แม่น้ำแควน้อย

แม่น้ำแควน้อย
    เป็นแม่น้ำใหญ่อีกสายหนึ่งของประเทศไทย ความยาวตลอดลำน้ำ 320 กิโลเมตร มีพื้นที่รับน้ำรวม 10,640 ตารางกิโลเมตร แม่น้ำแควน้อยเกิดจากเทือกเขาตะนาวศรี ซึ่งเป็นเส้นกั้นพรมแดนด้านตะวันตกระหว่างประเทศไทยและสหภาพพม่าภูมิประเทศโดยทั่วไปในลุ่มน้ำแควน้อยเป็นภูเขาใหญ่น้อยเรียงสลับซับซ้อนและสูงชัน บางแห่งเป็นหน้าผาสูง บางแห่งเป็นที่ราบ ลำน้ำแควน้อยไหลผ่านภูมิประเทศที่สวยงาม มีน้ำตก มีห้วย และลำธารเล็กๆไหลลงลำน้ำเกือบตลอดสาย สภาพป่าส่วนใหญ่เป็นป่าไม้เบญพรรณและป่าดงดิบ มีป่าไผ่แซมอยู่ทั่วไป มีป่าสงวนและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหลายแห่ง ได้แก่ ป่าสงวนแห่งชาติเขาช้างเผือก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ป่าสงวนแห่งชาติห้วยเขย่ง ป่าสงวนแห่งชาติเขาพระฤาษี เขาบ่อแร่ และป่าสงวนแห่งชาติวังใหญ่-แม่น้ำน้อย
         แม่น้ำแควน้อยตอนบนมีลำน้ำสำคัญ 3 สาย ไหลมารวมกันที่สามสบ ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี คือ ลำน้ำบีคีใหญ่ ลำน้ำซองกาเลีย และลำน้ำรันตี ส่วนทางด้านท้ายน้ำ มีลำน้ำสาขาที่สำคัญคือ ห้วยแม่น้ำน้อย ห้วยบ้องตี้ ห้วยแม่กระบาน และลำภาชี เป็นต้น
• ลำน้ำบีคี่ใหญ่ กำเนิดจากเทือกเขาตะนาวศรีที่พรมแดนไทย-พม่า ในเขตอำเภอทองผาภูมิ ลำน้ำไหลขึ้นไปทางทิศเหนือค่อนไปทางทิศตะวันออก ผ่านเขาปล่ยลำปิล๊อก เข้าเขตอำเภอสังขละบุรี ช่างนี้มีลำน้ำสาขาที่สำคัญคือ ลำน้ำบีคี่ ซึ่งกำเนิดจากเทือกเขาตะนาวศรี ที่พรมแดนไทย-พม่าเช่นเดียวกัน แต่อยู่ในเขตอำเภอสังขละบุรี ไหลมาทางทิศตะวันตกสมทบกับลำน้ำบีคี่ใหญ่ ที่บ้านมอญ น้ำยังคงไหลขึ้นสู่ทิศเหนือค่อนไปทางทิสตะวันออกจนกระทั่งอีกประมาณ 6 กิโลเมตร จะถึง สามสบ ลำน้ำหักเลี้ยวไปทางทิศตะวันออก เรียกว่า แม่น้ำแควน้อย ไหลลงตอนใต้ต่อไป ลำน้ำบีคี่ใหญ่มีความยาวประมาณ 70 กิโลเมตร ถือว่าเป็นตอนต้นของแม่น้ำแควน้อย


• ลำน้ำซองกาเลีย ไหลจากทิศเหนือลงสู่ทิศใต้ มีกำเนิดจากเทือกเขาตะนาวศรี บริเวณด่านพระเจดีย์สามองค์ มีลำห้วยหลายสายไหลมาสมทบลำน้ำซองกาเลีย ไหลลงใต้ผ่านอำเภอสังขละบุรี และไหลลงแม่น้ำแควน้อยที่สามสบ


• ลำน้ำรันตี ไหลมาจากทิศตะวันออก มีต้นกำเนิดจากภูเขากั้นลุ่มน้ำแควน้อยกับแควใหญ่ ไหลมาบรรจบกับลำน้ำซองกาเลียก่อน อีกประมาณครึ่งกิโลเมตร จึงไหลบรรจบเป็นลำน้ำแควน้อย
ิแม่น้ำแควน้อย

   สถานภาพทางกายภาพ
       เป็นแม่น้ำสายสำคัญสายหนึ่งของประเทศ เกิดจากการรวมตัวกันของลำน้ำใหญ่สามสาย คือ ซองกาเลีย รันตี และบิคี่ใหญ่ มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาตะนาวศรี ไหลมาบรรจบกันที่ด้านใต้ของด่านสามสบ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ไหลผ่านอำเภอทองผาภูมิ อำเภอไทรโยค และไหลมาบรรจบกับแม่น้ำศรีสวัสดิ์หรือแม่น้ำแควใหญ่ที่ตำบลปากแพรก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี รวมความยาวประมาณ 318 กิโลเมตร สองฝั่งแม่น้ำเป็นภูเขาสูงชัน มีการสร้างเขื่อนเขาแหลมปิดกั้นแม่น้ำแควน้อยที่อำเภอทองผาภูมิ เป็นเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ เกิดเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่เหนือเขื่อน มีเนื้อที่ผิวน้ำ 353 ตารางกิโลเมตร (220,625 ไร่) อยู่ในท้องที่อำเภอสังขละบุรี และอำเภอทองผาภูมิ


   สถานภาพทางชีวภาพ
     ก่อนการกักเก็บน้ำในปี พ.ศ. 2527 พบปลาอย่างน้อย 87 ชนิด หลังการกักเก็บน้ำในปี พ.ศ. 2535 พบปลาอย่างน้อย 31 ชนิด ชนิดที่อยู่ในสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ (endangered) ได้แก่ ปลาสะตือ (Chitala lopis) ปลาทรงเครื่องหรือปลาฉลามหางแดง (Epalzeorhynchos bicolor) ปลาเนื้ออ่อน หรือปลาปีกไก่หนวดยาว (Kryptopterus limpok) ปลาดาบลาวหรือปลาฝักพร้า (Macrochirichthys macrochirus) ปลาค้อตาบอด (Schistura oedipus) ปลาค้อถ้ำ (Nemacheilus trogocataractus) ปลาเค้าดำ (Wallago leerii) ปลาแขยงหิน (Leiocassis poecilopterus) ปลาค้อจารุธาณินทร์ (Schistura jaruthanini) ชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่น (endemic) ได้แก่ ปลาค้อตาบอด ปลาค้อถ้ำ และปลาค้อจารุธาณินทร์ ชนิดที่อยู่ในสถานภาพมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (vulnerable) ได้แก่ ปลาขยุยหรือปลาสามเขี้ยว (Akysis hendricksoni) ปลานวลจันทร์หรือปลาปีกแดง (Cirrhinus macrosemion) ปลาดุกด้าน (Clarias batrachus) ปลาบ้า (Leptobarbus hoeveni) ปลาแปบหางดอก (Oxygaster maculicauda) ปลายี่สกหรือปลายี่สกทองหรือปลาเอิน (Probarbus jullieni) ปลาที่น่าสนใจอื่นๆ เช่น ปลาแปบขาว (Oxygaster pointoni) ปลาผีเสื้อติดหิน (Homaloptera smithi) ปลาแค้ติดหิน (Glyptothorax lampris) ปลาหมู (Botia spp.) ปลารากกล้วย (Acanthopsis spp.) ปลาช่อน (Channa striatus)
พันธุ์พืชน้ำที่พบริมตลิ่ง ได้แก่ อ้อ (Arundo donax) หญ้าไซ (Leersia hexandra) หญ้าแขม (Phragmites karka) บอน (Colocasia esculenta) หญ้าปล้อง (Hymenachne pseudointerrupta) และพบสาหร่ายพุงชะโด (Ceratophyllum demersum) ในน้ำ
กาญจนบุรี+โฮมสเตย์ (KH301)


   คุณค่าการใช้ประโยชน์
    เป็นแม่น้ำสายหลักที่มีความสำคัญต่อวิถีชีวิตชุมชนและชาวประมงพื้นบ้าน เป็นแหล่งน้ำอุปโภคบริโภค การประมง และการคมนาคม นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งอารยธรรมที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก เป็นแหล่งศึกษาทางโบราณคดีที่สำคัญยิ่ง พบหลักฐานทางวัฒนธรรมคือ โครงกระดูกมนุษย์ดึกดำบรรพ์ เศษเครื่องมือเครื่องใช้ ซึ่งยืนยันว่ามีมนุษย์ยุคหินและยุคเก่าที่เก่าแก่ถึง 500,000-10,000 ปี เคยอาศัยอยู่บริเวณนี้ รวมทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ มีศักยภาพเหมาะสำหรับการศึกษาด้านการอนุรักษ์ระบบนิเวศแม่น้ำ คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ดีสำหรับใช้เพื่อการอุปโภคบริโภค มีความเหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำ การใช้ประโยชน์ในแม่น้ำแควน้อยส่วนใหญ่ทำการประมง และกิจกรรมการท่องเที่ยว


   การจัดการและการคุกคาม
     กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศเรื่องกำหนดฤดูปลามีไข่และกำหนดชนิด ขนาด และวิธีใช้เครื่องมือทำการประมง วันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2507 มีโครงการอนุรักษ์ปลาหน้าวัดที่อยู่ริมแม่น้ำ กรมประมงปล่อยพันธุ์ปลาในแม่น้ำเพื่อเพิ่มผลผลิต มีการขยายตัวของชุมชนอย่างรวดเร็วสองฝั่งแม่น้ำแควน้อย เช่น สถานที่ประกอบการท่องเที่ยวและการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงพาณิชย์ มีการทำประมงที่ผิดกฎหมาย โดยเฉพาะการใช้เครื่องมือทำการประมงผิดประเภท มีการรุกล้ำพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำ ทำให้เกิดมลพิษทางน้ำอันเนื่องมาจากการเกษตรและ การท่องเที่ยว

http://chm-thai.onep.go.th/chm/Inlandwater/data/inter_wetland/KwaeNoi.html
http://irre.ku.ac.th/MIIS/miis(wdevelop)/knm.htm


บริการรถตู้
ล่องแพเปียก กาญจนบุรี

 

Visitors: 110,526