สะพานข้ามแม่น้ำแคว

สะพานข้ามแม่น้ำแคว

สะพานข้ามแม่น้ำแคว (อังกฤษ: The Bridge of the River Kwai) ตั้งอยู่ที่ตำบลท่ามะขาม อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศเหนือ ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 323 ประมาณ 4 กิโลเมตร แยกซ้ายประมาณ 400 เมตร มีป้ายบอกทางชัดเจน

ประวัติ

สะพานข้ามแม่น้ำแควเป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญยิ่งแห่งหนึ่ง เป็นสะพานที่สำคัญที่สุดของเส้นทางรถไฟสายมรณะ สร้างขึ้นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยกองทัพญี่ปุ่นได้เกณฑ์เชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตร ได้แก่ ทหารอังกฤษ อเมริกัน ออสเตรเลีย ฮอลันดา และนิวซีแลนด์ประมาณ 61,700 คน สมทบด้วยกรรมกรชาวจีน ญวน ชวา มลายู ไทย พม่า และอินเดีย อีกจำนวนมาก มาก่อสร้างทางรถไฟสายยุทธศาสตร์ เพื่อเป็นเส้นทางผ่านไปสู่ประเทศพม่า ซึ่งเส้นทางช่วงหนึ่งจะต้องข้ามแม่น้ำแควใหญ่ จึงต้องมีการสร้างสะพานขึ้น การสร้างสะพานและทางรถไฟสายนี้ เต็มไปด้วยความยากลำบาก ความทารุณของสงครามและโรคภัย ตลอดจนการขาดแคลนอาหาร ทำให้เชลยศึกหลายหมื่นคนต้องเสียชีวิตลง

สะพานข้ามแม่น้ำแคว

  สะพานข้ามแม่น้ำแควใช้เวลาสร้างเพียง 1 เดือน โดยนำเหล็กจากมลายูมาประกอบเป็นชิ้น ๆ ตอนกลางทำเป็นสะพานเหล็ก 11 ช่วง หัวและโครงสะพานเป็นไม้ มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2486 ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2487 ได้ถูกทิ้งระเบิดหลายครั้งจนสะพานหักท่อนกลาง ภายหลังสงครามสิ้นสุดลง รัฐบาลไทยได้ซ่อมแซมใหม่ด้วยเหล็กรูปเหลี่ยม เมื่อปี พ.ศ. 2489 จนสามารถใช้งานได้ ปัจจุบัน มีการยกย่องให้เป็น สัญลักษณ์แห่งสันติภาพ

สะพานข้ามแม่น้ำแคว
Circa : 1960
Credit : Getty Images
กลุ่ม ภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองกาญจน์



ทางรถไฟสายมรณะ

   ทางรถไฟสายมรณะ หรือ ทางรถไฟสายพม่า หรือ ทางรถไฟสายกาญจนบุรี ทางรถไฟสายนี้เริ่มต้นจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ผ่านจังหวัดกาญจนบุรีข้ามแม่น้ำแควใหญ่ โดยสะพานข้ามแม่น้ำแคว ไปทางทิศตะวันตกจนถึงด่านเจดีย์สามองค์ เพื่อให้ถึงปลายทางที่เมืองทันบูซายัด ประเทศพม่าทางรถไฟสายมรณะมีความยาวจากหนองปลาดุกถึงสถานีทันบูซายัดรวม 415 กิโลเมตร เป็นทางรถไฟอยู่ในเขตประเทศไทยประมาณ 303.95 กิโลเมตร และอยู่ในเขตพม่า 111.05 กิโลเมตร มีสถานีจำนวน 37 สถานี ทางรถไฟสายนี้สร้างขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยใช้แรงงานเชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตรและกรรมกรชาวเอเชียที่กองทัพญี่ปุ่นเกณฑ์มาสร้าง เพื่อใช้เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ผ่านประเทศพม่า ปัจจุบันเส้นทางนี้ไปสุดปลายทางที่บ้านท่าเสาหรือสถานีน้ำตก ระยะทางจากสถานีกาญจนบุรีถึงสถานีน้ำตกเป็นระยะทางประมาณ 77 กิโลเมตร การรถไฟแห่งประเทศไทยเปิดเดินรถบนเส้นทางนี้ทุกวันและจัดรถไฟขบวนพิเศษสายกรุงเทพฯ - น้ำตก ทุกวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดราชการ จุดที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจมากคือช่วงสะพานข้ามแม่น้ำแคว และช่วงโค้งมรณะหรือถ้ำกระแซ ซึ่งเป็นสะพานโค้งเลียบแม่น้ำแควน้อยยาวประมาณ 400 เมตร

   ทางรถไฟสายมรณะ สร้างขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยรัฐบาลญี่ปุ่นขอยืมเงินจากรัฐบาลไทย จำนวน 4 ล้านบาท การก่อสร้างใช้เวลาในการสร้างเสร็จเพียง 1 ปี ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2485 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2486 เพื่อใช้เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ผ่านประเทศพม่า หลังสงครามทางรถไฟบางส่วนถูกรื้อทิ้ง บางส่วนจมอยู่ใต้อ่างเก็บน้ำเขื่อนวชิราลงกรณ์ ทางรถไฟสายนี้ถือเป็นอนุสรณ์ให้รำลึกถึงเหตุการณ์สงครามในครั้งนั้น เนื่องจากน้ำพักน้ำแรงของการบุกเบิกก่อสร้าง เป็นของทหารเชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตร ที่กองทัพญี่ปุ่นเกณฑ์มา

สะพานข้ามแม่น้ำแคว

  เหตุที่ทางรถไฟสายนี้ได้ชื่อว่า ทางรถไฟสายมรณะ ก็เพราะว่า ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นได้เกณฑ์เชลยศึกฝ่ายพันธมิตร ได้แก่ ทหารอังกฤษ อเมริกัน ออสเตรเลีย ฮอลันดาและนิวซีแลนด์ ประมาณ 61,700 คนและกรรมกรชาวชาวจีน ญวน ชวา มลายู พม่า อินเดีย อีกจำนวนมากมาก่อสร้างทางรถไฟสายยุทธศาสตร์ เพื่อเป็นเส้นทางผ่านไปสู่ประเทศพม่า เพื่อลำเลียงอาวุธยุทโธปกรณ์ รวมทั้งกำลังพล เพื่อจะไปโจมตีพม่าและอินเดียต่อไป ซึ่งขณะนั้นเป็นดินแดนอาณานิคมของอังกฤษ เส้นทางช่วงหนึ่งจะต้องข้ามแม่น้ำแควใหญ่จึงต้องมีการสร้างสะพานขึ้น การสร้างสะพานและทางรถไฟสายนี้เต็มไปด้วยความยากลำบาก ความทารุณของสงครามและโรคภัยตลอดจนการขาดแคลนอาหาร ทำให้เชลยศึกจำนวนหลายหมื่นคนต้องเสียชีวิตลง ทางรถไฟสายนี้สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2486 และเปิดใช้ เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ปีเดียวกัน

สะพานข้ามแม่น้ำแคว

  หลังสิ้นสุดสงครามรัฐบาลไทยได้จ่ายเงินจำนวน 50 ล้านบาท เพื่อซื้อทางรถไฟสายนี้ จากอังกฤษ และทำการซ่อมบำรุงบางส่วนของเส้นทางดังกล่าว เพื่อเปิดการเดินรถตั้งแต่สถานีหนองปลาดุกจนถึงสถานีน้ำตก โดยอยู่ในความดูแลของการรถไฟแห่งประเทศไทยจนถึงปัจจุบัน  เส้นทางรถไฟสายนี้เป็นอนุสรณ์ของโลกที่จารึกความโหดร้ายทารุณของสงครามโลกครั้งที่ 2 และเป็นอนุสรณ์แก่ผู้เสียชีวิตในสงครามด้วย

การท่องเที่ยว

  ทิวทัศน์ตลอดเส้นทางนี้สวยงามมาก โดยเฉพาะบริเวณถ้ำกระแซ ที่เส้นทางรถไฟจะลัดเลาะไปตามเชิงผาเลียบไปกับลำน้ำแควน้อย ปัจจุบันทางรถไฟสายนี้สุดปลายทางที่บ้านท่าเสาหรือสถานีน้ำตก ระยะทางจากสถานีกาญจนบุรีถึงสถานีน้ำตกเป็นระยะทางประมาณ 77 กิโลเมตร การรถไฟแห่งประเทศไทยเปิดบริการเดินรถไฟขบวนปกติ ธนบุรี - น้ำตก ทุกวัน และจัดขบวนพิเศษสายกรุงเทพ - น้ำตกไทรโยคน้อย ทุกวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดราชการ


 ตารางเดินรถไฟ จาก สถานีกาญจนบุรี (สถานีดอนรัก) - สถานีปลายทางน้ำตก (น้ำตกไทรโยคน้อย)
ตารางรถไฟ สายกาญจนบุรี

ตารางเดินรถไฟ จาก สถานีปลายทางน้ำตก (น้ำตกไทรโยคน้อย) - สถานีกาญจนบุรี (สถานีดอนรัก)

ตารางรถไฟ สายกาญจนบุรี

ข้อมูลจาก https://th.wikipedia.org

 


สะพานข้ามแม่น้ำแคว

  ‘สะพานข้ามแม่น้ำแคว’ เป็นสถานที่ที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุดบนเส้นทางรถไฟสายไทย-พม่า แต่ความโด่งดังของสะพานแห่งนี้ ได้มาจากภาพยนตร์ที่สร้างตามนวนิยาย มากกว่าจะเป็นความสำคัญจริง ๆ ของมันในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

  สะพานแห่งนี้ซึ่งทอดข้ามแม่น้ำแควใหญ่ในกาญจนบุรี สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2485-86 โดยเชลยสงครามชาวอังกฤษที่ประจำอยู่ที่ท่ามะขาม ตัวสะพานประกอบด้วยคานสะพานเหล็กจำนวน 11 คานที่ตั้งอยู่บนเสาคอนกรีตรับน้ำหนัก วัสดุที่ใช้สร้างสะพานนำมาจากชวา และสะพานนี้เป็นสะพานเหล็กเพียงแห่งเดียวที่สร้างโดยฝ่ายญี่ปุ่นในประเทศไทย

  ความโด่งดังของสะพานนี้ ได้มาจากภาพยนตร์ ในปี พ.ศ. 2500 เรื่อง สะพานข้ามแม่น้ำแคว โดย เดวิด ลีน ภาพยนตร์เรื่องนี้นำเค้าโครงมาจากนวนิยายฝรั่งเศสของปิแอร์ บูลเล ซึ่งประพันธ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2495 ตัวเอกของเรื่องคือ ผู้บัญชาการเชลยสงครามชาวอังกฤษ ร้อยเอกนิโคลสันผู้บ้าคลั่ง (แสดงโดย อเล็ค กินเนส) เขามีความหยิ่งทะนงในความเชี่ยวชาญทางด้านเทคนิคของอังกฤษมากเสียจนยอมร่วมมือกับผู้บัญชาการทหารฝ่ายญี่ปุ่น ไซโต ในการสร้างสะพานไม้ขนาดมหึมา เมื่อหน่วยคอมมานโดของฝ่ายพันธมิตร (นำโดยวิลเลียม โฮลเดน) พยายามลอบทำลายสะพาน นิโคลสันเกือบจะขัดขวางปฏิบัติการนี้ได้สำเร็จ แต่ในที่สุดสะพานแห่งนี้ก็ถูกทำลายลง เมื่อนิโคลสันซึ่งได้รับบาดเจ็บจากการยิงต่อสู้กันระหว่างฝ่ายญี่ปุ่นกับฝ่ายคอมมานโด ล้มลงทับที่จุดระเบิด ส่งผลให้ทั้งสะพานและรถไฟซึ่งกำลังแล่นข้ามสะพานพังทลายลงสู่ผืนน้ำด้านล่างพร้อมกัน

  โครงเรื่องของหนังเป็นเรื่องแต่งทั้งหมด แม้ว่าตัวนิโคลสันอาจมีต้นแบบมาจากนายทหารชาวอังกฤษ พันเอก ฟิลลิป ทูซี ผู้ซึ่งประจำอยู่ที่ท่ามะขาม

  สะพานที่ปรากฏในภาพยนตร์ก็มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับสะพานเหล็กที่กาญจนบุรี ในความเป็นจริงแล้ว ไม่มีสะพานใดเลยที่สร้างข้ามแม่น้ำแควในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ในเวลานั้น แม่น้ำที่ ‘สะพานข้ามแม่น้ำแคว’ ทอดผ่าน ชื่อว่า แม่น้ำแม่กลอง (แม่คลอง)

  อย่างไรก็ดี ภาพยนตร์เรื่องนี้ประสบความสำเร็จอย่างมากในระดับนานาชาติ – โดยได้รับรางวัลออสการ์ถึงเจ็ดรางวัล – จนทำให้นักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้ามายังประเทศไทย เพื่อตามหา ‘สะพานข้ามแม่น้ำแคว’ ในปี พ.ศ. 2503 เมืองกาญจนบุรีได้เปลี่ยนชื่อของแม่น้ำแม่กลองที่อยู่ในบริเวณของสะพานแห่งนี้ ไปเป็นแม่น้ำแควใหญ่ (แปลว่า แม่น้ำสายย่อยขนาดใหญ่)

  ด้วยเหตุนี้ ‘สะพานข้ามแม่น้ำแคว’ จึงได้ถือกำเนิดขึ้น เพลงที่บรรดาเชลยสงครามผิวปากเป็นทำนองในภาพยนตร์ ซึ่งมีชื่อว่า โคโลเนล บูกี มาร์ช (Colonel Bogey’s March) นั้น ยังคงขับร้องโดยนักดนตรีข้างถนนบนสะพานแห่งนี้

  ห่างออกไปทางปลายน้ำประมาณหนึ่งร้อยเมตร มีสะพานแห่งที่สองตั้งอยู่ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 สะพานแห่งนี้ทำจากไมซึ่งสามารถรองรับรถบรรทุกดีเซลขนาดเล็กที่วิ่งบนรางรถไฟเพื่อขนส่งวัสดุก่อสร้างในระหว่างการสร้างสะพานหลัก

สะพานข้ามแม่น้ำแควแม่น้ำแควใหญ่ สีสดใสดังมรกต
Circa : 1945
Colourised by Paul Reynolds
 

  สะพานทั้งสองแห่งนี้ถูกโจมตีทิ้งระเบิดโดยฝ่ายพันธมิตรอยู่เป็นประจำ ตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2487 ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2488 คานสะพานของสะพานเหล็กถูกทำลายหลายจุด สะพานไม้ ซึ่งสามารถซ่อมแซมได้ง่ายกว่า ถูกนำมาใช้ทดแทนในระดับหนึ่ง

  การทิ้งระเบิดนี้ทำให้ประชาชนชาวไทยและเชลยสงครามฝ่ายพันธมิตรที่ท่ามะขามต้องเสียชีวิตและบาดเจ็บมากมาย การโจมตีที่ร้ายแรงที่สุดในวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2487 ซึ่งทำให้เชลยสงครามเสียชีวิตสิบเก้าคน และบาดเจ็บอีกหกสิบแปดคน ต่อมา มีเชลยอีกสิบห้าคนบาดเจ็บจากการโจมตีในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488 จากนั้น ฝ่ายญี่ปุ่นจึงเคลื่อนย้ายเชลยไปที่ช่องไก่ ซึ่งอยู่เลยออกไปทางปลายน้ำ

  ในปัจจุบัน สะพานข้ามแม่น้ำแคว เป็นสถานที่ท่องเที่ยวหลัก และเป็นศูนย์กลางกิจกรรมการค้าที่หนาแน่น

  อนุสรณ์สงครามและหัวรถจักรซ่อนตัวอยู่ท่ามกลางร้านขายของนานาชนิด เช่น เสื้อผ้า เครื่องประดับ ของฝาก ของที่ระลึก ของกระจุกกระจิก และรูปถ่ายสมัยสงครามอันเลือนราง นักท่องเที่ยวสามารถ ‘นั่งรถไฟตามเส้นทางรถไฟสายมรณะ’ ไปยังสถานีน้ำตก หรือนั่งรถไฟเด็กเล่นเป็นระยะทางสั้น ๆ แค่ข้ามสะพานไปและกลับ

  ความทรงจำในช่วงสงคราม ถูกเปลี่ยนให้เป็น ‘สินค้าเชิงพาณิชย์’ ในเดือนพฤศจิกายนของทุกปี มีการจัดแสดงแสงสีเสียงเพื่อรำลึกถึงการทิ้งระเบิดทำลายสะพานในช่วงปี พ.ศ. 2487-88 ในการแสดงนี้ สะพานถูกระเบิดอีกครั้ง – แต่กลายเป็นดอกไม้ไฟแทนในครั้งนี้ โดยมีรถจักรไอน้ำเปิดหวูดดังสนั่น แล่นข้ามสะพานหายไปในความมืด

  การทิ้งระเบิดที่สะพานข้ามแม่น้ำแคว ยังถูกนำมาสร้างเป็นจิตรกรรมฝาผนังและภาพศิลปะสามมิติในพิพิธภัณฑ์สงครามโลกครั้งที่ 2 และพิพิธภัณฑ์อักษะเชลยศึกที่ตั้งอยู่ใกล้กับสะพาน

  ในปัจจุบัน ไม่หลงเหลือร่องรอยของค่ายเชลยท่ามะขามแล้ว ลานจอดรถหลังตลาดบนถนนแม่น้ำแคว เป็นสิ่งเดียวที่ระบุให้ทราบว่าบริเวณนี้เคยเป็นที่ตั้งค่ายมาก่อน ในสมัยสงคราม ตัวเมืองกาญจนบุรีมีอาณาเขตสิ้นสุดที่ประมาณห้ากิโลเมตรจากสะพานไปทางทิศใต้
กาญจนบุรี + CSR (KW301)

เส้นทางรถไฟสายไทย-พม่า

  ทางรถไฟสายไทย-พม่าสร้างขึ้นในปีพ.ศ. 2485-86 เพื่อที่จะเป็นเส้นทางลำเลียงยุทโธปกรณ์ให้แก่กองกำลังญี่ปุ่นที่อยู่ในประเทศพม่า และเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการการขนส่งทางทะเล เนื่องด้วยกองทัพเรือญี่ปุ่นมีความอ่อนแอลงจากการทำยุทธนาวีที่ทะเลคอรัล และเกาะมิดเวย์ในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน พ.ศ. 2485 เมื่อทางรถไฟเสร็จสมบูรณ์ ฝ่ายญี่ปุ่นได้วางแผนไว้ว่าจะเข้าโจมตีฝ่ายอังกฤษในอินเดีย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งถนนและลานบินที่ฝ่ายพันธมิตรใช้เพื่อส่งเสบียงให้กับจีนซึ่งอยู่เหนือเทือกเขาหิมาลัย

    ทางรถไฟเริ่มสร้างในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2485 และเสร็จสมบูรณ์ในวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2486 มีความยาว 415 กิโลเมตรจากหนองปลาดุกในประเทศไทยและเมืองตานพยูซะยะในประเทศพม่า (ปัจจุบันคือ เมียนมาร์)การเชื่อมทางรถไฟระหว่างประเทศไทยกับพม่านั้นมีการเสนอโครงการมาตั้งแต่หลายทศวรรษก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ในระหว่างช่วงปี พ.ศ. 2423-2432 ฝ่ายอังกฤษได้ทำการสำรวจเส้นทางที่อาจเป็นไปได้ แต่ก็ได้ละทิ้งโครงการไปเนื่องจากปัญหาและความท้าทายอันมากจากป่าอันรกทึบ โรคระบาด และการขาดแคลนถนน

   ฝ่ายญี่ปุ่นก็ได้ทำการสำรวจเช่นเดียวกันในระหว่างปี พ.ศ. 2463-2472 และหลังจากที่ทำการสำรวจอีกครั้งในช่วงต้นปี พ.ศ. 2485 ก็ได้ตัดสินใจที่จะดำเนินโครงการต่อในเดือนมิถุนายน โดยใช้แรงงานกลุ่มใหญ่จากเชลยสงครามฝ่ายพันธมิตรที่มีอยู่ในขณะนั้น ในเวลานี้ ฝ่ายวิศวกรของญี่ปุ่นได้รับการช่วยเหลือจากกลุ่มเชลยเล็ก ๆ จำนวนไม่มากในการทำตำแหน่งและถากถางเส้นทางของทางรถไฟอย่างคร่าว ๆ ก่อนฝ่ายญี่ปุ่นนั้นเมื่อมีเป้าหมายที่จะสร้างทางรถไฟให้เสร็จโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ จึงได้ตัดสินใจใช้เชลยฝ่ายพันธมิตรและกรรมกรชาวเอเชียหรือที่เรีกว่า โรมุฉะ จำนวนมหาศาล ทางรถไฟก่อสร้างโดยหน่วยต่าง ๆ ที่อยู่ตลอดความยาวทั้งหมดของเส้นทางมากกว่าที่จะเป็นจากปลายสายของแต่ละฝั่ง

  ลักษณะพื้นดินที่ทางรถไฟพาดผ่านนั้น เป็นเหตุให้การก่อสร้างเป็นไปด้วยความยากลำบากยิ่ง อย่างไรก็ดี เส้นทางของทางรถไฟก็ไม่ได้เป็นป่ารกทึบและไม่เหมาะแก่การอยู่อาศัยไปเสียทั้งหมดอย่างที่คนนิยมจินตนาการกัน สุดสายปลายทางของแต่ละฝั่ง ทั้งในประเทศไทยและพม่า รางรถไฟพาดผ่านไปยังภูมิทัศน์อันเรียบโล่ง ก่อนที่เข้าสู่ป่ารกชัฎและภูเขาที่อยู่ตรงชายแดนระหว่างสองประเทศ

   เมื่อรางรถไฟมาถึงวังโพ ซึ่งอยู่ราว 112 กิโลเมตรจากสถานีปลายทางของฝั่งไทย มันก็จะเริ่มขึ้นสู่เนินเขาที่เกิดจากหินปูนแสนจะขรุขระ สลับกับลำธารและห้วย ระหว่างฤดูมรสุม ผืนดินจะปริ่มไปด้วยน้ำและไม่มั่นคง สิ่งนี้ทำให้เกิดปัญหาสำหรับการก่อสร้างเช่นเดียวกับการขนส่งและเสบียง

  รางของรถไฟสร้างโดยค่อยเพิ่มความลาดชันทีละน้อยให้ไปได้ไกลสุดเท่าที่จะทำได้ อันเนื่องจากว่ารถไฟที่ใช้ไอน้ำจะไต่ความสูงชันได้เพียงทีละน้อยเท่านั้น เมื่อถึงจุดที่ทางรถไฟมาถึงเนินเขาที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ จะมีการตัดภูเขาเพื่อให้เส้นทางรถไฟดำเนินต่อไปได้ หลายต่อหลายครั้งที่เส้นทางตัดโผล่ขึ้นมาจากการตัดภูเขาระดับลึกมาพบกับเนินกองดินและสะพานอีกหลายจุด โดยทั้งหมดแล้ว มีการสร้างสะพาน 688 แห่งตลอดเส้นทางรถไฟ ยิ่งไปกว่านั้น มีการสร้างสถานีกว่าหกสิบแห่งเพื่อให้รถไฟวิ่งสวนกันได้ และเป็นจุดให้เติมเชื้อเพลิงและน้ำ

 เชลยสงครามฝ่ายพันธมิตรกว่า 60,000 คนถูกนำมาใช้งานในการสร้างทางรถไฟสายไทย-พม่า ได้แก่เชลยจากกองทัพจักรวรรดิอังกฤษ กองทัพดัตช์และอาณานิคมจากเนเธอร์แลนด์ อีสต์ อินดีส์ และกองทัพสหรัฐอเมริกาจำนวนเล็ก ๆ กลุ่มหนึ่ง เชลยสงครามราว 13,000 คนเป็นชาวออสเตรเลีย  นอกจากนี้ ฝ่ายญี่ปุ่นยังได้ล่อลวงหรือบีบบังคับกรรมกรชาวเอเชีย (โรมุฉะ) อีกราว 200,000 คนให้เข้ามาทำงานสร้างทางรถไฟ คนเหล่านี้ได้แก่ ชาวพม่า ชาวชวา ชาวมาเลย์ ชาวทมิฬและชาวจีน

  เชลยสงครามฝ่ายพันธมิตรกว่า 12,000 คนเสียชีวิตระหว่างการก่อสร้างทางรถไฟ ซึ่งในจำนวนนั้นเป็นชาวออสเตรเลียกว่า 2,700 คน มีชาวญี่ปุ่นราว 1,000 คนเสียชีวิต ส่วนโรมุฉะนั้นเป็นเรื่องยากที่จะบอกให้ชัดเจนว่าเสียชีวิตไปเท่าใดกันแน่ เนื่องจากการเก็บบันทึกทำได้ไม่ดี มีการประมาณว่ามีราว 75,000 ถึง 100,000 คน  

  ถึงแม้ว่าทางรถไฟสายไทย-พม่าจะถูกทิ้งระเบิดซ้ำ ๆ จากฝ่ายพันธมิตร แต่ก็ยังสามารถเปิดใช้งานได้อย่างทางรถไฟที่ปฏิบัติการได้เต็มหน้าที่หลังจากที่สร้างเสร็จแล้ว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2486 และเดือนมีนาคม พ.ศ. 2487 ได้มีการลำเลียงอาหารและอาวุธกว่า 50,000 ตันไปยังพม่า เช่นเดียวกับที่กองทัพจากหน่วยรบสองหน่วยของฝ่ายญี่ปุ่นเพื่อการบุกเข้าสู่อินเดีย การโจมตีครั้งนี้ซึ่งเป็นหนึ่งในการโจมตีครั้งสุดท้าย ต้องพ่ายแพ้แก่กองกำลังของอังกฤษและอินเดีย ในขณะที่ทางรถไฟถูกใช้งานเพื่อสนับสนุนฝ่ายญี่ปุ่นในพม่าจนกระทั่งสงครามสิ้นสุดลง เชลยสงครามและโรมุฉะก็ยังคงทำภารกิจซ่อมบำรุงต่อไปหลังจากที่การก่อสร้างทางรถไฟเสร็จลง


ทางรถไฟสายมรณะ

ขอบคุณข้อมูล และภาพประกอบจาก http://hellfire-pass.commemoration.gov.au


แพดเดิ้ลบอร์ดกาญจนบุรี
ล่องแพเปียกกาญจนบุรี

Visitors: 110,170