พิพิธภัณฑสถานเเห่งชาติอู่ทอง

 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2502 ปัจจุบันนั้นอาคารจัดแสดงทั้งหมดมี 3 อาคาร สร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานที่เก็บรักษาและจัดแสดงโบราณวัตถุ โดยแต่ละอาคารเรื่องราวก็จะแตกต่างกันออกไป พิพิธภัณฑ์จะจัดแสดงเกี่ยวกับ โบราณคดี และประวัติศาสตร์ศิลปะ
นักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่า มีความสัมพันธ์กับดินแดน "สุวรรณภูมิ" ที่เป็นศูนย์กลางการค้าของโลกยุคโบราณเมื่อประมาณ 2500 ปีก่อน และยังเป็นจุดที่พระพุทธศาสนาเข้ามาประดิษฐานเป็นแห่งแรกในประเทศไทยอีกด้วย
อาคารจัดแสดงแบ่งออกเป็น 3 อาคาร ได้ดังนี้
อาคารจัดแสดงที่ 1 เป็นการจัดแสดงนิทรรศการถาวรเกี่ยวกับเมืองโบราณอู่ทองและวัฒนธรรมทวารวดี ประกอบด้วย
• ห้องจัดแสดง “บรรพชนคนอู่ทอง จัดแสดงถึงการพัฒนาของเมืองโบราณอู่ทองตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ประมาณ 3000 ปีก่อน จนกระทั่งเข้าสู่วัฒนธรรมทวารวดี ซึ่งเป็นยุคแรกในสมัยประวัติศาสตร์ของประเทศไทย โดยปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีแสดงให้เห็นว่าเมืองโบราณอู่ทองเป็นศูนย์กลางสำคัญแห่งแรกของวัฒนธรรมดังกล่าว จัดแสดงโบราณวัตถุที่เกี่ยวกับศาสนาพุทธที่เก่าแก่ที่สุดที่พบในไทย ไม่ว่าจะเป็น จารึกแผ่นทองแดง เหรียญกษาปณ์โรมัน และเงินตราโบราณ ที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างดินแดนตะวันตกกับภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
• ห้องจัดแสดง "อู่ทองศรีทวารวดี" จัดแสดงเรื่องราวถึงเมืองโบราณอู่ทองในฐานะเมืองสำคัญของวัฒนธรรมทวารวดีในประเทศไทย ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางการค้าและศูนย์กลางแห่งพระพุทธศาสนายุคแรก ก่อนจะแพร่กระจายความเจริญไปสู่ชุมชนโบราณสมัยอื่นๆ และยังมีกลุ่มศาสนสถาน รวมไปถึง สิ่งก่อสร้างเนื่องในศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู ลัทธิไศวนิกาย โดย เมืองโบราณอู่ทอง มีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๖ หรือประมาณ ๑,๐๐๐ – ๑,๔๐๐ ปีที่ผ่านมา เป็นหลักฐานแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองทางวัตถุและวิทยาการต่างๆ ในอดีต
อาคารจัดแสดงที่ 2 จัดแสดงนิทรรศการถาวรเกี่ยวกับดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่งคำว่า สุวรรณภูมินั้น มีความหมายว่า ‘ดินแดนหรือแผ่นดินแห่งทอง’ ซึ่งสุวรรณภูมินั้น เมื่อประมาณ 2000-2500 ปีที่ผ่านมา เป็นที่รู้จักกันดีในมุมของพ่อค้าและนักเดินทางจากดินแดนต่างๆทั่วทุกมุมโลก โดยเฉพาะพ่อค้าต่างชาติที่นิยมเข้ามาเพื่อค้าขาย การพัฒนาทางประวัติศาสตร์ของเมืองโบราณอู่ทอง เส้นทางการค้าทางทะเล และเมืองโบราณอู่ทองในฐานะศูนย์กลางของศาสนาพุทธ จะแบ่งการจัดแสดงออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้

ส่วนที่ 1 เรื่อง “พัฒนาการทางประวัติศาสตร์บนพื้นแผ่นดินสุวรรณภูมิ” เป็นการจำลองเหตุการณ์ของแหล่งการค้าสำคัญใน ยุคโบราณด้วยจอวีดิทัศน์ที่ทันสมัย โดยในจอวีดิทัศน์ที่ฉายให้ชมนั้น ได้มีการสันนิษฐานเอาไว้ว่า ดินแดนประเทศไทย และ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในปัจจุบันนั้น สมัยก่อนเมื่อนานมาแล้ว ประวัติศาสตร์พัฒนาเข้าสู่บ้านเมือง รวมถึงการค้าระหว่างชุมชนโบราณต่างๆ ทั้งภายในและภายนอก และนักวิชาการยังได้พบหลักฐานถึงร่องรอยความเจริญของ เมืองอู่ทองโบราณ ว่าเป็นสถานีการค้าที่สำคัญ สมัยสุวรรณภูมิ อีกด้วย


   ส่วนที่ 2 เรื่อง “สุวรรณภูมิการค้าของโลกยุคโบราณ” เป็นการจำลองเหตุการณ์เรื่องราวโดยมีจอวีดิทัศน์ให้ได้ชม และมีการจำลองเรือขนสินค้าซึ่งในเรือลำนี้ ไม่ว่าจะเป็นหีบเงินตรา หีบสร้อยเครื่องประดับต่างๆ และมีรูปปั้นมนุษย์ที่ต้องการสื่อถึงพ่อค้าที่เข้ามาในเมืองเพื่อค้าขาย และส่วนที่สำคัญมากๆเกี่ยวกับการค้าในช่วงเวลานั้นก็คือ เส้นทางการค้าและเมืองเทียบท่า โดยคนสมัยนั้นเชื่อว่า เส้นทางการค้าดังกล่าวนั้นเกี่ยวข้องกับ เมืองโบราณอู่ทองโดยตรง ซึ่งสิ่งที่ทำให้ชุมชนโบราณอู่ทองเป็นเมืองที่สำคัญทางการค้าทางทะเลนั้น ก็เพราะความอุดมสมบูรณ์ในพื้นที่ของเมืองโบราณอู่ทองนั่นเอง เนื่องจากมีพื้นที่ที่กว้างขวาง เหมาะแก่การเพาะปลูกมากและการค้าเป็นอย่างมาก จึงได้ชื่อว่า เมืองแห่งความอุดมสมบูรณ์ นั่นเอง

  

   ส่วนที่ 3 เรื่อง “อู่ทองศูนย์กลางแห่งพระพุทธศาสนา” เป็นการจัดแสดงเหตุการณ์ย้อนไปในอดีตเมื่อ 1600-1800 ปีก่อน โดยเมืองโบราณอู่ทองนั้น ถือได้ว่า เป็นเมืองสำคัญยุคแรกที่ได้รับอิทธิพลศาสนาพุทธมาจากอินเดีย และในเวลาต่อมา ได้กลายมาเป็นจุดกำเนิดวัฒนธรรมทวารวดี โดยมีหลักฐานว่าพุทธศาสนาได้เข้ามา ประดิษฐานที่เมืองโบราณอู่ทองเป็นจุดแรกใน ประเทศไทย และนอกจากนี้ยังได้ค้นพบโบราณสถานพุหางนาค โดยนักโบราณคดีได้สันนิษฐานว่า เป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นเนื่องในศาสนาพุทธ มีหลักฐานว่าพบร่องรอยการก่อสร้างซ้อนทับกันถึง 2 สมัยเลยทีเดียว


   ซึ่งโบราณที่ค้นพบในพุหางนาคก็คือ พระพิมพ์ดินเผามีจารึก อายุราวพุทธศตวรรษที่ 14-15 กล่าวถึงนามกษัตริย์ผู้สร้าง จึงได้มีการสันนิษฐานว่า โบราณสถานแห่งนี้ เป็นศาสนสถานที่สร้างขึ้นโดยกษัตริย์หรือชนชั้นปกครอง เพื่อถวายเป็นพุทธบูชานั่นเอง
พิพิธภัณฑสถานเเห่งชาติอู่ทอง นั้นได้พัฒนาบ้านเมืองมาเเล้วถึง 3000 ปี ตั้งเเต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุคหินเเละโลหะ จนก่อเกิดเป็นเมืองท่าเเละศูนย์กลางการติดต่อค้าขายของผู้คนจากทั่วโลก ทั้งจีน อินเดีย อาหรับ เเละโรมัน และยังค้นพบร่องรอยสำคัญๆไว้มากมาย โดยเฉพาะโบราณวัตถุ ไม่ว่าจะเป็น

  • ลูกปัดหินเเละเเก้วเครื่องประดับ ต่างหู กำไล เเละ เบ้าหินสำหรับหลอมทำเครื่องประดับรวมทั้งภาพปั้นดินเผารูปบุลคล ประดับตกเเต่งร่างกายด้วยเครื่องประดับถนิมพิมพาภรณ์ต่างๆโดยเฉพาะลูกปัด ที่งดงามยิ่ง

  •  ธรรมจักร และฐานครบชุดหนึ่งเดียวสัญญลักษณ์การประดิษฐานเเละประกาศพุทธธรรมเเห่งสมัยทวารวดี ที่พระพุทธศาสนาตั้งมั่นประมาณกลางพุทธศตวรรษที่13

  • พระพุทธรูปประทับนั่งสมาธิบนฐานมีธรรมจักรเเละกวางคู่ที่เก่าเเก่เเละเป็นหนึ่งเดียว อายุประมาณพุทธศตวรรษที่1     



อาคารจัดแสดงที่ 3 เป็นการจำลองรูปแบบบ้านโบราณ เรือนลาวโซ่ง เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชาวไทยทรงดำ หรือลาวโซ่ง ชาติพันธุ์ สำคัญที่อยู่ในเขตอำเภออู่ทอง จ.สุพรรณบุรี โดยความเป็นมานั้น ลาวโซ่งนั้นเป็นกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งที่ใช้ภาษาตระกูลไท มีฐานเดิมอยู่ที่บริเวณแม่น้ำดำและแม่น้ำแดง ในเขตตอนเหนือของเวียดนาม เชื่อมต่อลาวและจีน ต่อมาชาวลาวโซ่งได้อพยพย้ายถิ่นมาหลายจังหวัด 1 ในนั้นก็คือ จ.สุพรรณบุรี นั่นเอง ซึ่งในจ.สุพรรณบุรีนั้นมีหมู่บ้านลาวโซ่งอยู่ในอำเภอเมือง ไม่ว่าจะเป็น บ้านบางกุ้ง บ้านบางหมัน บ้านดอนโก และในเขตอำเภออู่ทอง บ้านดอนมะเกลือ บ้านสระยายโสม ฯลฯ
โดยพิพิธภัณฑ์นั้นได้จำลองเรือนลาวโซ่ง ขึ้นมาเพื่อให้นักท่องเที่ยวที่ต้องการมาศึกษาค้นคว้าเรื่องราวได้เห็นว่าลักษณะมันเป็นอย่างไร น่าตาเป็นแบบไหน ซึ่งเรือนลาวโซ่งนั้นปัจจุบันหาได้ยากมากเพราะเนื่องจากยุคสมัยเปลี่ยน สิ่งก่อสร้างใหม่ก็ถูกสร้างขึ้น จึงทำให้เรือนลาวโซ่งเป็นที่นิยมน้อยลง 
พิพิธภัณฑ์ได้จำลองบ้านเรือน ที่อยู่ อาศัย รวมไปถึงวัฒนธรรมความเป็นอยู่ สิ่งของเครื่องใช้ ของกลุ่มชาติพันธ์ลาวโซ่ง ให้ผู้สนใจได้เข้าศึกษาเยี่ยมชม ภายในบริเวณอาคารจัดแสดง ที่ 3 แห่งนี้                             

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

เลขที่ 186/1 ศูนย์ราชการกรมศิลปากร ถนนสุพรรณบุรี-ชัยนาท ตำบลสนามชัย อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี 72000
โทรศัพท์ : 035-535 330 / 035-536 100-1
โทรสาร : 035-535 330 / 035-536 100-1
เว็บไซต์ : http://www.finearts.go.th/suphanburimuseum
อีเมล : suphanmuseum@gmail.com

วันและเวลาทำการ

วันพุธ-วันอาทิตย์ (ยกวันเว้นวันขึ้นปีใหม่และวันสงกรานต์) เวลา 09.00น.-16.00 น.

ค่าเข้าชม

  • ชาวไทย 20 บาท
  • ชาวต่างประเทศ 100 บาท
  • นักเรียนนักศึกษาในเครื่องแบบ ภิกษุสามเณรและนักบวชในศาสนาต่างๆ ไม่เสียค่าธรรมเนียมเข้าชม

การเดินทาง

โดยรถยนต์

จากกรุงเทพ  ใช้เส้นทางถนนบางบัวทอง-สุพรรณบุรี(ทางหลวงหมายเลข 340) เมื่อถึงตัวเมืองจังหวัดสุพรรณบุรี ใช้ถนนทางหลวงหมายเลข 340 (ถนนสุพรรณบุรี-ชัยนาท) จนเห็นศาลากลางจังหวัดสุพรรณบุรีด้านซ้ายมือ ให้ตรงไปอีกประมาณ 1.5 กิโลเมตร แล้วกลับรถ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี อยู่ฝั่งซ้ายมือเยื้องกับศาลากลางจังหวัดสุพรรณบุรี

Visitors: 110,403