ถ้ำเชลยศึก อ.ไทรโยค

ถ้ำเชลยศึก อ.ไทรโยค
   ถ้ำเชลยฯ
นอกจากจะเป็นถ้ำที่มีความสวยงามแล้วยังเป็นถ้ำที่มีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ถ้ำเชลย ตั้งอยู่ ม.10 ต.ลุ่มสุ่ม อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี อยู่ก่อนถึงถ้ำกระแซ ''ทางรถไฟสายมรณะ'' ด้านหน้ามีทางรถไฟตัดผ่านเป็นทางรถไฟที่มุ่งหน้ายังถ้ำกระแซ ซึ่งเป็นจุดที่สร้างทางรถไฟเลาะริมหน้าผาเป็นจุดที่ยากที่สุดมีเชลยศึกล้มตายดั่งใบไม้ล่วงทั้งสองจุดอยู่ห่างกัน 1 กม. บริเวณถ้ำเชลยเป็นค่ายพักของเชลยศึกฝ่ายพันธมิตร ส่วนใหญ่เป็นชาวอังกฤษ ออสเตรเลีย เนเธอแลนด์ และพวกเชลยศึกจะใช้ถ้ำแห่งนี้เป็นที่หลบภัยจากการทิ้งระเบิดของเครื่องบินฝ่ายพันธมิตร  ถ้ำเชลยมีประวัติที่น่าสนใจในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 มีความสวยงาม แสงจากด้านบนส่องมากระทบฝาผนังถ้ำเห็นรูปทรงหินงอกหินย้อยสวยงามด้านหน้าถ้ำเชลย มีทางรถไฟตัดผ่านมุ่งหน้าไปสู่ทางรถไฟสายมรณะถ้ำกระแซ ที่มีชื่อเสียงซึ่งอยู่ห่างออกไป 1 กม. ด้านหน้าเป็นอาคารพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ฯ สงครามโลก ครั้งที่ 2 ทางขึ้นถ้ำเชลยอยู่ทางขวามือ ไม่มีร้านอาหารและน้ำเหมือนสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆทางไปถ้ำเชลยจะเดินขึ้นเขาที่มีความลาดชันราว 45 องศา เพื่อชมถ้ำที่อยู่บนยอดเขาระยะทาง 400 เมตร ทางเดินเป็นบันไดคอนกรีต จากพื้นด้านล่างขึ้นไปบนเขาราว 200 เมตร จากนั้นเป็นทางเดินป่าธรรมชาติอีก 200 เมตร

ถ้ำเชลยศึก
   ซึ่งบริเวณป่าแห่งนี้เป็นป่าชุมชนเฉลิมพระเกียรติ ลักษณะเป็นป่าโปร่งป่าไผ่รวกปากถ้ำกว้าง เป็นลักษณะห้องโถงใหญ่ มีบันไดลงไปด้านล่างเดินลงบันไดจากปากถ้ำจะเผยให้เห็นความอลังการสวยงามของหินงอกหินย้อยเมื่อ พ.ศ. 2484 ถึง พ.ศ. 2485 สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นได้ก่อสร้างทางรถไฟจากประเทศไทยไปประเทศพม่าและอินเดียระยะทางกว่า 400 กม. เพื่อใช้ขนส่งกองทหารและอาวุธยุทโธปกรณ์จากไทยไป ยุโรป ญี่ปุ่นได้จับเชลยศึกฝ่ายพันธมิตรได้ในประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย ส่วนใหญ่เป็นชาวอังกฤษ ออสเตรเลีย เนเธอแลนด์ และเกณฑ์พลเรือนแถบเอเซีย กว่าสองแสนคน เพื่อสร้างทางรถไฟให้เสร็จภายใน 1 ปี เมืองกาญจนบุรีเป็นชัยภูมิสำคัญในการสร้างทางรถไฟเพื่อนำพากองทัพญี่ปุ่นบุกรบไปยึดประเทศในทวีปยุโรปเพราะระยะทางจากอ่าวไทยไปถึงพม่าไม่ไกล และสภาพพื้นที่เป็นป่าเขาเหมาะแก่การบดบังอำพรางกองทัพ เพื่อหลบหลีกจากการถูกโจมตีกองทัพที่เดินทางโดยเรือทางทะเล ด้วยเครื่องบินทิ้งระเบิดจากฝ่ายพันธมิตรได้เป็นอย่างดี ค่ายเชลยถูกสร้างขึ้นตลอดเส้นทางรถไฟตัดผ่าน เชลยศึกนับแสนคนที่ถูกทหารญี่ปุ่นเกณฑ์มาสร้างทางรถไฟสายนี้ ต้องทนทุกข์ทรมานจากโรคภัย ไข้เจ็บ ไข้ป่าหรือไข้มาลาเรีย โรคอหิวาต์ตายกันทุกวันดังใบไม้ร่วง ที่เหลือก็ถูกบังคับทำงานอย่างหนัก เพื่อเร่งสร้างทางรถไฟให้เสร็จทันในเวลา 1 ปี บริเวณนี้เป็นค่ายเชลยขนาดใหญ่ และพักอยู่นานเพื่อสร้างสะพานถ้ำกระแซที่ยากลำบากระหว่างการสร้างทางและสะพานรถไฟจะถูกเครื่องบินฝ่ายพันธมิตรมาทิ้งระเบิดบ่อยครั้งมาก ทหารญี่ปุ่น พร้อมเชลยศึกต้องวิ่งหาที่หลบภัย ถ้ำแห่งนี้เป็นสถานที่หนึ่งซึ่งเชลยศึกได้วิ่งขึ้นมาเพื่อหลบภัยและได้ค้นพบ และทุกคนที่ได้มาหลบภัยในถ้ำแห่งนี้แล้วรอดพ้นจากการถูกระเบิดที่ทิ้งมาจากเครื่องบินของฝ่ายพันธมิตรอย่างน่าอัศจรรย์ Mr.John Coast     เชลยศึกชาวออสเตรเลียที่รอดตายได้กลับมาเล่าว่า ตนและเชลยศึกอีกหลายคนที่ขึ้นมาหลบระเบิดในถ้ำนี้แล้วป่วยเป็นไข้ป่าอย่างหนักใกล้ตายกลับลงไปทำงานไม่ไหว ทหารญี่ปุ่นที่คุมเชลยถ้ำแห่งนี้ เห็นว่าใกล้ตายจึงปล่อยทิ้งไว้ให้ตาย ไม่ให้อาหารและยา ไม่นำกลับไปค่ายด้านล่างภูเขาเพื่อไปสร้างทางรถไฟต่อไป ปล่อยให้ตายบนเขาแห่งนี้ เชลยหลายสิบคนที่ป่วยเป็นไข้ป่า (มาลาเรีย) อย่างหนัก ไม่มียา ไม่มีอาหารให้กิน ได้อาศัยกินน้ำผึ้งป่า และผลไม้ป่าที่หาได้และอาศัยน้ำแอ่งหินภายในถ้ำ แต่เกิดอัศจรรย์เมื่อกินน้ำที่อยํ่ในแอ่งหินขนาดเล็กภายในถ้ำที่ตักดื่มกินเท่าไหร่ก็ไม่แห้งสักที แล้วทุกคนที่ป่วยจากไข้ป่าอย่างหนักกลับหายป่วยอย่างอัศจรรย์ทุกคน จนทำให้ทหารญี่ปุ่นที่เป็นทหารเวรเฝ้าเชลยศึกแปลกใจเป็นอย่างมากว่าเชลยที่ป่วยใกล้ตายไม่มียาให้กินแล้วหายได้อย่างไร Mr.John Coast ได้บอกกับทหารญี่ปุ่นว่าได้ดื่มน้ำในแอ่งหินศักดิ์สิทธิ์ภายในถ้ำแล้วหายป่วยเอง แต่ทหารญี่ปุ่นไม่เชื่อและได้นำเอาน้ำในแอ่งหินนี้ไปให้ทหารญี่ปุ่นเองและเชลยที่ป่วยเป็นไข้ป่าอย่างหนักกิน และไม่กี่วันทุกคนที่ป่วยหนักกลับหายป่วยจริง ทหารญี่ปุ่นจึงเชื่อ และได้ไว้วางใจ Mr.John Coast และได้ให้เป็นหัวหน้างานและเป็นเชลยศึกผู้หนึ่งที่ได้รอดตายจากสงครามโลกครั้งที่สอง ได้กลับมาเล่าประวัติฯ ถ้ำแห่งนี้ ถ้ำแห่งนี้ได้ถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์สมัยสงครามโลกครั้งสำคัญ และต่อมาจึงได้ตั้งชื่อว่า ถ้ำเชลยฯ จากบันทึกป้ายหินแกรนิตหน้าถ้ำเชลย บันทึกเมื่อ พ.ศ. 2515 ก่อสร้างเมื่อ 8 กันยายน พ.ศ. 2558
ถ้ำเชลยศึก สงครามโลกครั้งที่2
CSR + WALK Rally (K214)
ที่พักอำเภอไทรโยค
Visitors: 110,211