อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ

อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ

   สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้ส่งเรื่องแผนการป้องกันอนุรักษ์และพัฒนาป่าอนุรักษ์ภาคตะวันตก ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมป่าไม้ เสนอต่อคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ฝ่ายเศรษฐกิจ ให้กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพัฒนา พิจารณาเสนอความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณา ต่อมาเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2534 คณะกรรมการการกลั่นกรองฯ ฝ่ายเศรษฐกิจ เสนอความเห็นชอบ การคุ้มครองพื้นที่เขตแดนพม่าให้เป็นป่าผืนใหญ่ผืนเดียวกัน เพื่ออนุรักษ์ให้เป็นระบบนิเวศที่มั่นคงและเป็นแหล่งทรัพยากรพันธุกรรมพืชและสัตว์ที่อุดมสมบูรณ์ของประเทศตลอดไป ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษาเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2534 ลงมติเห็นชอบตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ฝ่ายเศรษฐกิจ โดยกรมป่าไม้ได้ดำเนินการตามแผนการป้องกันอนุรักษ์และพัฒนาป่าไม้อนุรักษ์ภาคตะวันตก ในรูปแบบอุทยานแห่งชาติ

  อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าห้วยเขย่งและป่าเขาช้างเผือก ในเขตท้องที่อำเภอทองผาภูมิ และอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี เป็นพื้นที่ป่าที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ มีเนื้อที่ประมาณ 700,000 ไร่ หรือ 1,120 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อดังนี้ ทิศเหนือจดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ทิศใต้จดอุทยานแห่งชาติไทรโยค ทิศตะวันออกจดอุทยานแห่งชาติเขาแหลม ทิศตะวันตกจดเขตแดนไทย-พม่า ส่วนอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้นำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2543 ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ดำเนินการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติได้

ขนาดพื้นที่   772214.25 ไร่

หน่วยงานในพื้นที่

หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติฯ ที่ ทภ.2 (ไม้ยักษ์)

หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติฯ ที่ ทภ.3 (โป่งพุร้อน)

ที่ทำการอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ

หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติฯ ที่ ทภ.4 (ผาอ้น)

หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติฯ ที่ ทภ.5 (บ้านไร่)

หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติฯ ที่ ทภ.6 (โป่งช้าง)

หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติฯ ที่ ทภ.7 (เวียคะดี้)

ลักษณะภูมิประเทศ

พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน แนวเขาวางตัวในแนวทิศเหนือ-ใต้ เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาตะนาวศรี มีพื้นที่ราบลุ่มเป็นจำนวนน้อย ความสูงของพื้นที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 100-1,249 เมตร มีเขาช้างเผือกซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของพื้นที่เป็นยอดเขาสูงสุด สูง 1,249 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ยอดเขาที่สำคัญ ได้แก่ เขาช้างเผือก เขานิซา เขาพุถ่อง เขาด่าง เขาปาก ประตู เขาเลาะโล เขาประหนองโทคี เขาชะโลง ฯลฯ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของลำห้วยต่างๆ เช่น ห้วยมาลัย ห้วยกบ ห้วยซ่าน ห้วยองค์พระ ห้วยปีคี ห้วยปากคอก ห้วยเจ็ดมิตร ฯลฯ โดยไหลลงสู่ที่ราบทิศตะวันออก ลงสู่เขื่อนเขาแหลม และลำน้ำอีกส่วนไหลลงสู่แม่น้ำแควน้อย

 

ลักษณะภูมิอากาศ

เป็นแบบมรสุมเมืองร้อน จึงได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงฤดูฝน และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงฤดูหนาว ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม ฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงมกราคม

พืชพรรณและสัตว์ป่า

อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของผืนป่าตะวันตกที่คงความสมบูรณ์ตามธรรมชาติ สามารถจำแนกประเภทแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่

1) ป่าดิบชื้น มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ตะเคียน ยางขาว ยางยูง ไก่เขียว เคี่ยม กันเกรา จำปาป่า มะหาด เนียง พืชพื้นล่างมีพวก หวาย เฟิน เตย และปาล์ม

2) ป่าดิบแล้ง มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ยางขาว ยางแดง ตะเคียน ยมหอม จำปีป่า กระบาก มะม่วงป่า มะแฟน แดงดง มะไฟป่า สมพง พืชพื้นล่างมีพวก ปาล์ม ข่า และเฟินต่างๆ ฯลฯ

3) ป่าดิบเขา มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ก่อชนิดต่างๆ กำลังเสือโคร่ง มณฑาป่า พระเจ้าห้าพระองค์ กำยาน อบเชย ทะโล้ พืชพื้นล่างได้แก่ มอส เฟินต่างๆ

4) ป่าเบญจพรรณ พบมากที่สุด มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ประดู่ แดง ตะแบก เสลา ส้าน มะค่าโมง อินทนิล ตุ้มเต๋น ตะคร้อ ตะคร่ำ กระพี้เขาควาย ขะเจ๊าะ มะเกลือ กาสามปีก สมอพิเภก กระบก มะกอก พืชพื้นล่างมีพวก ไผ่ไร่ ไผ่ซาง ไผ่บง ไผ่ข้าวหลาม ไผ่รวก และพืชพวกไม้หนาม เป็นต้น

CSR + WALK Rally (K214)

   อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าเป็นจำนวนมาก เนื่องจากป่าเป็นผืนเดียวกันกับประเทศพม่า จึงมีการย้ายถิ่นฐานไปมาอยู่เป็นประจำ และเนื่องจากไม่มีราษฎรอยู่ในพื้นที่ป่ามากนักจึงทำให้สัตว์ป่าไม่ถูกรบกวน ที่พบเห็นเป็นประจำได้แก่ ช้างป่า เลียงผา กวาง เก้ง กระจง หมูป่า หมี ลิง ค่าง บ่าง ชะนี อีเห็น ชะมด เสือปลา เสือลายเมฆ เสือโคร่ง หมีคน หมีควาย กระรอกบิน กระแต หนูหริ่ง พังพอน ค้างคาว กระต่ายป่า แมวป่า หมาไน เม่น นกเงือก นกนางแอ่น เหยี่ยว นกกระสา นกอินทรีย์ นกฮูก นกปรอด นกแขวก นกเค้าแมว นกแสก นกกระปูด นกเอี้ยง นกกางเขน นกขมิ้น นกกระทาดง นกกวัก นกขุนทอง นกแซงแซว นกหัวขวาน นกดุเหว่า อีกา ไก่ป่า ตะกวด ตุ๊กแกป่า กิ้งก่าบิน จิ้งเหลน แย้ ตะขาบ แมงป่อง กิ้งกือ ทาก ปลิง ตะพาบน้ำ กบ เขียด คางคก อึ่งอ่าง ปลาเวียน ปลาซิว ปลาก้าง ปลาช่อน ปลาไหล ปลากระทิง ปลาตะเพียน ปลาหมอ ปลาแขยง และปลาชะโด เป็นต้น

วิสัยทัศน์  เพิ่มพื้นที่ป่าอนุรักษ์ให้ได้ร้อยละ ๒๕ ของพื้นที่ประเทศ ภายในปี พ.ศ. ๒๕๖๙

พันธกิจ

      1. อนุรักษ์ คุ้มครองและฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า

      2. วิจัย พัฒนาและให้บริการด้านวิชาการ 

      3. บริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า โดยการมีส่วนร่วมบนพื้นฐานเทคโนโลยีที่เหมาะสม

      4. ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ อย่างสมดุลและยั่งยืน

ประวัติความเป็นมา

            เดิมงานด้านป่าไม้ทั้งหมด อันได้แก่  งานปลูกบำรุงป่า  งานวนวัฒนวิจัย  งานอุทยานแห่งชาติ  งานทางด้านสัตว์ป่า  งานต้นน้ำ  และงานด้านป้องกันปราบปรามและไฟป่า เป็นต้น  ล้วนอยู่กับ กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (เดิมสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์) ทั้งสิ้น  แต่เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๔๕  วุฒิสถาได้มีมติด้วยคะแนน ๑๒๗ ต่อ ๒๓  ให้แยกงานที่เกี่ยวกับป่าเศรษฐกิจและงานด้านอนุรักษ์และการคุ้มครองป่าไม้ออกจากกัน  โดยให้งานทางด้านป่าเศรษฐกิจอยู่กับกรมป่าไม้  ส่วนงานด้านอนุรักษ์และการคุ้มครอง  ให้ไปตั้งเป็นกรมขึ้นมาใหม่ และให้สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นกระทรวงใหม่ต่อมาสภาผู้แทนราษฎรก็ได้มีมติเห็นชอบตามผลการประชุมของวุฒิสภาดังกล่าว  ซึ่งจะต่างไปจากมติเดิมของสภาผู้แทนราษฎรในการพิจารณา ในวาระที่ ๓ วันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๕  ซึ่งความเห็นดังกล่าวแต่เดิมเหล่านี้ไม่มีการแยกกรมป่าไม้เป็น ๒ กรม ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกา เล่มที่ ๑๑๙ ตอนที่ ๙๙ ก. ลงวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๔๕  ให้จัดตั้งกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช  ในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเมื่อวันที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๕ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร  นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น  ได้มีคำสั่งแต่งตั้งให้ ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในขณะนั้น  ดำรงตำแหน่งรักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช  จึงถือได้ว่าเป็นอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช คนแรก  และได้ดำรงตำแหน่งอยู่จนถึงวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๕  จึงได้มีการแต่งตั้ง นายสมชัย เพียรสถาพร  ขึ้นดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช อย่างเป็นทางการ

         กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช  ดำเนินกิจภารกิจเกี่ยวกับการอนุรักษ์ ส่งเสริม และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช  ในเขตพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์ โดยการควบคุม ป้องกันพื้นที่ป่าอนุรักษ์เดิมที่มีอยู่ และพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมให้กลับสมบูรณ์ด้วยกลยุทธ์การส่งเสริม กระตุ้น และปลุกจิตสำนึกให้ชุมชนมีความหวงแหนและการมีส่วนร่วมในการดูแลทรัพยากรท้องถิ่น  เพื่อเป็นการรักษาสมดุลของระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม  ตลอดจนความหลากหลายทางชีวภาพ  สำหรับเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร  แหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า  แหล่งอาหาร แหล่งนันทนาการและการท่องเที่ยวทางธรรมชาติของประชาชน  ดังวิสัยทัศน์ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ที่ว่า "ผืนป่าหลากหลาย สัตว์ป่ามากมาย ป่าไม้ยั่งยืน" และในปัจจุบันอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช คือ นายธัญญา เนติธรรมกุล

สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจในที่ทำการอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ

ทัวร์  ทองผาภูมิ

1. เนินกูดดอย

ตั้งอยู่ใกล้กับที่ทำการอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ เนินกูดดอย ชื่อว่าเนินกูดดอย ก็เพราะ มีต้นไม้ชนิด หนึ่ง ชื่อกูด ขึ้นอยู่ บนบริเวณ ต้นกูดจะ เป็นพืชตระกูล เฟรินน์ หน้าตามันคล้ายๆ กับ ต้นปรง แต่ใบของต้นกูดนี้ จะอ่อนกว่า จะพบเห็น ทั่วไปขึ้นอยู่บริเวณเนิน "กูดดอย" นี่เอง ที่เนินนี้ ไฮไลท์ อยู่ที่ จุดชมวิวของเขา ทำเป็นระเบียง ยื่นออกจากตัวผา เมื่อเราไปยืนตรงนั้น จะรู้สึกเหมือนเรายืนอยู่ บนผา ที่ยื่นออกไป สามารถมองเห็นทะเลสาบของเขื่อน เขาแหลมไกลๆ เป็นจุดวิวที่สามารถมองเห็นทิวทัศนเทือกเขา สลับซับซ้อน ของอำเภอทองผาภูมิและ ยังสามารถมองเห็นอ่างเก็บน้ำเขื่อนวชิราลงกรณ์ นอกจากนี้ยังเป็น จุดชมพระอาทิตย์ขึ้นและจุดชมทะเลหมอกที่สวยงาม นอกจากนี้เป็นจุดที่สามารถกางเต้นท์ได้

สถานที่ใกล้เคียงรอบนอกอุทยานฯ

น้ำตกเขาใหญ่

อยู่ในท้องที่หมู่บ้านอีต่อง หมู่ที่ 1 ตำบลบิล๊อก อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ที่มี น้ำไหล ตลอดทั้งปี มีชั้นใหญ่ๆ อยู่ 3 ชั้นด้วยกัน ในแต่ละชั้นมีความสูงและความแตกต่างกันออกไปมีแอ่งน้ำใหญ่ มากมาย ตลอดลำน้ำ น้ำใสและเย็น สภาพป่าในบริเวณนี้มีความอุดมสมบูรณ์มาก ต้นไม้ขนาดใหญ่มีให้เราเห็น อยู่ทั่วไปอากาศ เย็นสบายเหมาะแก่การพักผ่อนและเล่นน้ำที่น้ำตก การเดินทางไปสู่น้ำตกนี้ค่อนข่างลำบาก ในฤดูฝนรถยนต์ไม่สามารถเข้าไปได้จะต้องเดินเท้าแทน อยู่ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 4 กิโลเมตร

น้ำตกบิเต็ง

เป็นน้ำตกที่มีน้ำไหลตลอดปี มีแอ่งน้ำน้อยใหญ่จำนวนมากเหมาะแก่การที่จะไปพักผ่อนและเล่นน้ำ อากาศเย็นสบาย สภาพป่าใน บริเวณนี้มีความอุดมสมบูรณ์มาก ต้นไม้ขนาดใหญ่มีให้เราเห็นอยู่ทั่วไปและเป็นที่อยู่อาศัย ของ สัตว์ป่านานาชนิด การเดินทาง ไปสู่น้ำตกแห่งนี้ค่อนข้างลำบาก ในฤดูแล้งสามารถนำรถยนต์เข้าไปได้แต่ ไปไม่ ถึงน้ำตกจะ ต้องเดินทางอีกสักนิดหน่อยถึงจะไป ถึงน้ำตก ส่วนในฤดูฝนไม่สามารถนำรถยนต์เข้าไปได้ จะต้องเดิน ทางเท้าอย่างเดียวอยู่ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 12 กิโลเมตร

เนินเสาธง

เนินเสาธงเป็นพื้นที่ยอดเขาที่กั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศสหภาพพม่า โดยที่ทางการทหารไทย ได้จัดตั้งเสาธงพร้อมติด ธงชาติไทยขนาดใหญ่ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่าพื้นที่นี้เป็นจุดพรมแดนระหว่างประเทศไทย กับประเทศสหภาพพม่า ทางการทหารไทย จึงได้ให้ชื่อพื้นที่แห่งนี้ว่า "เนินเสาธง" และได้อนุญาตให้ประชาชน ทั่วไป เข้าเที่ยวชมได้ โดยมีกำลังของทหารไทย และกองกำลัง ตำรวจตระเวนชายแดนของไทยรักความปลอดภัย ให้ตลอด 24 ชั่วโมง เมื่อเราอยู่บนเนินเสาธงนี้แล้ว เราจะได้พบกับบรรยากาศ เย็นสบาย อากาศสดชื่น แสนบริสุทธิ์ สามารถมองลงเห็นทิวทัศน์ได้รอบตัวเรา ทั้งทิวทัศน์ที่สวยงามในประเทศไทยและทิวทัศน์ ในประเทศสหภาพพม่า และเมื่อวันใดท้องฟ้าเปิดเราก็จะได้เห็นท้อง ทะเลอันดามันได้อีกด้วย

จุดชมทิวทัศน์เขาขาด

เป็นจุดชมทิวทัศน์ที่อยู่บนยอดเขาสูง มีกระแสลมพัดผ่านตลอดเวลา อากาศบริสุทธิ์และเย็นสบาย จากการสำรวจ ได้พบว่า จุดชมทิวทัศน์แห่งนี้มีความสวยงามมาก เมื่อไปอยู่บนจุดนี้แล้วเราสามารถมองเห็นทิวทัศน์ต่าง ๆ ได้รอบตัว อันดับแรกเราจะ ได้เห็นน้ำตกจ๊อกกระดิ่นที่มีสายน้ำไหลผ่านหน้าผาสูงลงสู่พื้นล่างแล้วแตกกระจายออกมา กลายเป็นกลุ่มไอน้ำลอยตัวขึ้นมาจาก พื้นล่างน่าประทับใจเป็นยิ่งนัก จะมองเห็นหมู่บ้านอีต่อง หมู่บ้านหินกอง เนินเสาธงทิวทัศน์ในประเทศสหภาพพม่าและเมื่อใดท้องฟ้า เปิดก็จะมองเห็นท้องทะเล อันดามันได้ด้วย ตาเปล่า การเดินทางค่อนข้างลำบากจะต้องเดินทางด้วยเท้าตลอดจากปากทางเข้าที่ระหว่าง หลักกิโลเมตร ที่ 24–25 ของถนนสายบ้านไร่อีต่อง เป็นระยะประมาณ 2 กิโลเมตร

น้ำตกห้วยเหมือง

เป็นน้ำตกที่มีน้ำไหลตลอดทั้งปี สภาพป่าในบริเวณนี้บางส่วนถูกทำลายเพราะพื้นที่บางส่วนอยู่ใน เขตสัมปทาน ให้ทำเหมืองแร่ มีความสวยงาม และยังพบถ้ำในบริเวณนี้อีก การเดินทางใช้เส้นทางร่วมกัน เส้นทางที่บริษัทที่ได้ สัมปทานทำเหมืองแร่ได้ทำ ไว้โดยเป็นทางลูกรังอยู่ห่างจากหมู่บ้านอีปู่ประมาณ 25 กิโลเมตร

ถ้ำเขาน้อย

ภายในถ้ำได้มีผู้นำเอาพระพุทธรูปไปประดิษฐ์สถานไว้ ให้ผู้ที่เข้าไปเที่ยวได้สักการะบูชา เราจะพบเห็นหินย้อย รูปร่างแตกต่าง กันออกไปอยู่ทั่ว ๆ ไปภายในถ้ำนี้การเดินทางสะดวกสบาย สามารถนำรถยนต์เข้าไปถึงพื้นที่ได้เลย

จุดชมทิวทัศน์ กม. 12

อยู่บริเวณหลักกิโลเมตร ที่ 12 ก่อนถึงที่่ทำการอุทยาน สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของภูเขาที่เรียงรายกันได้อย่างดงาม หากมาในช่วงฤดุฝนยังมีโอกาสที่จะได้พบเห็นทะเลหมอกคลอเคลียอยู่ตามภูเขาได้อีกด้วย

บ้านพักและสิ่งอำนวยความสะดวก

อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิมีที่พักทั้งในส่วนของจุดกางเต้นท์และบ้านพักเป็นบ้านต้นไม้ (บ้านทาร์ซาน) จำนวน 2 หลัง เพื่ออำนวย ความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวนอกจากนี่ยังมีร้านอาหาร ของอุทยานฯคอยให้บริการสามารถ จองบ้านพักผ่านเว็บไซต์ของ อุทยานแห่งชาติ

ที่ตั้งและแผนที่

สถานที่ติดต่อ : ตู้ ปณ.18 อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี 71180 
โทรศัพท์ : 09 8252 0359, 034-510979 
หัวหน้าอุทยานแห่งชาติ : นายเจริญ ใจชน 

อัตราค่าบริการเข้าอุทยานแห่งชาติ

 อัตราค่าบริการ

ผู้ใหญ่

 เด็ก 

 ชาวไทย

40

20

 ชาวต่างประเทศ

200

100

หมายเหตุ  เมื่อชำระค่าบริการเข้าอุทยานแห่งชาติแล้ว
กรุณาพกบัตรค่าบริการติดตัว ขณะท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติ
เพื่อการตรวจสอบ

 

การเดินทาง  GPS  14.69269, 98.40483

1. โดยรถยนต์ส่วนตัวออกเดินทางจากกรุงเทพฯ ถึงตัวเมืองกาญจนบุรี ระยะทางประมาณ 123 กิโลเมตร จากตัวเมืองกาญจนบุรี ใช้ทางหลวงหมายเลข 323 สายกาญจนบุรี ทองผาภูมิ ถึงตลาดอำเภอทองผาภูมิระยะทางประมาณ 141 กิโลเมตร จากตัวอำเภอทองผาภูมิ ใช้เส้นทางหมายเลข 3272 สายทองผาภูมิ บ้านไร่-ปิล๊อก ถึงสามแยกบ้านไร่เลี้ยวซ้ายไปตาม เส้นทางคดเคี้ยวบนเขา ที่ทำการอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิซึ่งจะตั้งอยู่ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 21 - 22 เป็นเส้นทางลาดยางตลอดสาย

2. โดยรถยนต์โดยสารประจำทาง

ขึ้นรถจากสถานีขนส่งสายใต้ลงที่สถานีขนส่งจังหวัดกาญจนบุรีและต่อรถประจำทางสายกาญจนบุรี ทองผาภูมิ ลงที่ตลาดอำเภอทองผาภูมิ จากนั้นต่อรถประจำทางสายทองผาภูมิ บ้านอีต่องก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ

http://www.dnp.go.th

http://www.paiduaykan.com

http://portal.dnp.go.th/


บริการรถตู้
Staff support

Visitors: 110,520