่าย สวยงามแบบไม่ปรุงแต่งด้วยแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ แต่อีกมุมเธอคือหญิงสาวที่ชวนค้นหา มีเรื่องราวมากมายให้รอเข้าไปสัมผัสผ่านแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์มากมาย ไม่ว่าคุณจะหลงเสน่ห์ของกาญจนบุรีในมุมไหน รับรองว่าจากนี้ คุณจะหลงรักกาญจนบุรีมากขึ้น เมื่อหญิงสาวคนเดิมกำลังจะเผยมุมใหม่ให้ทำความรู้จักด้วยการเปิดตัวสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ อย่าง "เมืองมัลลิกา ร.ศ.๑๒๔" แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมในยุคอดีตที่ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งเดียวในไทย และแห่งเดียวของโลก
    เมืองมัลลิกา เป็นเมืองย้อนยุคของวิถีชีวิตชาวสยามบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕  วิถีชีวิตของชาวสยามในยุค ร.ศ.๑๒๔ มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากมายหลายด้าน ที่เด่นชัดมากคือการประกาศเลิกทาส เมื่อทาสได้รับความเป็นไทพวกเขาต้องใช้ชีวิตอยู่อาศัยและทำมาหากินด้วยตนเอง ไม่ได้อยู่ภายใต้อาณัติหรือการดูแลของบรรดาเจ้าขุนมูลนายอีกต่อไป พวกเขาต้องดำรงชีวิตให้อยู่รอด พึ่งตนเอง และอยู่ร่วมกับคนสยามทุกหมู่เหล่า การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเหล่านี้นับเป็นรากเหง้าสำคัญของคนไทยในยุคปัจจุบัน 
 เมืองมัลลิกา
    นายพลศักดิ์ ประกอบ ผู้ก่อตั้งเมือง มัลลิกา ร.ศ. ๑๒๔ เมืองแห่งวัฒนธรรมและวิถีชนที่ฉีกกรอบการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์แบบเดิมๆ ด้วยการพาทุกคนย้อนเวลานับร้อยปีไปสัมผัสรากเหง้าความเป็นไทยอย่างแท้จริง ผ่านงานสถาปัตยกรรมและวิถีชีวิตของชาวสยามในอดีตอันแสนงดงามในช่วงปลายรัชสมัยของสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5) ซึ่งมีการประกาศเลิกทาส เล่าถึงที่มาของความทุ่มเทแรงกายแรงใจในการเนรมิตโครงการมูลค่ากว่า 200 ล้านบาทนี้จนสำเร็จว่า เกิดขึ้นจากความตั้งใจที่อยากจะสร้างแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ที่เหมือนมีชีวิตจริงๆขึ้นมา เพื่อถ่ายทอดถึงวิถีชีวิต และ ภูมิปัญญาของชาวไทยสมัยโบราณ ตอบโจทย์นักท่องเที่ยวที่อยากท่องเที่ยวแบบถึงแก่น ไม่ต้องการมาชื่นชมเพียงเศษซากหรือร่องรอยทางวัฒนธรรมที่หลงเหลือจากอดีตถึงปัจจุบัน แต่ไม่รู้ซึ้งถึงเรื่องราวที่ซ่อนอยู่เบื้องหลัง รวมทั้งส่งต่อความทรงจำอันงดงามในอดีตที่เกือบจะเลือนหายสู่คนรุ่นหลัง
     เหตุผลที่เลือกหยิบเอายุคสมัย ร.ศ.124 ที่รัชกาล5 ทรงประกาศเลิกทาสได้สำเร็จ ขึ้นมาเป็นรูปแบบในการจัดสร้างเมืองนั้น พลศักดิ์ บอกว่า เพราะในร.ศ.124 เป็นยุคที่เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมายขึ้นในแผ่นดินสยามซึ่งล้วนแต่เป็นเหตุการณ์ที่ส่งผลต่อรูปแบบการดำรงชีวิตของคนในยุคนั้นอย่างมีนัย ตั้งแต่การประกาศเลิกทาส การแผ่ขยายอิทธิพลจากโลกตะวันตกเข้ามาในแผ่นดินสยาม และนำไปสู่การผสมผสานทางวัฒนธรรมระหว่างรากเหง้าของวิถีชีวิตคนไทยดั้งเดิมกับวัฒนธรรมตะวันตก จนได้รับการนิยามว่าเป็น ยุคทองแห่งความศิวิไลซ์  
 
     เมืองมัลลิกา ในความหมายของ อาจารย์ สุลักษณ์  ศิวลักษณ์ เป็นเมืองที่มีความหมายมาจากแม่น้ำที่เป็นต้นน้ำอิระวดีในประเทศพม่า ซึ่งเป็นแหล่งรวมอารยะธรรมโบราณในแถบภูมิภาคนี้  แต่ตามความหมายของพจนานุกรมไทยแปลว่า " มะลิ " ซึ่งการออกแบบทางสถาปัตยกรรมนั้น ผู้ออกแบบคือ อาจารย์ ชาตรี  ปกิตนนทกานต์ ในขณะที่ออกแบบท่านดำรงตำแหน่ง คณะบดี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาควิชา สถาปัตยกรรมไทย  มหาวิทยาลัยศิลปากร  ท่านได้ผูกเรืองเพื่อการออกแบบโดยมีตัวละครหลักคือ แม่มะลิ  หญิงสาวชาวบ้านอันงดงามอาศัยอยู่บ้าน “เรือนเดี่ยว”  เป็นลูกสาวชาวนา ต่อมาได้แต่งงานกับข้าราชการหนุ่ม และเริ่มค้าขายโดยสร้าง

เมืองมัลลิกา

   “เรือนแพ” ไว้สำหรับค้าขาย โดยอาศัยที่มีสามีเป็นข้าราชการทำให้มีช่องทางในการค้าขายโดยเฉพาะการค้าขายน้ำตาลโดยเริ่มมีชาวต่างชาติเข้ามาซื้อมากขึ้น และโดยที่แม่มะลิเอง มีความงดงามและเรียบร้อยตามแบบฉบับหญิงไทย ทำให้การค้าขายยิ่งเจริญงอกงามในขณะที่สามีซึ่งรับราชการก็มีบรรดาศักดิ์สูงขึ้น  ฐานะก็มั่นคงขึ้นจึงได้สร้าง

เมืองมัลลิกา

     “เรือนคหบดี” ขึ้นให้สมกับฐานะที่สูงขึ้น  จากบรรดาศักดิ์ ที่สูงขึ้นประกอบการค้าที่เจริญรุ่งเรือง ทำให้มีการติดต่อกับต่างชาติมากขึ้น มีการไปมาหาสู่กับบรรดาข้าราชการผู้สูงศักดิ์มากขึ้นจึงได้สร้าง  “เรือนหมู่” ขึ้นเพื่อไว้ต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองอย่างสมศักดิ์ศรี  จึงเกิดมีเรือนไทยตามแบบที่ถูกต้องตามหลักการสร้างเรือนประเภทต่างๆ ในเมืองมัลลิกา 

ย่านแพร่งเมืองมัลลิกา

   สำหรับผู้มาเยือน เพียงก้าวผ่านประตูเมืองจำลองเข้ามา จะรู้สึกเหมือนราวกับได้เดินทางข้ามมิติมาสู่อีกช่วงเวลาหนึ่ง บนพื้นที่ 60 ไร่ภายในเมืองมัลลิกา ร.ศ.124 ประกอบด้วยเรือนไทย 4 ประเภท แต่ละเรือนจะสะท้อนภาพสถานะของผู้อยู่อย่างชัดเจน เริ่มจาก เรือนเดี่ยว  เป็นเรือนชาวบ้าน เป็นที่อยู่ของชนชั้นกรรมมาชีพ ชาวนา มีหน้าที่ผลิตปัจจัยพื้นฐานในการยังชีพ ด้วยการทำไร่ ทำนา ทำสวน ปลูกผัก  ณ เรือนนี้ นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับภูมิปัญญาชาวบ้านอย่างแท้จริง ตั้งแต่การเก็บเกี่ยวผลผลิตเพื่อส่งต่อไปใช้ในเรือนครัว กระบวนการสีและตำข้าวแบบโบราณเพื่อให้ได้ข้าวสาร ถัดมาคือเรือนคหบดี ซึ่งเป็นที่อยู่ของชนชั้นปกครอง กิจกรรมบนเรือนแห่งนี้จะเน้นงานไปที่งานฝีมือ อย่างงานใบตอง งานดอกไม้ งานเครื่องแขวน งานแกะสลักผลไม้ ซึ่งเป็นผลงานศิลปะแสนประณีตที่หาชมได้ยาก อีกหนึ่งในความพิเศษของเรือนนี้คือ พื้นที่เรือนครัว ที่จะสะท้อนวิถีชีวิตการทำอาหารอย่างวิจิตรงดงามของคนสมัยก่อน ช่วยคืนชีพหลากหลายภูมิปัญญาที่แทบจะสูญหายไปแล้ว เช่น การหุงข้าวเตากระทะ การประกอบอาหารคาวหวานตามแบบฉบับโบราณแท้ๆ โดยผลงานจากเรือนครัวทั้งหมดนี้ จะถูกส่งต่อไปใช้ประโยชน์จริง ไม่ว่าจะเป็น พวงมาลัยจะนำไปใช้สำหรับต้อนรับแขก เช่นเดียวกับอาหารคาว-หวานจะนำไปใช้เลี้ยงพนักงานทุกคนในเมืองจำลอง
  ในส่วนของเรือนหมู่ เป็นเรือนสำหรับรับแขกบ้านแขกเมืองของคหบดี โดยปกติเรือนเหล่านี้มักมีคณะนาฏศิลป์ของตัวเองสำหรับรับแขก ดังนั้นเรือนนี้จะสะท้อนวิถีชีวิตของนาฏศิลป์ไทย รวมทั้งความวิจิตรบรรจงของสำรับกับข้าวไทยที่ขึ้นชื่อทั้งรสชาติและหน้าตาอาหาร ที่นี่ถือเป็นอีกหนึ่งไฮไลท์ เพราะเป็นเรือนหมู่ที่ถือว่าใหญ่ที่สุดในประเทศไทยเลยทีเดียว
   ปิดท้ายด้วยเรือนแพซึ่งเป็นที่ตั้งของร้านค้าต่างๆ จำลองบรรยากาศย่านการค้าในอดีต ซึ่งเส้นทางหลักในการสัญจรไปมา คือทางน้ำ ดังนั้นเรือนแพเหล่านี้จึงปลูกไว้ริมน้ำ รายล้อมไปด้วยร้านค้ามากมาย ร้านที่มาแล้วพลาดไม่ได้ คือ ร้านกาแฟตงฮู ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นร้านกาแฟที่ทันสมัยที่สุดในยุคนั้นจริงๆ เพราะมีการนำเข้าเมล็ดกาแฟสดจากต่างประเทศเข้ามาใช้ ถัดมาคือร้านข้าวแกงที่สร้างจุดขายได้อย่างน่าสนใจด้วยการนำเมนูข้างแกงที่รัชกาลที่5 ทรงโปรด มานำเสนอเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสกับรสชาติของอาหารแบบไทยแท้แบบดั้งเดิม นอกจากนี้ยังมีร้านจำหน่ายของชำร่วย เพื่อเป็นตัวแทนความทรงจำให้นักท่องเที่ยวได้เลือกซื้ออีกด้วย
   ย่านการค้า ในสมัย ร.ศ.124 นั้นมีย่านการค้าที่ขึ้นชื่อ ซึ่งมีอาหารคาวหวาน ของทานเล่นต่างๆ รวมถึงขนมโบราณนานาชนิด และสินค้าทันสมัยอื่นๆ สำหรับยุคสมัยนั้น ย่านการค้าจะมีย่านแพร่ง ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 3 แพร่ง (ถนนแพร่งนารา แพร่งภูธร แพร่งสรรพศาสตร์) ย่านเยาวราช และย่านบางรัก

เมืองมัลลิกา
   "เพื่อให้ทุกๆแห่งของเมืองมัลลิกา ร.ศ. 124 ดูราวกับมีชีวิตอย่างแท้จริง เราไม่ได้เลือกนำเสนอผ่านเรือนไทย หรือ จัดการแสดงโชว์เป็นรอบๆ แต่เราเลือกนำวิถีชีวิตของคนจริงๆ มาใส่ไว้ในเมือง โดยเราจำลองให้เมืองนี้มีประชากรราว 400 คน ประกอบด้วยกลุ่มคนใน 3 ช่วงวัย ตั้งแต่ผู้สูงอายุ ผู้ใหญ่ และ วัยรุ่น เพื่อให้เป็นไปตามสภาพครอบครัวไทยในอดีต ทุกคนจะแต่งกายแบบโบราณ และดำรงชีวิตในแต่ละวันเสมือนจริงในยุคสมัยนั้น ดังนั้นไม่ว่าคุณจะมาเยือนเมื่อไหร่ ก็จะอิ่มเอมและเพลิดเพลินไปกับวิถีชีวิตที่ย้อนไปในยุคโบราณ เห็นภาพวัฒนธรรมอย่างชัดเจน โดยไม่ต้องเก็บไปจินตนาการอีกต่อไป"

   สำหรับใครที่มาเยือนเมืองมัลลิกา ร.ศ. 124 แล้วอยากอินกับบรรยากาศย้อนยุคจริงๆ ทางเมืองมัลลิกา ร.ศ. 124 มีเครื่องแต่งกายที่สะท้อนถึงยุคร.ศ.124ให้บริการ แต่ต้องทำตามกฎระเบียนที่กำหนดอย่างเคร่งครัด

อัตราค่าเข้าชมเมืองมัลลิกา ร.ศ.124

ประเภทตั๋ว

ผู้ใหญ่

เด็ก/ผู้สูงอายุ

ตั๋วเข้าชมเมือง

250.-

120.-

ตั๋วเข้าชมเมือง+รับประทานอาหารเย็น+การแสดง*

700.-

350.-



 




หมายเหตุ
:- เด็กสูง ต่ำกว่า 100 ซม. เข้าฟรี 
- สูงระหว่าง 100-130 ซม.-ราคาเด็ก / สูงเกิน 130 ซม. -ราคาผู้ใหญ่) 
- ตั๋วเข้าชมเมือง+รับประทานอาหารเย็น+การแสดง *จะได้รับของที่ระลึกจากเมืองมัลลิกา

กาญจนบุรี+โฮมสเตย์ (KH301)

แต่งกายชุดไทยผู้เข้าชมสามารถเช่าชุดไทยได้ ณ เมืองมัลลิกา

 

ผู้หญิง

โจงกระเบน ผ้าแถบสไบ เครื่องประดับ และร่ม

200.-

โจงกระเบน เสื้อแขนหมูแฮม แพรสะพาย เครื่องประดับ และร่ม

300.-

ผู้ชาย

โจงกระเบน เสื้อกุยเฮง และผ้าคาดเอว

100.-

โจงกระเบนและเสื้อราชปะแตน

300.-

เด็ก

โจงกระเบน เสื้อคอกระเช้าสำหรับเด็กผู้หญิง เสื้อกุยเฮงสำหรับเด็กผู้ชาย

50-100.-


บริการรถลาก หรือรถเจ๊ก
ค่าบริการ 50 บาท / เที่ยว (รับผู้โดยสารจากหน้าประตูเมืองไปส่งบริเวณหลังเรือนเดี่ยว)  

ราคาบัตรรับประทานอาหารเย็น พร้อมชมการแสดง
(รวมค่าเข้าชมเมืองแล้ว)

ผู้ใหญ่ 700 บาท (รวมของที่ระลึก)
เด็ก 350 บาท (สูงต่ำกว่า 120 ซม.)

เปิดบริการอาหารเย็นทุกวันที่เรือนหมู่ ตั้งแต่เวลา 18.00 - 20.00 น.

อาหารสำหรับมื้อเย็น
ประกอบไปด้วย หมี่กรอบ แกงบวน น้ำพริกขี้กา ยำใหญ่ แกงมัสมั่น ที่เลือกอาหารดังกล่าวมานั้นเพื่อให้คนรุ่นใหม่ได้ลิ้มชิมอาหารที่เป็นภูมิปัญญาของบรรพชนไทยที่หากินได้ยากในปัจจุบัน หรือที่มีอยู่ก็ถูกดัดแปลงไปมากแล้ว

เมืองมัลลิกา

แกงบวน เมื่อพูดถึงต้มเครื่องในสัตว์ ทุกคนต้องนึกถึงกลิ่นคาว แต่ด้วยภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทยนั้นทำให้ได้กินเครื่องในที่ไร้ซึ่งกลิ่นคาว โดยการนำสมุนไพรต่างๆ มีคั่วมาตำแล้วจึงนำมาปรุงกับเครื่องในหมูทำให้ได้ต้มเครื่องในที่เรียกว่า แกงบวน ซึ่งกรรมวิธีการทำนั้นยุ่งยากมากจึงทำให้แกงบวนเป็นอาหารที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้จักเนื่องจากหาคนทำเป็นได้ยากขึ้นทุกที

หมี่กรอบ อาหารที่ถูกดัดแปลงจนปัจจุบันพอพูดถึงหมี่กรอบคนรุ่นใหม่จะนึกถึงหมี่ที่ทอดมาฟูๆ แล้วนำมาคลุกกับเครื่องเคราออกมาเป็นก้อนแข็งๆ กรอบๆ เก็บได้นาน แต่หมี่กรอบดั้งเดิมนั้นเส้นหมีจะไม่ฟูแต่ขาวรสชาดหอมจากส้มซ่า หวานไม่มาก รสชาติกลมกล่อมแต่เก็บได้ไม่นาน นอกจากนี้ยังมี น้ำพริกขี้กา แกงมัสมั่นไก่ ยำใหญ่ อีกด้วย

*ราคาบัตรรวม ข้าวสวย ผลไม้รวม เครื่องดื่ม (น้ำเปล่า) สามารถเติมอาหารได้ไม่จำกัด

การแสดง
มีทั้งหมด 8 ชุด ระยะเวลา 1 ชั่วโมง เริ่มแสดงที่เวลา 19.00 น.

1.การแสดงเชิดหุ่นคน

ศิลปะการแสดงหุ่นคนมีต้นกำเนิดจากหุ่นหลวง หุ่นกระบอก หุ่นละครเล็ก และการแสดงหุ่นของภาคต่างๆ หนังตะลุง โขน ละครและ ระบำ รำ ฟ้อน มาผสมผสานกันระหว่างศิลปะการเชิดหุ่นและหนังใหญ่ต่างๆ ตลอดจนการแสดงศิลปะแบบสากลประกอบกับลีลาท่าทางของผู้แสดงให้ออกมาเป็นเรื่องราว

เมืองมัลลิกา

2.ลาวกระทบไม้

  รำกระทบไม้เป็นการละเล่นพื้นเมืองของชาวจังหวัดสุรินทร์เดิมเรียกว่า เต้นสาก ประเทศไทยมีอาชีพทางกสิกรรมมาช้านาน การทำนาผลิตข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทย และทำรายได้เป็นสินค้าออกให้แก่ประเทศไทยอย่างมากมาย ชีวิตประจำวันของคนไทย ส่วนใหญ่จึงคลุกคลีอยู่กับการทำนา เริ่มตั้งแต่หว่าน ไถ ดำ และเก็บเกี่ยว เป็นต้น ด้วยนิสัยรักสนุก หลังจากเลิกงาน จึงนำสากตำข้าวมากระทบกันเป็นเครื่องประกอบจังหวะพร้อมกับมีการละเล่นให้เข้ากับจังหวะแต่เดิมคงเป็นจังหวะตำข้าวในลักษณะยืนตำ 2 คน ต่อมาจึงลากไม้สากมาวางตามยาว มีคนจับปลายสาก หัว ท้าย ข้างละคน พร้อมทั้งใช้ไม้หมอนรองเคาะเป็นจังหวะ

3.กระบี่กระบอง

     การเล่นกระบี่กระบองเป็นพื้นฐานเบื้องต้นส่วนหนึ่งของศิลปะการต่อสู้ของไทย ที่เรียกว่า กระบี่กระบอง เพราะเป็นกีฬาที่บรรพบุรุษไทยนำเอาศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวด้วยอาวุธที่ใช้สู้รบกันในสมัยโบราณมาฝึกซ้อมและเล่นในยามสงบโดยนำหวายมาทำเป็นกระบี่ ดาบ ง้าว เป็นต้น โดยเอาหนังมาทำโล่ เบน ดั้ง แล้วจัดมาตีต่อสู้กันเล่นหรือแข่งขันกันเป็นคู่ๆ ดุจสู้กันในสนามรบเป็นการฝึกหัดรุกและรับไปในตัว



4.เพลงรำภิรมย์พัชนี

     ฝ่ายนาฏศิลป์ เมืองมัลลิกา ได้มีแรงบันดาลใจมาจาก การแต่งกายและกิริยาท่าทางของหญิงสาวในสมัย ร.ศ. 124 มาประดิษฐ์เป็นท่ารำให้มีความสวยงามและเลือกบทเพลงที่เข้ากับบรรยากาศ ร.ศ.124 ให้มีความลงตัวและเหมาะสมกับท่ารำ ความสง่างามของหญิงสาวในสมัย ร.ศ. 124 ถูกถ่ายทอดออกมาเป็นเพลงให้มีความเพลิดเพลินจึงตั้งชื่อชุดการแสดงนี้ว่า ภิรมย์พัชนี

เมืองมัลลิกา

5.โขน (ตอนยกรบ)

   โขน ชุด ทศกัณฐ์รบพระราม (ยกรบ) การแสดงชุดนี้ อยู่ในการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์เป็นการทำสงครามระหว่างพระราม พระลักษณ์ และพลวานรกับทศกัณฐ์พญายักษ์แห่งกรุงลงกา การรบของทั้งสองฝ่ายเต็มไปด้วยชั้นเชิงของลีลาท่ารำ กระบวนการรบและความสามารถที่มีเอกลักษณ์ประณีตงดงาม

6.รำซัดชาตรี

  เป็นการแสดงที่นิยมจนมีแบบแผนเป็นของตนเอง ในแบบศิลปะทางใต้ของไทยปรับปรุงมาจากรำซัดไหว้ครูของละครชาตรี ซึ่งเคยเป็นละครรำแบบเก่าชนิดหนึ่งของไทย ถือว่าเป็นต้นกำเนิดของละครรำประเภทต่างๆ ซึ่งได้รับการปรับปรุงในสมัยต่อมา ประเพณีการแสดงละครชาตรี ถือธรรมเนียมกันว่าผู้แสดงตัวพระ จะต้องรำไหว้ครูเป็นการเบิกโรงเรียกว่า " รำซัด " โดยมีโทน ปี่ กลอง กรับ ประกอบจังหวะ ต่อมากรมศิลปากรได้ดัดแปลงรำซัด และปรับปรุงให้มีผู้รำทั้งฝ่ายชาย(ตัวพระ) และหญิง(ตัวนาง) เพื่อให้น่าดูมีชีวิตชีวา โดยรักษาจังหวะอันเร่งเร้าไว้อย่างเดิม สิ่งสำคัญของการรำนั้น จะมีการรวมจุดที่กำหนดเป็นอย่างดีระหว่างท่าทางที่เคลื่อนไหว ในระหว่างที่รำอยู่ในจังหวะที่เร่งเร้าของผู้รำ กับจังหวะของการตีกลอง ผู้ตีกลองจะต้องตีกลองไปตลอดเวลาไปพร้อมๆ กับผู้ที่ร่ายรำจนครบจังหวะของการแสดง ให้ประสานกลมกลืนกัน จนเป็นที่นิยมชมชอบจากผู้ชมที่ได้ชมการแสดงชุดนี้เสมอมา

7.ฟ้อนแพน

  สันนิษฐานว่าเกิดขึ้นจากการแสดงละครพันทาง เรื่องพระลอ บทประนิพนธ์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ตอนพระลอลงสรงในแม่น้ำกาหลง ซึ่งท่ารำที่ประดิษฐ์ขึ้นเป็นการนำลีลาท่าฟ้อนทางภาคเหนือมาผสมผสานกับท่ารำไทย และดัดแปลงให้เหมาะสมกับท่วงทำนองเพลง แต่เดิมการฟ้อนแพนในเรื่องพระลอนั้น เป็นการรำคนเดียว คือฟ้อนเดี่ยว ต่อมานางลมุล ยมะคุปต์ ได้นำมาใช้ในการฟ้อนหมู่โดยเพิ่มเติมลีลาการฟ้อนให้มากขึ้น มีทั้งผู้แสดงหญิงล้วน และผู้แสดงชาย – หญิง โดยมีบทร้องประกอบ ซึ่งประพันธ์โดยพลตรี หลวงวิจิตรวาทการ จัดแสดงครั้งแรกเมื่อครั้งที่โรงเรียนศิลปากร แผนกนาฏดุริยางค์ (ปัจจุบัน คือ วิทยาลัยนาฏศิลป) นำไปเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ณ ประเทศ ญี่ปุ่น บทร้อง มี ๒ แบบ คือ แบบเต็ม และแบบตัด แต่ในปัจจุบันแสดงแบบไม่มีบทร้องประกอบ

8.รำกินรีร่อน

  การแสดงชุดนี้ได้รวมการแสดงสองชุดมาไว้ในชุดเดียวกัน เพื่อให้น่าสนใจแปลกตายิ่งขึ้น การแสดงชุดนี้ได้รับความนิยมยกย่องอย่างมากในด้านความวิจิตรสวยงามของกระบวนท่ารำ และเครื่องแต่งกาย โดยชุดแรก คือ กินรีร่อนเป็นการรำในฉากหนึ่งที่นางมโนราห์และพี่ๆบินมาเล่นน้ำที่สระอโนดาษ เขาไกรลาศ และการแสดงอีกชุดหนึ่งที่นำมารวมกันไว้คือ ชุดการรำมโนราห์ โดยคุณหญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำ มโนราห์บูชายันต์เป็นการรำของนางมโนราห์ก่อนที่จะแกล้งโดดเข้ากองไฟเพื่อบินหนีไป

พิเศษ!!!จองแพคเกจสำรับมื้อเย็น
wow together 
รับราคาพิเศษทันที...คลิกเลย      โปรโมชั่นเมืองมัลลิกา


บริการรถตู้
ล่องแพเปียกกาญจนบุรี
Visitors: 111,113