กลุ่มศูนย์ปฏิบัติการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเนินพอกิน
Tags: กาญจนบุรี, เศรษฐกิจพอเพียง
*****ประกาศ
ปัจจุบัน ศูนย์การเรียนรู้เนินพอกิน ขาดวิทยากรคอยให้ข้อมูล เนื่องจากปรับเปลี่ยนให้เป็นแหล่งการผลิตหากผู้ที่สนใจเข้าศึกษาดูงานให้ติดต่อไปที่
ปัจจุบัน ศูนย์การเรียนรู้เนินพอกิน ขาดวิทยากรคอยให้ข้อมูล เนื่องจากปรับเปลี่ยนให้เป็นแหล่งการผลิตหากผู้ที่สนใจเข้าศึกษาดูงานให้ติดต่อไปที่
ชมรมเพื่อนช่วยเพื่อน พุทธสถานปฐมอโศก
66 หมู่ 5 ต.พระประโทน อ.เมือง จ.นครปฐม 73000
โทร.081-835-6108 E-mail: wn_ployk@hotmail.com
66 หมู่ 5 ต.พระประโทน อ.เมือง จ.นครปฐม 73000
โทร.081-835-6108 E-mail: wn_ployk@hotmail.com
"กลุ่มศูนย์ปฏิบัติการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเนินพอกิน"
ปรัชญา
“ความขาดแคลนไม่ได้เป็นปัญหา ถ้ามีปัญญาและความเพียร”
คติธรรมประจำใจ
“ความสำเร็จของคนเราไม่ได้อยู่ที่ “ผลงาน” หรือ “ความเก่ง” แต่อยู่ที่การเป็นคนมีน้ำใจและคุณธรรมต่างหาก”
ประวัติความเป็นมาและกำลังจะเป็นไปของ “เนินพอกิน”
“เนินพอกิน” ถือกำเนิดกำเนิดขึ้นมาพร้อมๆกับนาแรงรักแรงฝัน เริ่มจากสมณะ สิกขมาตุ และญาติธรรมชาวปฐมอโศก นำโดยคุณหมอฟากฟ้าหนึ่ง อโศกตระกูล ต้องการจะมีพื้นที่ทำการเกษตรของชุมชนปฐมอโศก ครั้งแรกก็ไปได้ที่นาแรงรักแรงฝัน ประมาณ 100 กว่าไร่ ต่อมาก็มาได้ที่เนินพอกินซึ่งอยู่ติดภูเขาอีกประมาณ 110 ไร่ ซึ่งอยู่ห่างจากนาแรงรักแรงฝันประมาณ 4 ก.ม. ซื้อในนามมูลนิธิคนสร้างชาติที่นาแรงรักแรงฝัน เป็นพื้นที่ในเขตชลประทาน มีน้ำอุดมสมบูรณ์จึงเน้นการทำนาเป็นหลัก ส่วนเนินพอกินอยู่ติดภูเขา พื้นที่ส่วนใหญ่มีแต่หิน แห้งแล้งมาก ระบบน้ำจากชลประทานขึ้นไปไม่ถึง ทั้งฝนก็แล้ง ดินก็แข็ง ชาวบ้านแถวนั้นบอกว่าที่นี่ปลูกอะไรไม่ขึ้น แม้แต่ปลูกกล้วยก็ไม่ได้กิน ปลูกได้อย่างเดียวคือยาสูบ เพราะไม่ต้องใช้น้ำมาก อาศัยน้ำค้างก็พออยู่ได้ช่วงที่ชาวปฐมอโศกไปอยู่ใหม่ๆ ก็เป็นที่รกร้าง เหมือนชาวบ้านจะทิ้งแล้ว เพาะปลูกอะไรก็ไม่ได้ผล มีแต่พงหนามและบางพื้นที่เป็นที่โล่ง แม้แต่หญ้าก็ยังไม่ขึ้น ประมาณเดือนธันวาคม ปี 2549 คุณหมอฟากฟ้าหนึ่ง ท่านนาไท สิกขมาตพูนเพียร และผู้สูงวัยของชาวปฐมอโศกได้ไปบุกเบิกปลูกพืช ปลูกผัก ได้ผลดีพอสมควร พื้นที่เนินพอกินเริ่มเขียวไปด้วยผักพืชที่กินได้ ด้วยฝีมือของยายขยันมั่น ยายตะวันเดือน ยายเนียน และตาถึงแก่น ฯลฯ ปลูกหอม กระเทียม หน่อไม้ฝรั่ง พริก มะเขือ บวบ มะละกอ มันแกว ฯลฯ เริ่มปลูกศาลาสร้างที่พัก พัฒนาได้ไม่นานก็เกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้น นั่นก็คือหมอฟากฟ้าหนึ่งผู้นำการบุกเบิกเจออุบัติเหตุ รถเก๋งชนรถปิ๊กอัพ ที่หมอฟากฟ้าหนึ่งนั่งขณะเดินทางกลับปฐมอโศก ถึงกับเสียชีวิต สร้างความเศร้าโศกเสียใจให้กับญาติธรรมชาวอโศกทุกๆคนช่วงที่หมอมีชีวิตอยู่ ทุกครั้งที่เจอหน้ากันจะชวนให้สมณะเสียงศีลชาตวโรไปช่วยพัฒนาที่นาแรงรักแรงฝันและเนินพอกินในฐานะที่มีประสบการณ์ เรื่องเกษตรอินทรีย์มาอย่างยาวนานและอยู่ปฐมอโศกด้วยกัน สมณะเสียงศีลก็ได้แต่รับปากว่าจะไปช่วย และได้ไปเยี่ยมเยียนเป็นครั้งคราว ยังไม่ได้ไปช่วยอย่างเต็มที่เพราะยังมีงานที่ต้องทำอยู่เต็มมือหลายอย่าง พอหมอเสียชีวิตอย่างกระทันหันก็รู้สึกเสียใจ เสียดายที่คนดีๆจากไปเร็ว และยังคิดว่าแล้วงานที่หมอสร้างก่อไว้ใครจะทำต่อ ที่นาแรงรักแรงฝันยังพอมีคนดูแลรับผิดชอบอยู่บ้าง แต่ที่เนินพอกินซึ่งมีพื้นที่กว้างใหญ่ถึง 110 กว่าไร่ ยังมีคนช่วยอยู่น้อย พื้นที่ก็ยังรกร้าง ดินก็แข็ง ปลูกอะไรก็ไม่ค่อยขึ้น นับเป็นงานที่ท้าทายมาก แม้แต่ชาวบ้านที่มาทำงานอยู่ด้วย พอรู้ว่าจะใช้ที่เนินพอกินเป็นพื้นที่ปลูกผัก ปลูกต้นไม้ก็ไม่มั่นใจว่าจะทำได้ เพราะที่นี่เป็นพื้นที่ที่ชาวบ้านขายทิ้งแล้วปลูกอะไรไม่ขึ้น ฝนก็แล้งซ้ำซากมาหลายปีแล้ว ถ้าปลูกเล็กๆน้อยๆ พออยู่พอกินที่นี่ก็พอปลูกได้ แต่ถ้าปลูกในพื้นที่ทั้งหมดคงจะยาก
สมณะเสียงศีล ชาตวโร ได้เริ่มไปอยู่พัฒนาตั้งแต่เดือนเมษายน ปี 2551 สานต่อเจตนารมณ์ของหมอฟากฟ้าหนึ่ง อโศกตระกูล โดยมีคุณยิ่งธรรม อุดมสุข ซึ่งเป็นญาติธรรม ร่วมกับคนงานซึ่งเป็นชาวบ้าน อยู่ใกล้ๆเนินพอกิน ช่วงานอยู่ก่อนแล้ว ประมาณ 5 – 6 คน ร่วมกันวางแผน คิดอ่านค่อยพัฒนาไปทีละขั้นตอนอย่างเป็นระบบและอย่างประโยชน์สูงประหยัดสุด จากประสบการณ์ที่บ่นเพาะมาอย่างยาวนาน ของสมณะเสียงศีลและภูมิปัญญาชาวบ้านของทีมงาน ช่วยกันปรับปรุงบำรุงดิน และจัดระบบน้ำอย่างประหยัด อะไรที่ทำเองได้ก็ทำเอง จะได้เป็นตัวอย่างแก่ผู้มาขอศึกษา ดูงาน เราตั้งใจอยากจะให้ที่นี่เป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชนให้กับชาวบ้านและผู้มาเยี่ยมเยียน รวมทั้งเป็นศูนย์อบรมเศรษฐกิจพอเพียง จึงต้องการเน้นพึ่งตนเอง ไม่จำเป็นต้องซื้อก็ไม่ซื้อ อย่างเช่น ปุ๋ยหมัก ก็ทำใช้เอง น้ำหมักก็ทำเอง สปริงเกอร์ก็ทำเอง ท่อน้ำก็เลือกใช้ที่ถูกและทนที่สุด ทำอย่างใช้ปัญญาและฝัมือโดยคำนึงถึงว่าคนจนที่มีทุนน้อยจะทำตามไหม การทำอะไรโดยใช้แต่เงินใช้แต่ของดี ของแพง ของสิ้นเปลือง ไม่ยากสำหรับคนมีเงิน แต่ไม่เป็นตัวอย่างที่ดี คงเอาอย่างยาก เพราะเกษตรกรส่วนใหญ่ยังเป็นคนจน และไม่ได้ใช้ฝีมือใช้สมองอะไร
สมณะเสียงศีล ชาตวโร พัฒนาที่เนินพอกินร่วมกับทีมงานไม่ถึง 3 ปี ก็มีผัก ส่งไปเลี้ยงชุมชน จนไม่ต้องซื้อผักจากตลาด ส่วนใหญ่จะเป็นผักพื้นบ้าน เช่น ผักปลัง ผักบุ้ง (มังกรหยก) มะเขือ พริก อีหร่ำ น้ำเต้า ถั่วพลู โหระพา กระเพรา ปลีกล้วย อื่นๆอีกมากมายหลายชนิด กล้วยน้ำว้าจะมีเยอะมาก ยังมีใบหม่อนส่งเจาะวิจัยทำชาใบหม่อนส่งขายจำนวนมาก ยังมีผักพื้นบ้านแปลกๆหลายสิบชนิด เช่น ผักติ้ว ผักแต้ว ผักแม็ก ผักยอดมะตูมซาอุ ฯลฯ อีก 2 – 3 ปี จะมีผลไม้หลายสิบชนิด เช่น มะยงค์ชิด มะปรางหวาน มะม่วงพันธุ์แปลกๆ เงาะ มังคุด ละมุด ลำใย มะเฟือง มะไฟ มะกรูด มะนาวมีหมดที่เนินพอกินได้สะสมพันธุ์กล้วยหายากไว้กว่า 100 ชนิด ใครสนใจศึกษาเรื่องกล้วยก็ไปดูได้ แม้แต่มะพร้าวก็มีเป็นสิบชนิด ทั้งมะพร้าวกะทิ มะพร้าวโบราณ มะพร้าวกินเปลือกได้ มะแพ้ว มะพร้าวพวงร้อย มะพร้าวหลากสี (ลูกสีแดง สีส้ม ฯลฯ) นอกจากเรื่องของผลไม้ต่างๆที่นับวันจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ ยังจะมีเรื่องพลังงานทดแทน ก็จะมีเรื่องของการใช้แสงอาทิตย์ สูบน้ำด้วยระบบของโซล่าเซล ปั่นจักรยานสูบน้ำ ได้ออกกำลังด้วย ได้ประโยชน์ด้วย การทำ Biogas ใช้เอง โดยหมักจากเศษอาหารในครัวเรือน อุปกรณ์รดน้ำอัตโนมัติ นอกจากนี้ยังมีบ้านที่สร้างด้วยดินทั้งหลัง และบ้านที่สร้างด้วยฟางทั้งหลัง นอกจากจะประหยัดและทำได้เองแล้วยังช่วยปรับอุณหภูมิหน้าหนาว ในบ้านจะอุ่น หน้าร้อน ในบ้านจะเย็นสบาย
ปัจจุบันมีอาคารอบรม ที่พัก ห้องน้ำ ห้องส้วม สามารถรับผู้เข้าอบรมได้ถึง 200 คน ในช่วง 2 – 3 ปี ที่ผ่านมา ได้มีการอบรมมาแล้วถึง 4 รุ่น ล่าสุด หลักสูตรพิเศษมีผู้เข้ารับอบรมทั้งหมด ประมาณ 80 คน รวมคณะทำงานก็เกือบ 100 คน อยู่อบรมถึง 6 วัน 5 คืน วันที่ 20 – 25 เมษายน 2553 ก็ประสบผลสำเร็จดีเกินคาด ได้ถ่ายทำออก FM TV ตลอดการอบรม ASTV ก็ยังไปถ่ายทำออกรายการ “คำตอบอยู่ที่แผ่นดิน” ของคุณหมี (ยุทธยงค์ ลิ้นเลิศวาที) มี อบต. ท่าม่วงพัฒนากรอำเภอพาชาวบ้านมาดูการอบรมด้วย นายอำเภอและปลัดอำเภอ อำเภอท่าท่วงยังเคยนิมนต์สมณะเสียงศีล ชาตวโร ไปบรรยายให้แกนนำชาวบ้านฟังบนที่ว่าการอำเภอท่าม่วงด้วยการดำเนินกิจกรรม ปลูกผักผลไม้และสมุนไพร หลายชนิด โดยไม่ใช้สารเคมีทุกชนิด ใช้ปุ๋ยหมักอินทรีย์ น้ำสกัดชีวภาพที่เราทำเอง ลดต้นทุนการผลิต และช่วยเพิ่มผลผลิตได้มากกว่าใช้สารเคมี ทั้งๆ ที่พื้นที่แห้งแล้งกันดารเต็มไปด้วยหิน แต่ผักกลับงดงาม ผลไม้ออกลูกดก รสชาติดี
กระบวนการผลิต
นอกจากจะมีผลไม้ ผัก และพืช สมุนไพร หลายชนิดแล้ว เรายังมีการแปรรูปเป็นน้ำสกัดชีวภาพสมุนไพรหลายสูตร เช่น พลูดาว แก่นตะวัน ว่านชักมดลูก ยอ กระเจี๊ยบแดง กระชายดำ ตรีผลา รวมพลัง ฯลฯ และสมุนไพรชาชง ลูกกลอน แคปซูล อีกหลายชนิดผลิตที่เนินพอกิน
ผลผลิต
ส่วนใหญ่จะเป็นผักพื้นบ้าน เช่น ผักหวาน ก้านตรง ผักบุ้ง มะเขือเปรา ยอ มะกร่ำ หรืออีหร่ำ ฟัก แฟง แตง บวบ ชะอม ถั่วต่างๆ ถั่วพู ผลไม้ก็มี กล้วยหลายชนิด มะละกอ ขนุน มะม่วง มะเม่า มะกรูด มะนาว มะพร้าว มะม่วงหาวมะนาวโห่ สาเก ยังมีผักผลไม้ ใหม่ๆ แปลก ๆ อีกมากมายหลายชนิด
ช่องทางการตลาด
เนื่องจากเนินพอกินเป็นศูนย์การเรียนรู้ฯ มีกลุ่มคนไปศึกษาดูงานเป็นจำนวนมากทุกวัน ผัก ผลไม้ ที่มีส่วนมากขายให้ผู้ที่ไปศึกษาดูงาน จะมีส่งออกตลาดบ้างเล็กน้อย ผัก ผลไม้อีกส่วนหนึ่งก็จะส่งไปเลี้ยงชุมชนปฐมอโศก ซึ่งไม่นิยมซื้อผักผลไม้ จากตลาดที่เต็มไปด้วยสารพิษสารเคมี
ปรัชญา
“ความขาดแคลนไม่ได้เป็นปัญหา ถ้ามีปัญญาและความเพียร”
คติธรรมประจำใจ
“ความสำเร็จของคนเราไม่ได้อยู่ที่ “ผลงาน” หรือ “ความเก่ง” แต่อยู่ที่การเป็นคนมีน้ำใจและคุณธรรมต่างหาก”
ประวัติความเป็นมาและกำลังจะเป็นไปของ “เนินพอกิน”
“เนินพอกิน” ถือกำเนิดกำเนิดขึ้นมาพร้อมๆกับนาแรงรักแรงฝัน เริ่มจากสมณะ สิกขมาตุ และญาติธรรมชาวปฐมอโศก นำโดยคุณหมอฟากฟ้าหนึ่ง อโศกตระกูล ต้องการจะมีพื้นที่ทำการเกษตรของชุมชนปฐมอโศก ครั้งแรกก็ไปได้ที่นาแรงรักแรงฝัน ประมาณ 100 กว่าไร่ ต่อมาก็มาได้ที่เนินพอกินซึ่งอยู่ติดภูเขาอีกประมาณ 110 ไร่ ซึ่งอยู่ห่างจากนาแรงรักแรงฝันประมาณ 4 ก.ม. ซื้อในนามมูลนิธิคนสร้างชาติที่นาแรงรักแรงฝัน เป็นพื้นที่ในเขตชลประทาน มีน้ำอุดมสมบูรณ์จึงเน้นการทำนาเป็นหลัก ส่วนเนินพอกินอยู่ติดภูเขา พื้นที่ส่วนใหญ่มีแต่หิน แห้งแล้งมาก ระบบน้ำจากชลประทานขึ้นไปไม่ถึง ทั้งฝนก็แล้ง ดินก็แข็ง ชาวบ้านแถวนั้นบอกว่าที่นี่ปลูกอะไรไม่ขึ้น แม้แต่ปลูกกล้วยก็ไม่ได้กิน ปลูกได้อย่างเดียวคือยาสูบ เพราะไม่ต้องใช้น้ำมาก อาศัยน้ำค้างก็พออยู่ได้ช่วงที่ชาวปฐมอโศกไปอยู่ใหม่ๆ ก็เป็นที่รกร้าง เหมือนชาวบ้านจะทิ้งแล้ว เพาะปลูกอะไรก็ไม่ได้ผล มีแต่พงหนามและบางพื้นที่เป็นที่โล่ง แม้แต่หญ้าก็ยังไม่ขึ้น ประมาณเดือนธันวาคม ปี 2549 คุณหมอฟากฟ้าหนึ่ง ท่านนาไท สิกขมาตพูนเพียร และผู้สูงวัยของชาวปฐมอโศกได้ไปบุกเบิกปลูกพืช ปลูกผัก ได้ผลดีพอสมควร พื้นที่เนินพอกินเริ่มเขียวไปด้วยผักพืชที่กินได้ ด้วยฝีมือของยายขยันมั่น ยายตะวันเดือน ยายเนียน และตาถึงแก่น ฯลฯ ปลูกหอม กระเทียม หน่อไม้ฝรั่ง พริก มะเขือ บวบ มะละกอ มันแกว ฯลฯ เริ่มปลูกศาลาสร้างที่พัก พัฒนาได้ไม่นานก็เกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้น นั่นก็คือหมอฟากฟ้าหนึ่งผู้นำการบุกเบิกเจออุบัติเหตุ รถเก๋งชนรถปิ๊กอัพ ที่หมอฟากฟ้าหนึ่งนั่งขณะเดินทางกลับปฐมอโศก ถึงกับเสียชีวิต สร้างความเศร้าโศกเสียใจให้กับญาติธรรมชาวอโศกทุกๆคนช่วงที่หมอมีชีวิตอยู่ ทุกครั้งที่เจอหน้ากันจะชวนให้สมณะเสียงศีลชาตวโรไปช่วยพัฒนาที่นาแรงรักแรงฝันและเนินพอกินในฐานะที่มีประสบการณ์ เรื่องเกษตรอินทรีย์มาอย่างยาวนานและอยู่ปฐมอโศกด้วยกัน สมณะเสียงศีลก็ได้แต่รับปากว่าจะไปช่วย และได้ไปเยี่ยมเยียนเป็นครั้งคราว ยังไม่ได้ไปช่วยอย่างเต็มที่เพราะยังมีงานที่ต้องทำอยู่เต็มมือหลายอย่าง พอหมอเสียชีวิตอย่างกระทันหันก็รู้สึกเสียใจ เสียดายที่คนดีๆจากไปเร็ว และยังคิดว่าแล้วงานที่หมอสร้างก่อไว้ใครจะทำต่อ ที่นาแรงรักแรงฝันยังพอมีคนดูแลรับผิดชอบอยู่บ้าง แต่ที่เนินพอกินซึ่งมีพื้นที่กว้างใหญ่ถึง 110 กว่าไร่ ยังมีคนช่วยอยู่น้อย พื้นที่ก็ยังรกร้าง ดินก็แข็ง ปลูกอะไรก็ไม่ค่อยขึ้น นับเป็นงานที่ท้าทายมาก แม้แต่ชาวบ้านที่มาทำงานอยู่ด้วย พอรู้ว่าจะใช้ที่เนินพอกินเป็นพื้นที่ปลูกผัก ปลูกต้นไม้ก็ไม่มั่นใจว่าจะทำได้ เพราะที่นี่เป็นพื้นที่ที่ชาวบ้านขายทิ้งแล้วปลูกอะไรไม่ขึ้น ฝนก็แล้งซ้ำซากมาหลายปีแล้ว ถ้าปลูกเล็กๆน้อยๆ พออยู่พอกินที่นี่ก็พอปลูกได้ แต่ถ้าปลูกในพื้นที่ทั้งหมดคงจะยาก
สมณะเสียงศีล ชาตวโร ได้เริ่มไปอยู่พัฒนาตั้งแต่เดือนเมษายน ปี 2551 สานต่อเจตนารมณ์ของหมอฟากฟ้าหนึ่ง อโศกตระกูล โดยมีคุณยิ่งธรรม อุดมสุข ซึ่งเป็นญาติธรรม ร่วมกับคนงานซึ่งเป็นชาวบ้าน อยู่ใกล้ๆเนินพอกิน ช่วงานอยู่ก่อนแล้ว ประมาณ 5 – 6 คน ร่วมกันวางแผน คิดอ่านค่อยพัฒนาไปทีละขั้นตอนอย่างเป็นระบบและอย่างประโยชน์สูงประหยัดสุด จากประสบการณ์ที่บ่นเพาะมาอย่างยาวนาน ของสมณะเสียงศีลและภูมิปัญญาชาวบ้านของทีมงาน ช่วยกันปรับปรุงบำรุงดิน และจัดระบบน้ำอย่างประหยัด อะไรที่ทำเองได้ก็ทำเอง จะได้เป็นตัวอย่างแก่ผู้มาขอศึกษา ดูงาน เราตั้งใจอยากจะให้ที่นี่เป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชนให้กับชาวบ้านและผู้มาเยี่ยมเยียน รวมทั้งเป็นศูนย์อบรมเศรษฐกิจพอเพียง จึงต้องการเน้นพึ่งตนเอง ไม่จำเป็นต้องซื้อก็ไม่ซื้อ อย่างเช่น ปุ๋ยหมัก ก็ทำใช้เอง น้ำหมักก็ทำเอง สปริงเกอร์ก็ทำเอง ท่อน้ำก็เลือกใช้ที่ถูกและทนที่สุด ทำอย่างใช้ปัญญาและฝัมือโดยคำนึงถึงว่าคนจนที่มีทุนน้อยจะทำตามไหม การทำอะไรโดยใช้แต่เงินใช้แต่ของดี ของแพง ของสิ้นเปลือง ไม่ยากสำหรับคนมีเงิน แต่ไม่เป็นตัวอย่างที่ดี คงเอาอย่างยาก เพราะเกษตรกรส่วนใหญ่ยังเป็นคนจน และไม่ได้ใช้ฝีมือใช้สมองอะไร
สมณะเสียงศีล ชาตวโร พัฒนาที่เนินพอกินร่วมกับทีมงานไม่ถึง 3 ปี ก็มีผัก ส่งไปเลี้ยงชุมชน จนไม่ต้องซื้อผักจากตลาด ส่วนใหญ่จะเป็นผักพื้นบ้าน เช่น ผักปลัง ผักบุ้ง (มังกรหยก) มะเขือ พริก อีหร่ำ น้ำเต้า ถั่วพลู โหระพา กระเพรา ปลีกล้วย อื่นๆอีกมากมายหลายชนิด กล้วยน้ำว้าจะมีเยอะมาก ยังมีใบหม่อนส่งเจาะวิจัยทำชาใบหม่อนส่งขายจำนวนมาก ยังมีผักพื้นบ้านแปลกๆหลายสิบชนิด เช่น ผักติ้ว ผักแต้ว ผักแม็ก ผักยอดมะตูมซาอุ ฯลฯ อีก 2 – 3 ปี จะมีผลไม้หลายสิบชนิด เช่น มะยงค์ชิด มะปรางหวาน มะม่วงพันธุ์แปลกๆ เงาะ มังคุด ละมุด ลำใย มะเฟือง มะไฟ มะกรูด มะนาวมีหมดที่เนินพอกินได้สะสมพันธุ์กล้วยหายากไว้กว่า 100 ชนิด ใครสนใจศึกษาเรื่องกล้วยก็ไปดูได้ แม้แต่มะพร้าวก็มีเป็นสิบชนิด ทั้งมะพร้าวกะทิ มะพร้าวโบราณ มะพร้าวกินเปลือกได้ มะแพ้ว มะพร้าวพวงร้อย มะพร้าวหลากสี (ลูกสีแดง สีส้ม ฯลฯ) นอกจากเรื่องของผลไม้ต่างๆที่นับวันจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ ยังจะมีเรื่องพลังงานทดแทน ก็จะมีเรื่องของการใช้แสงอาทิตย์ สูบน้ำด้วยระบบของโซล่าเซล ปั่นจักรยานสูบน้ำ ได้ออกกำลังด้วย ได้ประโยชน์ด้วย การทำ Biogas ใช้เอง โดยหมักจากเศษอาหารในครัวเรือน อุปกรณ์รดน้ำอัตโนมัติ นอกจากนี้ยังมีบ้านที่สร้างด้วยดินทั้งหลัง และบ้านที่สร้างด้วยฟางทั้งหลัง นอกจากจะประหยัดและทำได้เองแล้วยังช่วยปรับอุณหภูมิหน้าหนาว ในบ้านจะอุ่น หน้าร้อน ในบ้านจะเย็นสบาย
ปัจจุบันมีอาคารอบรม ที่พัก ห้องน้ำ ห้องส้วม สามารถรับผู้เข้าอบรมได้ถึง 200 คน ในช่วง 2 – 3 ปี ที่ผ่านมา ได้มีการอบรมมาแล้วถึง 4 รุ่น ล่าสุด หลักสูตรพิเศษมีผู้เข้ารับอบรมทั้งหมด ประมาณ 80 คน รวมคณะทำงานก็เกือบ 100 คน อยู่อบรมถึง 6 วัน 5 คืน วันที่ 20 – 25 เมษายน 2553 ก็ประสบผลสำเร็จดีเกินคาด ได้ถ่ายทำออก FM TV ตลอดการอบรม ASTV ก็ยังไปถ่ายทำออกรายการ “คำตอบอยู่ที่แผ่นดิน” ของคุณหมี (ยุทธยงค์ ลิ้นเลิศวาที) มี อบต. ท่าม่วงพัฒนากรอำเภอพาชาวบ้านมาดูการอบรมด้วย นายอำเภอและปลัดอำเภอ อำเภอท่าท่วงยังเคยนิมนต์สมณะเสียงศีล ชาตวโร ไปบรรยายให้แกนนำชาวบ้านฟังบนที่ว่าการอำเภอท่าม่วงด้วยการดำเนินกิจกรรม ปลูกผักผลไม้และสมุนไพร หลายชนิด โดยไม่ใช้สารเคมีทุกชนิด ใช้ปุ๋ยหมักอินทรีย์ น้ำสกัดชีวภาพที่เราทำเอง ลดต้นทุนการผลิต และช่วยเพิ่มผลผลิตได้มากกว่าใช้สารเคมี ทั้งๆ ที่พื้นที่แห้งแล้งกันดารเต็มไปด้วยหิน แต่ผักกลับงดงาม ผลไม้ออกลูกดก รสชาติดี
กระบวนการผลิต
นอกจากจะมีผลไม้ ผัก และพืช สมุนไพร หลายชนิดแล้ว เรายังมีการแปรรูปเป็นน้ำสกัดชีวภาพสมุนไพรหลายสูตร เช่น พลูดาว แก่นตะวัน ว่านชักมดลูก ยอ กระเจี๊ยบแดง กระชายดำ ตรีผลา รวมพลัง ฯลฯ และสมุนไพรชาชง ลูกกลอน แคปซูล อีกหลายชนิดผลิตที่เนินพอกิน
ผลผลิต
ส่วนใหญ่จะเป็นผักพื้นบ้าน เช่น ผักหวาน ก้านตรง ผักบุ้ง มะเขือเปรา ยอ มะกร่ำ หรืออีหร่ำ ฟัก แฟง แตง บวบ ชะอม ถั่วต่างๆ ถั่วพู ผลไม้ก็มี กล้วยหลายชนิด มะละกอ ขนุน มะม่วง มะเม่า มะกรูด มะนาว มะพร้าว มะม่วงหาวมะนาวโห่ สาเก ยังมีผักผลไม้ ใหม่ๆ แปลก ๆ อีกมากมายหลายชนิด
ช่องทางการตลาด
เนื่องจากเนินพอกินเป็นศูนย์การเรียนรู้ฯ มีกลุ่มคนไปศึกษาดูงานเป็นจำนวนมากทุกวัน ผัก ผลไม้ ที่มีส่วนมากขายให้ผู้ที่ไปศึกษาดูงาน จะมีส่งออกตลาดบ้างเล็กน้อย ผัก ผลไม้อีกส่วนหนึ่งก็จะส่งไปเลี้ยงชุมชนปฐมอโศก ซึ่งไม่นิยมซื้อผักผลไม้ จากตลาดที่เต็มไปด้วยสารพิษสารเคมี
ระบบการเรียนรู้ และฐานข้อมูล
ได้บันทึกข้อมูล การผลิต ตั้งแต่การเตรียมดินการให้ปุ๋ยอินทรีย์ วิธีปลูก กรบริหารจัดการน้ำอย่งประหยัด บันทึกเป็นภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวมีเสียง บรรยายประกอบในรูป DVD ให้เผยแพร่ทาง FMTV (ทีวีดาวเทียม) เขียนลงในวารสารต่างๆ รวมเล่มเป็นหนังสือก็มีหลายเล่ม
ระบบมาตรฐานความปลอดภัยของผลผลิตทางการเกษตรด้วยชื่อเสียงและความซื่อสัตย์ ซื่อตรง ที่มีมายาวนาน แม้จะไม่มีใบรับรองอย่างเป็นทางการลูกค้าก็มีความเชื่อมั่นว่า ผลผลิตทุกชนิดของเราปลอดภัยไร้สารเคมีทุกชนิดตรวจสอบได้ สินค้าบางชนิด เช่น น้ำสกัดชีวภาพสมุนไพรก็ส่งตรวจที่สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไม่พบสารที่เป็นพิษแม้แต่ชนิดเดียว
ระบบการผลิต และการจัดการกลุ่ม
“เนินพอกิน” มีชาวบ้านที่อยู่ใกล้ๆ มาสมัครทำงานด้วยประมาณ 20 คน มีค่าตอบแทนเป็นค่าแรงตามความสามารถของแต่ละคน ผลผลิตที่ช่วยกันทำก็แบ่งกันกิน แบ่งกันใช้ ทุกคนคือสมาชิกในครอบครัว ไม่ถือเป็นคนงาน สมาชิกทุกคนเป็นกรรมการร่วมกันรับผิดชอบระบบการกระจายสินค้าผลผลิตของเราจำหน่ายอยู่กับที่เป็นส่วนมาก แต่คนมาช่วยซื้อไปจำหน่ายอีกต่อหนึ่ง จะมีบริการส่งทางไปรษณีย์บ้างเล็กๆ น้อยๆ เพราะมีผู้สนใจต้องการสินค้าของเราแต่ไม่สามารถมาซื้อได้ด้วยตนเอง ก็โทรมาสั่งให้ส่งทางไปรษณีย์ เช่น น้ำสกัดชีวภาพสมุนไพร น้ำมันรำข้าว ฯลฯ
ระบบเชื่อมโยงผู้บริโภค
ส่วนมากผู้บริโภคจะบอกกันปากต่อปาก เมื่อนำผลิตภัณฑ์เราไปใช้ได้ผลดี เขาก็จะบอกต่อกับญาติพี่น้อง ซึ่งเป็นเครื่องพิสูจน์คุณภาพสินค้าของเราด้วย โดยไม่ต้องอาศัยการโฆษณา เอาทุนที่จะใช้ในการโฆษณามาปรับปรุงสินค้าให้ดี และราคาถูกจะดีกว่า
ได้บันทึกข้อมูล การผลิต ตั้งแต่การเตรียมดินการให้ปุ๋ยอินทรีย์ วิธีปลูก กรบริหารจัดการน้ำอย่งประหยัด บันทึกเป็นภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวมีเสียง บรรยายประกอบในรูป DVD ให้เผยแพร่ทาง FMTV (ทีวีดาวเทียม) เขียนลงในวารสารต่างๆ รวมเล่มเป็นหนังสือก็มีหลายเล่ม
ระบบมาตรฐานความปลอดภัยของผลผลิตทางการเกษตรด้วยชื่อเสียงและความซื่อสัตย์ ซื่อตรง ที่มีมายาวนาน แม้จะไม่มีใบรับรองอย่างเป็นทางการลูกค้าก็มีความเชื่อมั่นว่า ผลผลิตทุกชนิดของเราปลอดภัยไร้สารเคมีทุกชนิดตรวจสอบได้ สินค้าบางชนิด เช่น น้ำสกัดชีวภาพสมุนไพรก็ส่งตรวจที่สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไม่พบสารที่เป็นพิษแม้แต่ชนิดเดียว
ระบบการผลิต และการจัดการกลุ่ม
“เนินพอกิน” มีชาวบ้านที่อยู่ใกล้ๆ มาสมัครทำงานด้วยประมาณ 20 คน มีค่าตอบแทนเป็นค่าแรงตามความสามารถของแต่ละคน ผลผลิตที่ช่วยกันทำก็แบ่งกันกิน แบ่งกันใช้ ทุกคนคือสมาชิกในครอบครัว ไม่ถือเป็นคนงาน สมาชิกทุกคนเป็นกรรมการร่วมกันรับผิดชอบระบบการกระจายสินค้าผลผลิตของเราจำหน่ายอยู่กับที่เป็นส่วนมาก แต่คนมาช่วยซื้อไปจำหน่ายอีกต่อหนึ่ง จะมีบริการส่งทางไปรษณีย์บ้างเล็กๆ น้อยๆ เพราะมีผู้สนใจต้องการสินค้าของเราแต่ไม่สามารถมาซื้อได้ด้วยตนเอง ก็โทรมาสั่งให้ส่งทางไปรษณีย์ เช่น น้ำสกัดชีวภาพสมุนไพร น้ำมันรำข้าว ฯลฯ
ระบบเชื่อมโยงผู้บริโภค
ส่วนมากผู้บริโภคจะบอกกันปากต่อปาก เมื่อนำผลิตภัณฑ์เราไปใช้ได้ผลดี เขาก็จะบอกต่อกับญาติพี่น้อง ซึ่งเป็นเครื่องพิสูจน์คุณภาพสินค้าของเราด้วย โดยไม่ต้องอาศัยการโฆษณา เอาทุนที่จะใช้ในการโฆษณามาปรับปรุงสินค้าให้ดี และราคาถูกจะดีกว่า
มีอะไรที่น่าศึกษาเรียนรู้ที่เนินพอกิน
1. การจัดการระบบน้ำอย่างประหยัด ใช้วัสดุอย่างประหยัด ใช้น้ำอย่างประหยัด
2. วิธีปรับปรุงบำรุงดิน โดยใช้สิ่งที่มีในท้องที่ ไม่จำเป็นต้องซื้อปุ๋ย
3. ศึกษาผักพื้นบ้านที่มากไปด้วยคุณค่าอาหาร ขึ้นง่าย โตเร็ว ไม่มีโรคแมลงรบกวน ทนแล้ง เรามีหลายสิบชนิด
4. เทคนิคการปลูกพืชให้รอด ในช่วงฤดูแล้งและร้อนจัด
5. วิธีให้ปุ๋ยน้ำ หรือ น้ำหมักชีวภาพให้ทั่วพื้นที่ 100 กว่าไร่ ด้วยวิธีง่ายๆและรวดเร็ว
6. ศึกษาเรื่องพลังงานทดแทน นำมาใช้กับการเกษตรเช่น แผ่นโซล่าเซล นำพลังงานแสงแดดมาสูบน้ำจากสระน้ำขึ้นที่สูงได้ และดูปั่นจักรยานสูบน้ำจากสระรดผักได้ ดูตัวอย่างกังหันลมผลิตไฟฟ้าและสูบน้ำได้
7. ศึกษาเรื่องราวและดูตัวอย่างของบ้านดืน (บ้านที่ปั้นด้วยดินทั้งหลัง) ประหยัดค่าก่อสร้างและควบคุณอุณหภูมิ หน้าร้อนก็เย็น หน้าหนาวก็อุ่น พิสูจน์บ้านฟางข้าว (บ้านที่สร้างด้วยฟางข้าว และฉาบด้วยดิน ไม่กลัวลม ฝน และไฟ ทนทานและอุณหภูมิในบ้านฟางจะลดกว่าอุณหภูมิภายนิกถึง 6 องศาเซลเซียส โดยไม่ต้องใช้พัดลมหรือเครื่องปรับอากาศ เหมาะกับประเทศที่มีอากาศร้อนอย่างบ้านเรา)
8. ที่เนินพอกินรวบรวมกล้วยพันธุ์แปลกๆ ไว้ร้อยกว่าชนิดและกำลังจะมีเพิ่มอยู่เรื่อยๆทั้งพันธุ์กล้วยที่มีในประเทศไทยและต่างประเทศ
9. มีมะพร้าวหลายหลายสายพันธุ์ เช่นมะพร้าวโบราณ , มะแพ้ว , มะพร้าวกะทิน้ำหอม , มะพร้าวเปลือกนิ่ม (กินเปลือกได้) , มะพร้าวพวงร้อย , มะพร้าวหลากสี (มีสีแดงและสีส้ม) ฯลฯ
10. มีมะนาวพันธุ์ดี ลูกใหญ่ น้ำเยอะ น้ำหอม เป็นพันธุ์เดียวที่ต้านเชื้อรา ไม่ต้องฉีดยาป้องกันเชื้อรา ลูกกลมสวย ไม่มีรา สนิมขึ้น ผลมะนาว สามารถบังคับให้ออกนอกฤดู ทำให้มะนาวได้ราคาดี
11. ดูเทคนิคการตอนมะละกอ ทำให้มะละกอต้นเตี้ย ลูกดก ไม่กลายพันธุ์ และเทคนิคการคัดเมล็ดพันธุ์ให้ได้เมล็ดพันธุ์ตัวเมีย ถ้าได้ต้นเป็นตัวผู้ (จะไม่มีลูก) ก็มีวิธีแก้ทำให้เป็นต้นตัวเมียหรือเป็นกระเทยจึงจะมีลูกโดยไม้ต้องตัดต้นทิ้ง
12. ศึกษาพันธุ์ไม้แปลกๆ หายาก นับร้อยชนิด รวมทั้งสมุนไพรและผักพื้นบ้านที่คนรุ่นใหม่ไม่รู้จัก
13. ศึกษาเรื่องการผลิต Biogas ใช้เอง โดยใช้มูลสัตว์และเศษอาหารที่มีเหลืออยู่ทุกวัน พอใช้ในครอบครัว ไม่ต้องซื้อแก๊ส ลงทุนน้อย ทำเองก็ได้
14. มีหม่อนพันธุ์ลูกดก ออกลูกทั้งปี ไม่ต้องรอฤดูกาล
15. มีพันธุ์ไม้และเมล็ดพันธุ์จำหน่ายราคาถูก
16. มีสื่อให้ความรู้ทั้งหนังสือ และ VCD ของชมรมเพื่อนช่วยเพื่อน มีนับร้อยนับพันเรื่อง เป็นศูนย์รวมสื่อความรู้ที่มากที่สุด แม้แต่หน่วยราชการองค์กรต่างๆก็นำสื่อของเราไปเผยแพร่ เช่น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธกส. สั่งผลิตเป็นอัลบั้ม 100 เล่ม ใน 1 อัลบั้ม มี 101 แผ่น และกรมส่งเสริมการเกษตรก็ผลิตเป็นสื่อต้นแบบและเป็นอัลบั้มเผยแพร่ในโครงการสื่อต้นแบบและเป็นอัลบั้มเผยแพร่ในโครงการสื่อความรู้ทางไกล ฯลฯ
17. เนินพอกินเปิดเป็นศูนย์เรียนรู้ อบรมเป็นครั้งคราว รับได้รุ่นละไม่เกิน 100 คน เปิดอบรมมาแล้วหลายรุ่น มีวิทยากรที่มีประสบผลสำเร็จ มีชื่อเสียง มีประสบการณ์ให้ความรู้มากมายหลายท่าน
18. ที่เนินพอกินมีสื่อเผยแพร่ มีวิทยุชุมชน คลื่น FM 104.25 MHz และกำลังจะมี TV ชุมชนในเร็วๆนี้
19. ทีมงานและวิทยากรส่วนใหญ่จะเป็นทีมงานเดียวกับชมรมเพื่อนช่วยเพื่อนอินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมานานกว่า 10 ปี ได้ช่วยอบรมช่วยเกษตรกรหมดหนี้ เลิกอบายมุข เลิกใช้สารเคมี มาหลายครอบครัว หลายจังหวัด
1. การจัดการระบบน้ำอย่างประหยัด ใช้วัสดุอย่างประหยัด ใช้น้ำอย่างประหยัด
2. วิธีปรับปรุงบำรุงดิน โดยใช้สิ่งที่มีในท้องที่ ไม่จำเป็นต้องซื้อปุ๋ย
3. ศึกษาผักพื้นบ้านที่มากไปด้วยคุณค่าอาหาร ขึ้นง่าย โตเร็ว ไม่มีโรคแมลงรบกวน ทนแล้ง เรามีหลายสิบชนิด
4. เทคนิคการปลูกพืชให้รอด ในช่วงฤดูแล้งและร้อนจัด
5. วิธีให้ปุ๋ยน้ำ หรือ น้ำหมักชีวภาพให้ทั่วพื้นที่ 100 กว่าไร่ ด้วยวิธีง่ายๆและรวดเร็ว
6. ศึกษาเรื่องพลังงานทดแทน นำมาใช้กับการเกษตรเช่น แผ่นโซล่าเซล นำพลังงานแสงแดดมาสูบน้ำจากสระน้ำขึ้นที่สูงได้ และดูปั่นจักรยานสูบน้ำจากสระรดผักได้ ดูตัวอย่างกังหันลมผลิตไฟฟ้าและสูบน้ำได้
7. ศึกษาเรื่องราวและดูตัวอย่างของบ้านดืน (บ้านที่ปั้นด้วยดินทั้งหลัง) ประหยัดค่าก่อสร้างและควบคุณอุณหภูมิ หน้าร้อนก็เย็น หน้าหนาวก็อุ่น พิสูจน์บ้านฟางข้าว (บ้านที่สร้างด้วยฟางข้าว และฉาบด้วยดิน ไม่กลัวลม ฝน และไฟ ทนทานและอุณหภูมิในบ้านฟางจะลดกว่าอุณหภูมิภายนิกถึง 6 องศาเซลเซียส โดยไม่ต้องใช้พัดลมหรือเครื่องปรับอากาศ เหมาะกับประเทศที่มีอากาศร้อนอย่างบ้านเรา)
8. ที่เนินพอกินรวบรวมกล้วยพันธุ์แปลกๆ ไว้ร้อยกว่าชนิดและกำลังจะมีเพิ่มอยู่เรื่อยๆทั้งพันธุ์กล้วยที่มีในประเทศไทยและต่างประเทศ
9. มีมะพร้าวหลายหลายสายพันธุ์ เช่นมะพร้าวโบราณ , มะแพ้ว , มะพร้าวกะทิน้ำหอม , มะพร้าวเปลือกนิ่ม (กินเปลือกได้) , มะพร้าวพวงร้อย , มะพร้าวหลากสี (มีสีแดงและสีส้ม) ฯลฯ
10. มีมะนาวพันธุ์ดี ลูกใหญ่ น้ำเยอะ น้ำหอม เป็นพันธุ์เดียวที่ต้านเชื้อรา ไม่ต้องฉีดยาป้องกันเชื้อรา ลูกกลมสวย ไม่มีรา สนิมขึ้น ผลมะนาว สามารถบังคับให้ออกนอกฤดู ทำให้มะนาวได้ราคาดี
11. ดูเทคนิคการตอนมะละกอ ทำให้มะละกอต้นเตี้ย ลูกดก ไม่กลายพันธุ์ และเทคนิคการคัดเมล็ดพันธุ์ให้ได้เมล็ดพันธุ์ตัวเมีย ถ้าได้ต้นเป็นตัวผู้ (จะไม่มีลูก) ก็มีวิธีแก้ทำให้เป็นต้นตัวเมียหรือเป็นกระเทยจึงจะมีลูกโดยไม้ต้องตัดต้นทิ้ง
12. ศึกษาพันธุ์ไม้แปลกๆ หายาก นับร้อยชนิด รวมทั้งสมุนไพรและผักพื้นบ้านที่คนรุ่นใหม่ไม่รู้จัก
13. ศึกษาเรื่องการผลิต Biogas ใช้เอง โดยใช้มูลสัตว์และเศษอาหารที่มีเหลืออยู่ทุกวัน พอใช้ในครอบครัว ไม่ต้องซื้อแก๊ส ลงทุนน้อย ทำเองก็ได้
14. มีหม่อนพันธุ์ลูกดก ออกลูกทั้งปี ไม่ต้องรอฤดูกาล
15. มีพันธุ์ไม้และเมล็ดพันธุ์จำหน่ายราคาถูก
16. มีสื่อให้ความรู้ทั้งหนังสือ และ VCD ของชมรมเพื่อนช่วยเพื่อน มีนับร้อยนับพันเรื่อง เป็นศูนย์รวมสื่อความรู้ที่มากที่สุด แม้แต่หน่วยราชการองค์กรต่างๆก็นำสื่อของเราไปเผยแพร่ เช่น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธกส. สั่งผลิตเป็นอัลบั้ม 100 เล่ม ใน 1 อัลบั้ม มี 101 แผ่น และกรมส่งเสริมการเกษตรก็ผลิตเป็นสื่อต้นแบบและเป็นอัลบั้มเผยแพร่ในโครงการสื่อต้นแบบและเป็นอัลบั้มเผยแพร่ในโครงการสื่อความรู้ทางไกล ฯลฯ
17. เนินพอกินเปิดเป็นศูนย์เรียนรู้ อบรมเป็นครั้งคราว รับได้รุ่นละไม่เกิน 100 คน เปิดอบรมมาแล้วหลายรุ่น มีวิทยากรที่มีประสบผลสำเร็จ มีชื่อเสียง มีประสบการณ์ให้ความรู้มากมายหลายท่าน
18. ที่เนินพอกินมีสื่อเผยแพร่ มีวิทยุชุมชน คลื่น FM 104.25 MHz และกำลังจะมี TV ชุมชนในเร็วๆนี้
19. ทีมงานและวิทยากรส่วนใหญ่จะเป็นทีมงานเดียวกับชมรมเพื่อนช่วยเพื่อนอินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมานานกว่า 10 ปี ได้ช่วยอบรมช่วยเกษตรกรหมดหนี้ เลิกอบายมุข เลิกใช้สารเคมี มาหลายครอบครัว หลายจังหวัด
ทำเนียบวิทยากร
• สมณะเสียงศีล ชาตวโร
วิทยากรฝ่ายบริหาร และให้ความรู้พิเศษ ผู้ทรงภูมิปัญญาปราชญ์ชาวบ้าน นำเข้าสู่กิจกรรมภาคศาสนา เช่นทำวัตรเช้า เทศน์พิเศษ และให้คำปรึกษาด้านอื่นๆ
• สมณะนึกนบ ฉันทโส
วิทยากรที่แนะนำให้รู้จักใช้ภูมิปัญญาในการพึ่งตนเอง ในเรื่องการปรุงรสอาหาร การถนอมอาหาร และการแปรรูปอาหาร รวมทั้งแนะนำสูตรต่างๆ ในการประกอบอาหารให้มีคุณค่าทางยารักษาโรค
• อ.สามารถ หนูทอง
จากสุพรรณบุรีวิทยากรพิเศษ เชี่ยวชาญด้านกสิกรรมไร้สารพิษแบบครบวงจร ให้ความรู้เรื่องกสิกรรมไร้สารพิษ และการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในภาคกสิกรรม
• คุณนันท์ ภักดี จากอาศรมพลังงาน
วิทยากรพิเศษ เชี่ยวชาญด้านพลังงานทดแทน ให้ความรู้เรื่องพลังงานทดแทนที่ไม่ต้องพึ่งพาน้ำมัน โดยการใช้น้ำมันพืชแทนและพลังงานแสงอาทิตย์
อ.โรจน์อนันต์ รัตนรังสฤษฏ์ จากสุโขทัย
วิทยากรพิเศษที่มากความสามารถ มาให้ความรู้เรื่องของสมุนไพรไล่แมลงสูตรชาวบ้าน และการเพาะถั่วงอกชุดเล็กและอื่นๆ อีกมากมาย
• ร.ต.อ.สามารถ นารถสูงเนิน จากโคราช
อาจารย์พิเศษ เชี่ยวชาญด้านปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ เกษตรอินทรีย์ และการทำน้ำหมักสูตรต่างๆ
• อ.อำนวย จ่างสกุล
อาจารย์พิเศษปราชญ์ชาวบ้าน เชี่ยวชาญหลายด้าน ให้ความรู้เรื่องการเผาถ่านทำน้ำส้มควันไม้ การตัดต่อกิ่ง ทาบกิ่งผลไม้นานาชนิด และสิ่งประดิษฐ์อีกมากมาย
• คุณวีระยุทธ์ ศรีเลอจันทร์ (ทอง ธรรมดา)
วิทยากรพิเศษ ให้ความรู้เรื่องของการทำบ้านดิน และบ้านฟาง นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวันในการพึ่งตนเอง
• คุณโจน จันได
อาจารย์พิเศษ เชี่ยวชาญด้านปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ เกษตรอินทรีย์ และการทำน้ำหมักสูตรต่างๆ
• คุณวินากร สิทธิพันธุ์
วิทยากรประจำศูนย์ปราชญ์ชาวบ้านที่อินทร์บุรี มาให้ความรู้ด้านการทำสบู่ และแชมพูสมุนไพร น้ำยาล้างจาน น้ำยาอเนกประสงค์ และดูแลด้านการพยาบาล
• คุณสุชาติ ศรีเลอจันทร์
วิทยากรพิเศษ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องของการขยายพันธุ์ไม้ การทาบกิ่งเสียบกิ่งไม้ดอกไม้ประดับให้ออกดอกสวยงาม
พิธีกรประจำศูนย์ฝึก
•คุณยิ่งธรรม อุดมสุข
วิทยากรประจำศูนย์อบรมเนินพอกิน ให้ความรู้เรื่องการใช้สมุนไพร กำจัดแมลง การควบคุมโรคพืช เรื่องพลังงานแก๊สชีวภาพ (Bio gas) และเรื่องการปลูกพืชในพื้นที่จำกัด
•คุณขอบฟ้า ศรีสุข จากปฐมอโศก
วิทยากรประจำศูนย์ฝึก ให้ความรู้เรื่องการเพาะถั่วงอก ระบบตัดราก การนำเทคโนโลยี มาใช้ในการรดน้ำถั่วงอก และการทำจุลินทรีย์เพื่อใช้ในภาคเกษตร
•คุณต้นฝัน แสงอาทิตย์ จากสันติโศก
พิธิกรประจำศูยน์ฝึกให้ความรู้เรื่องของอาหารมังสวิรัติ และเพื่อสุขภาพ ฝ่ายสันทนาการ และบริการพยาบาล
•คุณนพพล จรัสวิไกรกุล จากปฐมอโศก
วิทยากรประจำศูนย์ฝึก ให้ความรู้เรื่องการเพาะถั่วงอก และเป็นพิธีกรฝ่ายสันทนาการ ประจำศูนย์อบรม
วินัย 10 ข้อ สำหรับการฝึกอบรม
1. ไม่นำอาหารข้างนอกเข้ามารับประทานในช่วงระยะเวลาการอบรม
2. ไม่ทานอาหารนอกมื้อจากที่แม่ครัวจัดให้ ยกเว้นกรณีป่วย ต้องทานยา
3. ไม่กักตุนหรือนำอาหาร เข้าไปรับประทานในที่พัก เพราะจะทำให้ได้รับความเดือนร้อนเรื่องมดแมลงต่างๆ
4. ถือศีล 5 ข้อ ในช่วงระยะเวลาการเข้ารับการฝึกอบรม เช่น
o ไม่นำสุรา เหล้า เบียร์ เข้ามารับประทาน
o ไม่เล่นการพนันทุกประเภทในสถานที่อบรม
o ไม่ละเมิดศีลสำคัญข้ออื่นๆ ที่ทำให้เสื่อมเสียแก่ทางชมรม
5. ไม่กินเนื้อสัตว์ตลอดระยะเวลาการฝึกอบรม ทางศูนย์ฝึกฯ มีอาหารให้ครบตามเวลา 3 มื้อ
6. ไม่สูบบุหรี่ในที่พักและในห้องอบรมและสถานที่โดยรอบที่ไปรบกวนบุคคลอื่น
7. ไม่คุยโทรศัพท์ขณะกำลังอบรม ถ้าจะคุยให้ออกไปคุยนอกห้องอบรม หรือไม่รบกวนผู้อื่นในช่วงอบรม
8. เพื่อตรงตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ทุกคนต้องพึ่งตนเองให้ได้มากที่สุด เช่น การล้างแก้วล้างจาน ของตนเอง หลังรับประทานอาหารเสร็จ
9. ไม่ออกนอกสถานที่ถ้าไม่จำเป็น หรือต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ ถ้ามีความจำเป็น
10. เนื่องจากทางศูนย์ฝึกอบรม ต้องการให้ผู้เข้ารับการอบรมมีส่วนร่วมในงานอบรม ตรงตามหลักสูตรกิจกรรม 5 ส. จึงจำเป็นต้องจัดกลุ่มทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย โดยแบ่งหน้าที่ตามกิจกรรมตามช่วงเวลา เช่น การจัดเวรขัดห้องน้ำ เปลี่ยนน้ำล้างแก้วล้างจาน กวาดถูที่ประชุม ทำความสะอาดที่พัก และ เวรยกอาหารเป็นต้น ทั้งนี้จะจัดเป็นสีๆ แต่ละวัน จะแจ้งให้ทราบเป็นวันๆ ไป (*ทุกคนต้องมีวินัยพื้นฐานสำคัญคือ ตรงต่อเวลา สัญญาณเพลงเรียกต้องเข้าห้องประชุมพร้อมหน้ากัน)
กิจกรรมต่างๆ
1. การทำบ้านดิน สมณะนึกนบ ฉันทโสและคุณโจน จันได
2. การทำบ้านฟาง คุณโจน จันได
3. เครื่องรดน้ำถั่วงอกอัตโนมัติ อ.สามารถ หนูทอง
4. การเพาะถั่วงอกตัดราก ชุดเล็ก คุณนพพลและอาจารย์สามารถ
5. พลังงานทดแทน คุณนันท์ ภักดี
6. การขยายพันธุ์ไม้ คุณสุชาติ ศรีเลอจันทร์
7. การทำสมุนไพรไล่แมลง อาจารย์โรจน์อนันต์
8. Biogas คุณยิ่งธรรม
9. ASTV ถ่ายทำรายการ“คำตอบของแผ่นดิน”
ที่ตั้ง
49 หมู่ 6 บ้านช่องไม้ลัด ต.เขาน้อย อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี 71110
โทร. 081-8356108
E-mail: wn_ployk@hotmail.com
ระบบสื่อสารและประชาสัมพันธ์
อาจารย์พิเศษ เชี่ยวชาญด้านปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ เกษตรอินทรีย์ และการทำน้ำหมักสูตรต่างๆ
• คุณวินากร สิทธิพันธุ์
วิทยากรประจำศูนย์ปราชญ์ชาวบ้านที่อินทร์บุรี มาให้ความรู้ด้านการทำสบู่ และแชมพูสมุนไพร น้ำยาล้างจาน น้ำยาอเนกประสงค์ และดูแลด้านการพยาบาล
• คุณสุชาติ ศรีเลอจันทร์
วิทยากรพิเศษ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องของการขยายพันธุ์ไม้ การทาบกิ่งเสียบกิ่งไม้ดอกไม้ประดับให้ออกดอกสวยงาม
พิธีกรประจำศูนย์ฝึก
•คุณยิ่งธรรม อุดมสุข
วิทยากรประจำศูนย์อบรมเนินพอกิน ให้ความรู้เรื่องการใช้สมุนไพร กำจัดแมลง การควบคุมโรคพืช เรื่องพลังงานแก๊สชีวภาพ (Bio gas) และเรื่องการปลูกพืชในพื้นที่จำกัด
•คุณขอบฟ้า ศรีสุข จากปฐมอโศก
วิทยากรประจำศูนย์ฝึก ให้ความรู้เรื่องการเพาะถั่วงอก ระบบตัดราก การนำเทคโนโลยี มาใช้ในการรดน้ำถั่วงอก และการทำจุลินทรีย์เพื่อใช้ในภาคเกษตร
•คุณต้นฝัน แสงอาทิตย์ จากสันติโศก
พิธิกรประจำศูยน์ฝึกให้ความรู้เรื่องของอาหารมังสวิรัติ และเพื่อสุขภาพ ฝ่ายสันทนาการ และบริการพยาบาล
•คุณนพพล จรัสวิไกรกุล จากปฐมอโศก
วิทยากรประจำศูนย์ฝึก ให้ความรู้เรื่องการเพาะถั่วงอก และเป็นพิธีกรฝ่ายสันทนาการ ประจำศูนย์อบรม
วินัย 10 ข้อ สำหรับการฝึกอบรม
1. ไม่นำอาหารข้างนอกเข้ามารับประทานในช่วงระยะเวลาการอบรม
2. ไม่ทานอาหารนอกมื้อจากที่แม่ครัวจัดให้ ยกเว้นกรณีป่วย ต้องทานยา
3. ไม่กักตุนหรือนำอาหาร เข้าไปรับประทานในที่พัก เพราะจะทำให้ได้รับความเดือนร้อนเรื่องมดแมลงต่างๆ
4. ถือศีล 5 ข้อ ในช่วงระยะเวลาการเข้ารับการฝึกอบรม เช่น
o ไม่นำสุรา เหล้า เบียร์ เข้ามารับประทาน
o ไม่เล่นการพนันทุกประเภทในสถานที่อบรม
o ไม่ละเมิดศีลสำคัญข้ออื่นๆ ที่ทำให้เสื่อมเสียแก่ทางชมรม
5. ไม่กินเนื้อสัตว์ตลอดระยะเวลาการฝึกอบรม ทางศูนย์ฝึกฯ มีอาหารให้ครบตามเวลา 3 มื้อ
6. ไม่สูบบุหรี่ในที่พักและในห้องอบรมและสถานที่โดยรอบที่ไปรบกวนบุคคลอื่น
7. ไม่คุยโทรศัพท์ขณะกำลังอบรม ถ้าจะคุยให้ออกไปคุยนอกห้องอบรม หรือไม่รบกวนผู้อื่นในช่วงอบรม
8. เพื่อตรงตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ทุกคนต้องพึ่งตนเองให้ได้มากที่สุด เช่น การล้างแก้วล้างจาน ของตนเอง หลังรับประทานอาหารเสร็จ
9. ไม่ออกนอกสถานที่ถ้าไม่จำเป็น หรือต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ ถ้ามีความจำเป็น
10. เนื่องจากทางศูนย์ฝึกอบรม ต้องการให้ผู้เข้ารับการอบรมมีส่วนร่วมในงานอบรม ตรงตามหลักสูตรกิจกรรม 5 ส. จึงจำเป็นต้องจัดกลุ่มทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย โดยแบ่งหน้าที่ตามกิจกรรมตามช่วงเวลา เช่น การจัดเวรขัดห้องน้ำ เปลี่ยนน้ำล้างแก้วล้างจาน กวาดถูที่ประชุม ทำความสะอาดที่พัก และ เวรยกอาหารเป็นต้น ทั้งนี้จะจัดเป็นสีๆ แต่ละวัน จะแจ้งให้ทราบเป็นวันๆ ไป (*ทุกคนต้องมีวินัยพื้นฐานสำคัญคือ ตรงต่อเวลา สัญญาณเพลงเรียกต้องเข้าห้องประชุมพร้อมหน้ากัน)
กิจกรรมต่างๆ
1. การทำบ้านดิน สมณะนึกนบ ฉันทโสและคุณโจน จันได
2. การทำบ้านฟาง คุณโจน จันได
3. เครื่องรดน้ำถั่วงอกอัตโนมัติ อ.สามารถ หนูทอง
4. การเพาะถั่วงอกตัดราก ชุดเล็ก คุณนพพลและอาจารย์สามารถ
5. พลังงานทดแทน คุณนันท์ ภักดี
6. การขยายพันธุ์ไม้ คุณสุชาติ ศรีเลอจันทร์
7. การทำสมุนไพรไล่แมลง อาจารย์โรจน์อนันต์
8. Biogas คุณยิ่งธรรม
9. ASTV ถ่ายทำรายการ“คำตอบของแผ่นดิน”
ที่ตั้ง
49 หมู่ 6 บ้านช่องไม้ลัด ต.เขาน้อย อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี 71110
โทร. 081-8356108
E-mail: wn_ployk@hotmail.com
ระบบสื่อสารและประชาสัมพันธ์
อาศัยสื่อทางอินเตอร์เน็ต เช่นดูจาก www.youtube.com พิมพ์ “เนินพอกิน”
หรือเปิดดูจาก www.google.co.th พิมพ์ “เนินพอกิน” ก็จะพบข้อมูลของเนินพอกิน ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆมากมาย
หรือ facebook ก็จะทราบข้อมูลใหม่ ๆ มากมาย
หรือดูจาก FMTV ทุกวันเวลา 15.00 – 16.00 น.
หรือเปิดดูจาก www.google.co.th พิมพ์ “เนินพอกิน” ก็จะพบข้อมูลของเนินพอกิน ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆมากมาย
หรือ facebook ก็จะทราบข้อมูลใหม่ ๆ มากมาย
หรือดูจาก FMTV ทุกวันเวลา 15.00 – 16.00 น.
ขอบพระคุณข้อมูล
http://foodsafetythai.com/
http://nernporkin.wittycomputer.com
http://nernporkin.wittycomputer.com