บ้านกองม่องทะ อ.สังขละบุรี

หมู่บ้านกองม่องทะ

             หมู่บ้านกองม่องทะ เป็นหมู่บ้านแห่งหนึ่งในเขต สังขละบุรี ในหมู่บ้านแห่งนี้มีวิถีชีวิตอยู่กันแบบธรรมชาติ(มากๆ) สำหรับการท่องเที่ยวที่อยากศึกษาวัฒนธรรมท้องถิ่นขนานแท้ แนะนำเป็นที่นี่ ภายในหมู่บ้านไม่ได้มีการสร้างรีสอร์ทต้อนรับนักท่องเที่ยว หรือแม้แต่
           โฮมสเตย์ก็หายาก แต่ตอนนี้คงกำลังมีการพัฒนากันอยู่เนื่องจากในหมู่บ้านมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติคือล่องแก่งกองม่องทะ ตามสายน้ำรันตีที่ไหลเชี่ยว มีแก่งหินอยู่เป็นระยะ น่าสนุก นอกจากการล่องแก่งด้วยเรือยางแล้วยังมีการล่องแบบส่วนตัวด้วยห่วงยางได้ด้วย การเช่าเรือเพื่อเดินทางไปยังจุดเริ่มต้นการล่องแก่งก็ติดต่อชาวบ้านถามหาลุงชูครับชัวร์
กองม่องทะ

           กองม่องทะเป็นภาษากะเหรี่ยง แต่ภาษาที่เขียนนี่แปลเป็นภาษาไทย กองม่องทะ เป็นชื่อเรียกลำห้วย ทะ แปลว่า บรรจบ เรียกรวมๆว่า ช่วงปลายน้ำของห้วยกองม่องที่มาบรรจบกัน แม่น้ำรันตี


             กลุ่มแรกที่มาเริ่มก่อตั้งหมู่บ้าน/ชุมชนมีใครบ้าง ได้แก่ นิ่งแอ เนเซ่ง หย่องหลู่ ปองส่วย เซอจี หย่องปะ ซ่งเหย่ง จาสุ่ย เหย่าแทะ คนกลุ่มแรกที่มาตั้งหมู่บ้าน/ชุมชน นี้อพยพมาจากบ้าน สเน่พ่อง ตำบล ไล่โว่ อำเภอ สังขละบุรี จังหวัด กาญจนบุรี และจากบ้าน จะแก หมู่บ้านทิไล่ป้า หมู่บ้านปรองดี้ หมู่บ้านจะแก หมู่บ้านไลโว่เหตุที่แต่ละกลุ่มนี้อพยพมาจากบ้านเดิมเพราะอะไร เนื่องมาจากการย้ายถิ่นฐานมาหาที่ทำกินใหม่เพราะอาชีพหลักของคนกลุ่มนี้ คือ การทำไร่เลื่อยลอย จะย้ายที่ไปเรื่อยๆ ไม่มีรากฐานมั่นคง  สภาพทางภูมิศาสตร์ของหมู่บ้าน/ชุมชน นี้ ก่อนที่จะตั้งหมู่บ้าน ชุมชนแห่งนี้มีสภาพเป็นป่า เป็นทุ่งหญ้า และมีหนองน้ำไหลผ่านหมู่บ้านปัจจุบันป่า หรือหนองน้ำ หรือห้วยที่เคยมีในอดีต ยังคงมีอยู่หรือไม่ ถ้าหมดไปแล้วเพราะเหตุใด จึงหมดไป ปัจจุบันป่าหรือ หนองน้ำ หรือลำห้วย ที่เคยมีในอดีต ยังคงมีสภาพเหมือนเดิมแต่ในบางส่วนจะมีสภาพเปลี่ยนไปบ้าง


กองม่องทะกองม่องทะ
 
                หมู่บ้านแห่งนี้ มีความสมานฉันท์ สามัคคี กลมเกลียว และสงบสุข หมู่บ้านที่อยู่หลังภูเขาขนาดใหญ่กว่ายักษ์ไทตัน 100 เท่า หมู่บ้านที่อยู่ไกลจากตัวเมืองสังขละบุรีทางตะวันออกประมาณ 20 กิโลเมตร ด้วยสภาพถนนลูกรัง ขรุขระ อันตราย ชื้นแฉะ และคดเคี้ยว หมู่บ้านที่มีสภาพอากาศหนาวตลอดทั้งปี และสุดแสนทุรกันดาร

             "นายไพบูลย์ ช่วยบำรุงวงศ์" ผู้ใหญ่บ้านผู้นำชุมชนแห่งนีมีความไพบูลย์ในทุกด้าน ไม่ว่าทางความคิด วิสัยทัศน์ ความรู้สึก ความรัก ความภาคภูมิใจ และความเมตตา ดังชื่อของตัวเองว่า"ไพบูลย์" ซึ่งมีความหมายว่า "ความสมบูรณ์ ความมากพร้อม และความพรั่งพรู ท่านดำรงตำแหน่งอันทรงเกียรตินี้ ทำหน้าที่พัฒนา รักษา สืบสาุน และถ่ายทอดเป็นเวลานานมากกว่า 10 ปี มีความรู้ ประสบการณ์รอบด้านเป็นที่เคารพรักของทุกคนในชุมชน ทั้งคนใกล้ชิด และผู้รู้จักทั่วไปคำว่า "พอเพียง" เป็นคำตอบที่ดีมาก สำหรับความไม่ทะเยอทะยานในหนทางอันน่ารังเกียจ 

กาญจนบุรี+โฮมสเตย์ (KH302)                
        แต่ คำว่า "มุ่งมั่น" มีอยู่ในหัวใจชาวกองม่องทะทุกคนชาวบ้านกองม่องทะอยู่อาศัย และทำการเกษตรกรรมทั้งสองฝั่งแม่น้ำรันตีการติดต่อ เดินทางข้ามแม่น้ำในฤดูฝนซึ่งน้ำเชี่ยวกราก หลากแรงเป็นเรื่องลำบาก และอันตรายมากวัด หมู่บ้านจึงร่วมแรง ร่วมใจ ร่วมทุนสร้างสะพานแขวนแข็งแรงขึ้นแห่งหนึ่ง บริเวณท่าน้ำวัดกองม่องทะ เรียก "สะพานข้ามแม่น้ำรันตี"เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่งของหมู่บ้านสร้างความปลอดภัย ความสะดวก รวดเร็วกับการคมนาคมของชาวบ้าน และนักท่องเที่ยวทุกคนบรรยากาศยามเช้า และยามเย็นตรงกลางสะพานแขวนแห่งนี้ทำให้อารมณ์เริงรื่น รอยยิ้มเริงร่าได้แม้ไม่มีโอกาสได้สัมผัสบรรยากาศสะพานโกเด้นเกท เมืองซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอเนีย อเมริกา ได้สัมผัสสะพานข้ามแม่น้ำรันตี ความรู้สึกคงต่างกันเล็กน้อย ไม่ต้องไปไกล ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากมาย แต่สร้างความสุขได้ กองม่องทะเป็นชุมชนกะเหรี่ยงเลือดบริสุทธิ์ที่เข้มแข็ง มีความสามัคคีของชุมชนเป็นปราการ เป็นเกราะกลั่นกรอง คัดสันบุคคลภายนอก และวัฒนธรรมอันเลวกว่าอย่างได้ผลอันแสนจะน่าทึ่ง แม้จะมีบุคคลภายนอกแปลกปลอมเข้ามา เพื่อวัตถุประสงค์ หรือเจตนาใดก็ตามหากสวนทางกับกระแสวัฒนธรรมอันเข้มแข็งของหมู่บ้านแล้ว เป็นต้องถอยออก หรือหนีหายไปทั้งสิ้น

         นายไพบูลย์ ช่วยบำรุงษ์วงศ์ ผู้ใหญ่บ้านกองม่องทะ ต.ไล่โว่ อ.สังขละ จ.กาญจนบุรี เล่าถึงวิถีกะเหรี่ยงไร่หมุนเวียน คือการทำไร่ผสมผสาน โดยปลูกทั้งข้าว พริก และพืชผักหลายในชนิดลงบนแปลงบริเวณเชิงเขา เพราะพืชผักบางชนิดเป็นตัวล่อแมลงเพื่อเป็นอาหารของแมลงอีกชนิด ถือเป็นภูมิปัญญาของกะเหรี่ยงในเรื่องกำจัดแมลง และยังเป็นรักษาสิ่งแวดล้อมอีกทางหนึ่ง เพราะไม่ต้องใช้สารเคมีกำจัดแมลง  สำหรับผลผลิตส่วนใหญ่เก็บไว้ใช้บริโภคภายในครัวเรือน โดยเฉพาะข้าว ส่วนพริกและผักอื่นๆ อาจแบ่งขายบ้างตามสมควร  อย่างไรก็ตามคนพื้นราบและเจ้าหน้าที่ป่าไม้บางส่วนยังมองว่า ไร่หมุนเวียนคือไร่เลื่อนลอย และปลูกฝังกันแม้กระทั่งในตำราเรียนว่าไร่กะเหรี่ยงนั้นเป็นตัวการทำลายป่า

 นายไพบูลย์ ช่วยบำรุงวงศ์
นายไพบูลย์ ช่วยบำรุงวงศ์ (ด้านขวา)
         ผู้ใหญ่ ไพบูลย์ บอกว่า เป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะไร่หมุนเวียนคืออาชีพเดียว ดังนั้นกะเหรี่ยงจะไม่ทำลายต้นน้ำลำธารโดยเด็ดขาด"การเลือกทำเลทำไร่นั้นมีข้อห้ามอยู่มากหลาย อาทิ ห้ามทำไร่ในเขตต้นน้ำหรือตาน้ำ ห้ามทำไร่ระหว่างสองฝั่งแม่น้ำ ห้ามทำไร่บนยอดเขา และเมื่อทำไร่เสร็จในปีนั้นแล้วต้องปล่อยทิ้งไว้ให้พื้นดินมีโอกาสฟื้นตัวอย่างน้อย 3 ปี"  ผู้ใหญ่บ้านกองม่องทะ บอกอีกว่า ในหมู่บ้านจะมีไร่อยู่หลายแปลง แต่ทุกแปลงเป็นของส่วนกลางโดยหมุนเวียนผลัดกันทำ และพื้นที่ที่ใช้มากน้อยแล้วแต่ขนาดครอบครัว แต่ส่วนมากราว 5 ไร่ หรือใช้ข้าว 2 ถัง โดยไร่หนึ่งทำแค่ปีเดียว จากนั้นปล่อยทิ้งไว้เป็นไร่ซากเวลาอย่างน้อย 3 ปี หรืออาจมากกว่านั้น เพื่อให้พื้นดินฟื้นตัวเมื่อปล่อยทิ้งไว้ 3-5 ปี ไร่ซากซึ่งเคยใช้ทำไร่จะเป็นป่าที่ดูเหมือนสมบูรณ์ เมื่อกลับไปเผาไร่หักล้างถางป่าอีกครั้งจึงดูเหมือนทำลายป่า แต่ความจริงไม่ใช่เพราะนั่นคือไร่ซาก"ที่สำคัญคือพวกเราไม่เคย บุกรุกพื้นที่เพิ่ม จะวนใช้พื้นที่ไร่ซากเดิมซึ่งบุกเบิกมาเป็นร้อยปี และต้นไม้ใหญ่ที่อยู่ในไร่เราจะไม่เผาหรือตัดโค่นเพื่อปล่อยไว้เป็นร่วมเงาและที่อยู่อาศัยของสัตว์เล็ก แต่จะตัดโค่นต้นไม้เล็กและป่าไผ่เท่านั้น ไม่เคยบุกรุกป่าใหญ่หรือป่าดงดิบเลยชาวบ้านกองม่องทะอยู่อาศัย และทำการเกษตรกรรมทั้งสองฝั่งแม่น้ำรันตี 

-มีร้านค้า 4 ร้าน มีการจ้างงาน - คน
-มีโรงสี 2 ร้าน มีการจ้างงาน - คน
-มีโรงงานอุตสาหกรรม คือ - มีการจ้างงาน - คน
-ปัจจุบันมีแหล่งน้ำ (ทั้งของสาธารณะและส่วนบุคคล)
-ห้วย 2 แห่ง ใช้ได้ ตลอดปี
-แม่น้ำ 1 แห่ง ใช้ได้ ตลอดปี
-ฝายกั้นน้ำ1 แห่ง ใช้ได้ ไม่มีข้อมูล
-ด้านเศรษฐกิจทั้งหมู่บ้าน/ชุมชน
-พื้นที่ทำการเกษตร 5000 ไร่ เป็นที่นา 300 ไร่ เป็นที่สวน 50 ไร่
-ผลผลิตด้านทำนาทั้งหมู่บ้านปีละประมาณ 80 เกวียน
-ขายไปจำนวน - กิโลกรัม/เกวียน เก็บไว้รับประทาน 80 กิโลกรัม/เกวียน
-ทั้งหมู่ซื้อปุ๋ยเคมีปีละ 50 กระสอบ ใช้ปุ๋ยคอกอินทรีย์ 100 กระสอบ
-มีผลผลิตอื่น ๆ เช่นทำสวน ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ ดังนี้
ทำสวน
-ขนุน จำนวน 4 ครอบครัว ได้ผลผลิตทั้งหมู่บ้าน/ชุมชนประมาณ 900000 บาทต่อปี
-มะนาว จำนวน 5 ครอบครัว ได้ผลผลิตทั้งหมู่บ้าน/ชุมชนประมาณ 40000 บาทต่อปี
-ส้ม จำนวน 2 ครอบครัว ได้ผลผลิตทั้งหมู่บ้าน/ชุมชนประมาณ – บาทต่อปี

กาญจนบุรี 3 วัน 2 คืน (K302)

เริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ. 2383 หริชือประมาณ 170 ปีมาแล้ว (นับถึงปี2553)
สถานที่ตั้ง สังขละบุรี กาญจนบุรี
ช่วงเวลาที่เหมาะแก่ท่องเที่ยว ตลอดปี
ลักษณะของสถานที่
หมู่บ้านกะเหรี่ยงกองม่องทะเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ที่อยู่เพียงไม่กี่หลังคาเรือนตั้งอยู่บริเวณเขาด้านหน้ามีแม่น้ำรันดีไหลผ่านเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญในการใช้สอยของหมู่บ้าน ลักษณะของบ้านเรือนเป็นบ้านไม้ไผ่สาน มุงด้วยแฝกหญ้าคา

อาหารจากป่า(หน่อไม้ เห็ดโคน ผักหวาน ผักกูด ผักหนาม) และอาหารจากปลา (ปลารากกล้วย ปลากระสูบ ปลากด ปลาคัง ปลายี่สก ปลาแรด)
ของฝากที่ระลึก  วุ้นเส้นท่าเรือ วุ้นมะพร้าวอ่อน มะขามกวน น้ำพริก อัญมณี สินค้าจาพม่า เฟอร์นิเจอร์ไม้ ผ้าทอพื้นเมือง และผลไม้-พืชไร่ –ของป่าตามฤดูกาล มะขามหวาน เห็ดโคนฯลฯ
ข้อมูลอื่นๆ มีโชว์แสดง ท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์
สถานที่ติดต่อ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงาน ททท.ภาค.กลาง เขต1 โทร034-511200 034-512500 หรือ 1672
ท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์สอบถามรายละเอียดได้ที่ พี.เกสท์เฮาท์ แอนด์ คันทรี รีสอทร์ โทร 034-595061
 
 
ขอบคุณแหล่งข้อมูล

 

Visitors: 110,334