วัดวังก์วิเวการาม อ.สังขละบุรี

วัดวังก์วิเวการาม

     วัดวังก์วิเวการาม อยู่เลยจากตัวอำเภอสังขละบุรีไปประมาณ 6 กิโลเมตร เป็นวัดจำพรรษาของ "หลวงพ่ออุตตมะ" ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนชาวไทย ชาวมอญ รวมทั้งชาวกะเหรี่ยงและพม่าที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น ภายในวิหารที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำประดิษฐานพระพุทธรูปหินอ่อนอันงดงามชาวบ้านเรียกกันว่า หลวงพ่อขาว จากวัดวังก์วิเวการามแยกไปอีก 1 กิโลเมตร จะเป็นที่ตั้งของเจดีย์แบบพุทธคยามีลักษณะฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสบรรจุพระบรมสารีริกธาตุส่วนที่เป็นกระดูกนิ้วหัวแม่มือขวา ขนาดเท่าเมล็ดข้าวสาร บริเวณใกล้เจดีย์มีร้านจำหน่ายสินค้าจากพม่าหลายร้านจำพวกผ้า แป้งพม่า เครื่องไม้ ราคาย่อมเยา ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี มีการจัดงานคล้ายวันเกิดหลวงพ่ออุตตมะ ในงานมีกิจกรรมต่างๆ ประกอบด้วยพิธีกรรมทางศาสนา การแข่งขันชกมวยคาดเชือก การแสดงของชมรมวัฒนธรรมท้องถิ่น เช่น การรำแบบมอญ การรำตงของชาวกะเหรี่ยง และในงานประชาชนจะพร้อมใจกันแต่งกายตามแบบวัฒนธรรมของชาวไทยรามัญและจัดเตรียมสำรับอาหารทูนบนศีรษะไปถวายพระสงฆ์ที่วัดศาลาวัดวังก์วิเวการาม เป็นเสนาสนะที่สร้างอย่างสวยงามมากหลังหนึ่งด้านหน้าเป็นลานกว้างมีเพียงหอกลองอยู่กลางลานกว้าง เราจึงใช้บริเวณลานนี้เป็นที่จอดรถ รอบๆ ลานกว้างมีเสนาสนะ อาคารของวัดรอบด้านทั้ง 4 ทิศ จากด้านหน้าจะเห็นศาลาหลังนี้ซึ่งเป็นสิ่งที่ดึงดูดใจมากที่สุดทำให้เราต้องใช้เวลาเก็บภาพกันนานที่สุด ภายในศาลาเป็นที่ตั้งของปราสาท 9 ยอด และรูปเหมือนหลวงพ่ออุตตมะ ปราสาท 9 ยอดนี้เองเป็นสิ่งที่ขึ้นชื่อว่างดงามมากของวัด ก่อนที่จะเข้าไปชมภายในวัดจะกล่าวถึงประวัติของวัดแห่งนี้พอสังเขป

      วัดวังก์วิเวการามเดิมสร้างอยู่บริเวณที่เรียกว่า สามประสบ เป็นจุดที่แม่น้ำสามสายไหลมาบรรจบกัน ได้แก่ บิคลี ซองกาเรีย และรันตี หลังการก่อสร้างเขื่อนวชิราลงกรณ์หรือเขื่อนเขาแหลมและทำการกักเก็บน้ำใน พ.ศ. 2521 จึงต้องทำการย้ายวัดวังก์วิเวการามขึ้นมาอยู่ในพื้นที่ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตจัดไว้ให้ อยู่บนเนินเขาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือในที่ตั้งปัจจุบัน วัดวังก์วิเวการามเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อแห่งหนึ่งในจังหวัดกาญจนบุรี ทั้งนี้แหล่งท่องเที่ยวที่รู้จักกันทั่วไปคือ สะพานไม้อุตตมานุสรณ์ เจดีย์พุทธคยาจำลอง ชุมชนชาวมอญ และวัดวังก์วิเวการามซึ่งภายในวัดยังเป็นที่ตั้งประดิษฐานสังขารของพระราชอุดมมงคลฯ หลวงพ่ออุตตมะ บรรจุในปราสาทเก้ายอดรูปแบบสถาปัตยกรรมมอญ ไว้ให้ศิษยานุศิษย์และประชาชนทั่วไปได้กราบไหว้สักการะเพื่อระลึกและสำนึกในพระคุณของหลวงพ่อ และบริเวณวัดปัจจุบันประกอบด้วย อาคารศาสนสถานที่สำคัญๆ ต่างๆ เช่นวิหารพระหินอ่อน อุโบสถ และเจดีย์พุทธคยาจำลองวิหารพระหินอ่อน อาคารหลังนี้สร้างเป็นตึกก่ออิฐถือปูนอยู่ทิศตรงข้ามกับศาลา มีทางเดินหลังคาคลุมเชื่อมต่อจากตัวอาคารออกไปอีกยาว แม้แต่บันไดทางขึ้นลงอาคารก็สร้างหลังคาแบบลดหลั่นกันลงไป เดินเข้าไปจะเห็นทางเดินไปยังวิหารพระหินอ่อน ซึ่งประดิษฐานพระพุทธรรูปหินอ่อนสีขาวที่งดงามของวัดวังก์วิเวการาม และเป็นสถานที่แรกที่เราจะเข้าไปกัน
กาญจนบุรี ไหว้พระ (K307)

      อีก 2 ด้านรอบลานจอดรถ เป็นศาลาอยู่ซ้ายมือ กับพระอุโบสถอยู่ขวามือ ซึ่งเอาไว้ค่อยออกมาเก็บภาพทีหลังทางเดินเข้าวิหารพระหินอ่อน เป็นทางเดินหลังคาคลุมโค้งไปตามพื้นที่ของวัดตรงเข้าประตู ด้านข้างวิหารพระหินอ่อนมีสระบัวขนาดไม่ใหญ่นักพระพุทธรูปหินอ่อน ประดิษฐานเป็นองค์พระประธานในวิหาร แม้แต่องค์พระอัครสาวกก็สร้างจากหินอ่อนสีขาวอมเหลืองด้วยเหมือนกันฐานและด้านหลังขององค์พระพุทธรูปตกแต่งลวดลายที่งดงามมาก มีรูปเหมือนหลวงพ่ออุตตมะขนาดเท่าจริงนั่งอยู่บนธรรมาสน์ อยู่ด้านขวามือ ด้านหน้าสุดยังมีพระพุทธรูปปางมารวิชัยสีเทาอีก 1 องค์รอบวิหารพระหินอ่อน หลังจากไหว้พระขอพรกันแล้วมาลองชมรอบๆ บริเวณวิหารหลังนี้กันครับ จุดสนใจก็มีประตูมีลวดลายประดับเหนือประตู ภาพจิตรกรรมบนฝาผนังด้านในวิหารอยู่รอบด้านชิดขอบผนังด้านบนสุด เชิงเทียนขนาดใหญ่ตั้งอยู่นอกประตู (ไม่ให้เข้ามาจุดธูปเทียนในวิหาร) ด้านข้างฐานพระพุทธรูปด้านซ้ายมือของเราจะมีงาช้างแมมมอธ มีความยาวมากกว่าช้างทั่วไปตั้งแสดงไว้ให้ชมพร้อมป้ายบอกว่าห้ามจับพระพุทธรูปแปดกร เป็นครั้งแรกที่ได้พบเห็นพระพุทธรูปที่มีพระพุทธลักษณะแตกต่างจากพระพุทธรูปที่เคยเห็นที่อื่น เป็นพระพุทธรูปมีแปดกร ประทับยืน ประดิษฐานอยู่บนบุษบก พระหัตถ์ขององค์พระพุทธรูปคล้ายปางต่างๆ กันหลายปางรวมอยู่ในองค์เดียวกันได้แก่ ปางรำพึง ปางถวายเนตร ปางประทานพร ส่วนภาพขวาเป็นพระพุทธรูป พระนามว่า พระพุทธรัชมงคลอุบลบพิตร (พระพุทธเจ้าทรงเป็นมงคลผู้สร้างแห่งความเป็นพระราชา) พร้อมกับเอกสารการถวายนามพระพุทธรูป จากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาปริณายก วัดบวรนิเวศวิหาร ข้อความปรากฏบนเอกสาร ดังนี้ขอถวายนามพระพุทธรูป ในวโรกาส ทูลกระหม่อมสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สร้างถวายไว้ในบวรพระพุทธศาสนา ขอพระพุทธรูปที่ถวายนามแล้วนี้ จงสถิตเป็นที่สักการะเจริญเป็นอุดมมงคล ให้เกิดความสวัสดีแก่พุทธศาสนิกชนทั่วไป ตลอดจิรกาล

     พระพุทธรูปองค์นี้ประดิษฐานบนบุษบกสีทองซึ่งตั้งซ้อนกันอยู่ 2 หลังข้างฐานพระหินอ่อนภาพจิตรกรรมวิหารพระหินอ่อน เป็นภาพจิตรกรรมขนาดไม่ใหญ่นัก เขียนบนฝาผนังของวิหาร ช่องละ 2 ภาพ ด้านล่างของภาพจิตรกรรมเหล่านี้สร้างให้เป็นช่องลึกเข้าไปในผนัง ตั้งพระองค์เล็กๆ ไว้หลายองค์จนเต็มช่อง หลายคนที่ได้มีโอกาสเดินทางไปเที่ยววัดในเขตลาวใต้ ก็จะพบเห็นการสร้างผนังเป็นช่องสำหรับตั้งพระจำนวนมากแบบนี้ได้หลายแห่ง

 

ระเบียงคด

      ระเบียงคด ทางเดินที่เชื่อมต่อจากอาคารสีขาวซึ่งน่าจะเป็นกุฎิสงฆ์เป็นแนวยาวไปทางด้านหลังวิหารพระหินอ่อน

หอระฆังและแผนที่ประเทศไทย

      หอระฆังและแผนที่ประเทศไทย ลักษณะการสร้างหอระฆังของวัดวังก์วิเวการาม ก็มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนที่อื่น ด้วยการสร้างบันไดวนรอบนอกของหอระฆัง ดูสวยงามแปลกตา ภาพขวาเป็นแผนที่ประเทศไทยสร้างโดยวัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ (วัดพระพี่นาง) จังหวัดนครสวรรค์ มีเพียง 3 แห่งในประเทศไทย

พระอุโบสถวัดวังก์วิเวการาม

       พระอุโบสถวัดวังก์วิเวการาม เป็นพระอุโบสถที่มีหลังคายอดซุ้ม 3 ยอด สวยงามตั้งอยู่บนเขา หากมองจากสะพานมอญอีกฝั่งหนึ่งของลำน้ำซองกาเรีย จะมองเห็นหลังคาพระอุโบสถหลังนี้ได้ เป็นสิ่งที่ดึงดูดให้เราได้มาเห็นมาชมกัน ด้านหน้าพระอุโบสถมีสระน้ำพุรูปหัวช้างทั้ง 2 ข้าง ด้านซ้ายมือตรงซุ้มประตูมีพระพุทธรูปปางโปรดปัญจวัคคีทั้ง ๕ ด้านซ้ายเป็นทางเดินสร้างหลังคาคลุมเข้าไปจนถึงซุ้มประตู

พระพทธรูปโปรดปัญจวัคคีทั้ง ๕

        พระพุทธรูปโปรดปัญจวัคคีทั้ง ๕ ด้านหลังในซุ้มประตูกำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้างระเบียงคดรอบพระอุโบสถ แสดงให้เห็นถึงการทำนุบำรุง การซ่อมแซม ก่อสร้างเพิ่มเติมที่ยังมีอยู่อย่างไม่ขาดสาย แม้ว่าหลวงพ่ออุตตมะจะมรณภาพไปนานแล้ว แต่กระแสศรัทธาของชาวบ้านในละแวกนี้และทั่วประเทศก็ยังคงอยู่กับวัดวังก์วิเวการาม อย่าง

วัดใต้น้ำ เมืองบาดาล สังขละบุรี ( จังหวัด กาญจนบุรี )

     วัดใต้น้ำ เมืองบาดาล สังขละบุรี หรือวัดจมน้ำ คือวัดวังก์วิเวการามเดิม ซึ่งกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ถือว่าเป็น Unseen Thailand เพราะมีความแปลกที่มีซากโบราณสถานจมอยู่ใต้น้ำ เป็นสถานที่เล่าขานถึงตำนานความเป็นมาของวัดหลวงพ่ออุตตมะ จนหลายคนเรียกกันว่าเมืองบาดาลนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวในช่วงฤดูร้อน ตั้งแต่ประมาณเดือนมีนาคม - เมษายน เป็นช่วงหน้าแล้ง น้ำหลังเขื่อนลดลงมาก จะสามารถเดินเข้าไปเยี่ยมชมโบสถ์เก่าได้ ณ บริเวณสามประสบ ส่วนคนที่มาเที่ยวช่วงปลายฝนต้นหนาว ตั้งแต่ประมาณตุลาคม - มกราคม อาจจะได้เห็นแค่บางส่วนของตัวโบสถ์ที่โผล่พ้นน้ำ หรือบางทีก็จมน้ำเป็นเมืองบาดาล จะมีให้เห็นก็เพียงแต่ยอดหอระฆังเดิมเท่านั้นที่สูงพ้นน้ำ

ข้อแนะนำ

- การเที่ยวชมวัดใต้น้ำนี้สามารถเช่าเรือได้บริเวณสะพานไม้มอญ ราคาประมาณ 600 บาท ใช้เวลาไป - กลับ ประมาณ 45 นาที

ติดต่อ
แพลุงเณร ตีนสะพานมอญฝั่งไทย โทร. 08-9221-2330, 034-595-360 (เวลา 6.00 - 18.00 น.)
แพดอกบัว ตีนสะพานมอญฝั่งมอญ โทร.086-168 6655 (ติดต่อพี่กอบชัย)
แพน้องเจี๊ยบ  ตีนสะพานแดง โทร. 089-8034459 

- เที่ยวชมวัดใต้น้ำ ควรเที่ยวในช่วงเช้า เพราะถ้าเป็นช่วงสายมากๆ หรือเที่ยง แดดจะร้อนจัดไป

- ช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม เป็นช่วงน้ำลด สามารถนั่งเรือไปจอดใกล้โบสถ์ แล้วเดินเข้าไปชมข้างในได้
- ชุดตักบาตรสะพานมอญ

ติดต่อ  ร้านป้าหยิน โทร. 081-7924244

 

ขอบพระคุณขัอมูล

https://th.wikipedia.org/wiki https://www.thetrippacker.com/th/review/location/10973

https://www.touronthai.com/article/531


บริการรถตู้
Staff support

Visitors: 110,336