บ้านห้วยมาลัย

บ้านห้วยมาลัย
   หากแบ่งตำบลหนองลู 2 ฝั่ง คือ ตะวันออก กับ ตะวันตก  หมู่บ้านห้วยมาลัย ถือเป็นศูนย์กลางตำบลหนองลูฝั่งตะวันตก การสัญจรทั่วสารทิศฝั่งตะวันตกตำบลหนองลู ต้องผ่านหมู่บ้านแห่งนี้เสมอ หรือกระทั่งการเดินทางข้ามชายแดนไทย-พม่า จำเป็นต้องอาศัยและผ่านหมู่บ้านแห่งนี้ ทั้งเป็นศูนย์กลางตลาด โรงพยาบาล โรงเรียน การคมนาคม และการนัดหมายเพื่อภารกิจทางราชการฉะนั้น หากถามชาวตำบลหนองลู โดยเฉพาะหนองลูฝั่งตะวันตก ทุกคนต้องตอบว่า "ต่างเคยผ่าน และรู้จักหมู่บ้านห้วยมาลัยดี ทั้งข้อมูลโดยละเอียด และโดยประมาณ 


    ชาวบ้านห้วยมาลัย มีบ้านติดถนนใหญ่ จึงนิยมค้าขาย มีภาพร้านค้าทั่วไปตลอดถนนของหมู่บ้าน ไม่ว่าร้านเล็ก ร้านใหญ่ ของชำร่วย อาหารสด อาหารแห้ง เครื่องดื่นยี่ห้อต่างๆ หรือกระทั่งอู่ซ่อม บำรุงรถจักรยานยนต์ แต่เกษตรกรรม สวน ไร่ นา เป็นอาชีพหลัก บางส่วนเป็นพนักงานสถานพยาบาลเอกชน และบ้างรับราชการ แต่อาชีพที่ไม่ควรมองข้าม หรือขาดไม่ได้สำหรับหมู่บ้านแห่งนี้ คือ รับจ้างทั่วไปถางวัชพืนตามไร่ สวน ซึ่งเป็นจำนวนส่วนใหญ่ในหมู่บ้าน ที่น่าสนใจคือ เป็นบุคคลถือบัตร ระบุบุคคลไม่มีสัญชาติไทย


     ภาพนักเรียนชายหญิงหนุ่ม-สาวในหมู่บ้าน หรือหมู่บ้านใกล้เคียง จาก บ้านใหม่พัฒนา ห้วยกบ ช่องลุ-ชุแหละ กระทั่งเวียคะดี้ จะตื่นแต่เช้า ยืนรอรถโดยสารประจำทาง รถรับ-ส่งนักเรียนตามถนนตลอดสายของหมู่บ้านด้วยรอยยิ้มไร้เดียงสา หรือบ้างแก่แดด แก่ลม ไปเรียนที่ตัวอำเภอสังขละบุรี ซึ่งอยู่ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 20 กิโลเมตรทางตะวันออก เป็นภาพที่เห็นทุกวันปกติทำงานจันทร์-ศุกร์

   "ห้วยมาลัย" เป็นคำไทยโดยแท้จริง โดยไม่ได้แปลจากภาษาท้องถิ่นเหมือน หมู่บ้านห้วยกบ หรือ แผลงจากคำในภาษาท้องถิ่น เช่น หมู่บ้านนิเถะ หรือ สเนพ่อง หมู่บ้านนี้สร้างขึ้นเพราะโครงการก่อสร้างเขื่ือนวชิราลงกรณ์ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2523-2527 ดังเช่น หมู่บ้านส่วนใหญ่ในอำเภอสังขละบุรีปัจจุบัน โดยหมู่บ้านเก่า จากอำเภอสังขละบุรีเก่า ที่ทางการ กฟผ.จัดสรรที่ดินให้อพยพย้ายมาอยู่ในหมู่บ้านห้วยมาลัยปัจจุบันนี้มี 3 หมู่บ้าน คือ
- หมู่บ้านเกิ่งสะดา
- หมู่บ้านหนองปะโด่ง
- หมู่บ้านละว้า

กาญจนบุรี+โฮมสเตย์ (KH302)


   ห้วยมาลัย ตั้งอยู่ ณ หมู่ 6 ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี อยู่ห่างตัวอำเภอสังขละบุรี 20 กิโลเมตรโดยประมาณ ทางตะวันตกตั้งอยู่ตรงกลางของหมู่บ้านในบริเวณนี้ ไม่ว่าจะเป็นบ้านใหม่พัฒนา ห้วยกบ ช่องลุ และเวียคะดี้ชาวบ้านมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม เพราะเป็นหมู่บ้านแห่งเดี่ยวในอำเภอสังขละบุรีที่มีโบสถ์ของพี่น้องชาวคริสเตียน ตั้งอยู่ 2 แห่งในบริเวณใกล้เคียง และทุกวันอาทิตย์ ได้เห็นภาพพี่น้องชาวคริสเตียนเข้าโบสถ์ตลอดทั้งวันเป็นระยะๆ กิจกรรมใดๆ ไม่ว่าร้านค้า ร้านอาหาร การงานในบ้าน และนอกบ้านจะถูกปิด หรือพักไว้ เพื่อร่วมกิจกรรมพร้อมเพรียงกันในโบสถ์ที่มีอย่างเพียงพอ 2 แห่งในบริเวณ หมู่บ้านห้วยมาลัย ดังเช่นพี่น้องชาวพุทธศาสนิกซึ่งพร้อมเพรียงกันทำบุญ บำเพ็ญกุศล ณ วัดห้วยมาลัย อันเป็นศูนย์กลางการประกอบกิจกรรมสำคัญต่าง ๆ ทางพระพุทธศาสนาด้วยรอยยิ้ม และด้วยหัวใจ

   วัดห้วยมาลัย
วัดห้วยมาลัย
    เป็นวัดขนาดเล็ก ได้รับการประกาศเป็นวัดถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2531 ลงนาม นายมานะ รัตนะโกเศศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการขณะนั้น ซึ่งทางวัดได้เก็บรักษาประกาศนั้นอย่างดีภายในกรอบกระจก ตั้งแสดงให้เห็นบนศาลาการเปรียญ วัดตั้งอยู่ติดถนนใหญ่ ตรงกันข้ามโรงเรียนบ้านห้วยมาลัย อันเป็นศูนย์กลางการเรียนของเยาวชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ตำบลหนองลูตะวันตก โดยมีป้ายชื่อวัดแกะสลัก ลงรักปิดทองขนาดใหญ่ด้วยวิธีการ และลายมือชาวบ้าน แขวนให้อ่านอย่างสง่าบนซุ้มประตูวัด 
  ภายในบริเวณวัด ได้รับการสร้างอาคารสถานที่จำเป็นสำหรับสังฆกรรม พิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาเกือบครบทั้งหมด ยกเว้น โบสถ์ ไ่ม่ว่าจะเป็น ฌาปนสถาน ศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์
    สิ่งที่แตกต่างระหว่างวัดอื่นในพื้นที่ตำบลหนองลูตะวันตก กับวัดห้วยมาลัย คือ "พระเจดีย์สุพรรณภูมิ" ซึ่งมีความสวยงาม โดดเด่น ประดิษฐานอย่างสง่าภายในบริเวณวัด แต่...หากได้รับการถมดินให้สถานที่สูงขึ้นสักนิด พระเจดีย์ใหม่องค์นี้ คงเป็นปูชนียสถานที่สมบูรณ์แบบที่สุดอีกองค์หนึ่งในอำเภอสังขละบุรี เป็นพระเจดีย์องค์ใหม่ที่สุดในพื้นที่ ซึ่งสร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2549 ด้วยการออกแบบการสร้างโดยอดีตเจ้าอาวาส พระอธิการสันติ สนฺตกาโร มรณภาพเมื่อปี พ.ศ. 2548 ที่ผ่านมา



พระเจดีย์สุพรรณภูมิ

    สนามบินสุวรรณภูมิมีชื่อพ้องกับพระเจดีย์ หรือพระเจดีย์มีชื่อพ้องกับสนามบิน เป็นเรื่องที่ต้องติดตาม ค้นหา ตรวจสอบอีกครั้ง แต่สถานที่ตั้ง ทุนการสร้าง สถาปนิก และจุดประสงค์การสร้าง ล้วนโดยสิ้นเชิงแตกต่างกัน รูปแบบสถาปัตยกรรม เป็นไปทางมอญ-พม่า เพราะชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงมีความชำนาญ และคุ้นเคยกับสถาปัตยกรรมชนิดนี้ สถาปัตยกรรม หรือศิลปกรรมแขนงใดก็ตามในพื้นที่อำเภอสังขละบุรี ส่วนใหญ่ถูกถ่ายทอดออกมาเป็นแบบมอญ-พม่าเกือบทั้งหมด

     พระเจดีย์สร้างเสร็จสมบูรณ์เมื่อปี พ.ศ. 2549 โดยนายช่างส่วนใหญ่ในพื้นที่ แต่ผู้ที่ออกแบบทั้งหมดคือ อดีตเจ้าอาวาส 
พระอธิการสันติ สนฺตกาโร ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งอดีตเ้จ้าอาวาสรูปซึ่งออกแบบเองนั้น ได้อัญเชิญจากประเทศพม่าก่อนการสร้างพระเจดีย์สำเร็จเสร็จสิ้น

วัดห้วยมาลัย

หอสวดมนต์

     สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2539-2540 หอสวดมนต์ ซึ่งมีโครงสร้างไม้ พื้น และฝาเป็นปูน หน้าต่างไม้ ประตูเหล็ก ภายในบรรจุได้ไม่เกิน 50 คน สำหรับพิธีกรรมต่าง ๆ ติดตั้งโคมไฟสีทองขนาดกลาง เพื่อความสว่าง และสร้างเสน่ห์ให้เพิ่มขึ้นกับหอแห่งนี้ในยามประกอบกิจกรรมต่างๆ ของวัด สิ่งที่ชวนให้เกิดความหลงไหล เพลิดเพลินเมื่อเข้ามาเยี่ยมชมหอสวดมนต์แห่งนี้คือ พระพุทธรูปทอง พระพุทธรูปเงินซึ่งประดิษฐาน

  ณ ภายในของหอ ได้รับการบูชา กราบไหว้สร้างความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้นทุกเช้าเย็นเวลาทำวัตรสวดมนต์ของพระภิกษุ สามเณรพระพุทธรูปทั้งสองมีขนาดหน้าตักประมาณ 20 ซม. ไม่แน่ใจว่าสร้างขึ้นจากสิ่งใด แต่มีความสวยงาม รูปร่างลงตัว พระพักตร์นิ่งสงบ หากเพ่งนานๆ ด้วยความตั้งใจ จะสังเกตเห็นรอยยิ้มที่ค่อยๆ แผ่ออกมาจากพระพักตร์ที่นิ่งสงบนั้นอย่างมหัศจรรย์

กาญจนบุรี ไหว้พระ (K307)

   เรื่องที่ประหลาดอีกอย่างสำหรับหอสวดมนต์แห่งนี้ คือ วิศวกร นายช่ายผู้สร้าง ล้วนแล้วแต่เป็นพระภิกษุชาวกะเหรี่ยงทั้งสิ้นโดยทางวัดไม่ต้องเีสียเงินค่าจ้างช่างใดๆ เลย ซึ่งเป็นหนึ่งเดียวในอำเภอสังขละบุรี "หอสวดมนต์วัดห้วยมาลัย" 


ขอบพระคุณข้อมูลและภาพประกอบ
https://data.bopp-obec.info/emis/schooldata-view.php?School_ID=1071020364&Area_CODE=7103
http://rehmonnya.org/blog/wearcadi/Wat%20Hauy%20ma%20lai.html


บริการรถตู้

Visitors: 110,501