อำเภออู่ทอง สุพรรณบุรี

เมืองโบราณอู่ทอง
ดินแดนที่ได้ชื่อว่า ‘แดนทอง’ ของไทยนอกจากกาญจนบุรีแล้ว ‘เมืองอู่ทอง’ ก็ยังเป็นเมืองที่มีความสำคัญมากๆอีกแห่งหนึ่งของ จ.สุพรรณบุรีเพราะมีร่องรอยการอยู่อาศัยของชุมชน อายุประมาณ 2000-2500 ปีมาแล้ว ตั้งอยู่ที่ริมแม่น้ำจระเข้สามพันถึงกลางทางระหว่างแม่น้ำแม่กลอง ท่าจีนและเจ้าพระยา รอบเมืองจะมีแนวคันดินเป็นรูปเมล็ดข้าวสารเป็นถนนโบราณที่มีชื่อว่า ถนนท้าวอู่ทอง และแนวคันดินรูปเกือกม้า เรียกว่า คอกช้างดิน เมืองอู่ทองเต็มไปด้วยร่องรอยหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของผู้คนมาตั้งแต่สมัยตึกดำบรรพ์ ก่อนประวัติศาสตร์ มีตำนานว่าด้วย "ท้าวอู่ทอง" ที่กลายเป็นส่วนหนึงของพงศาวดารการตั้งชาติไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัยและอยุธยาสืบมาจนถึงทุกวันนี้ และได้มีการค้นพบเครื่องมือ หินขัด ภาชนะดินเผา ต่อมาได้พัฒนาตนเองสู่สังคมไม่ว่าจะเป็นการติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติ เช่น เวียดนาม จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง และยุโรป มีบทบาทเป็นศูนย์กลางทางการค้า และเมืองท่าร่วมสมัยกับเมืองออกแก้ว ของประเทศเวียดนาม มีการสันนิษฐานว่าโบราณวัตถุต่างๆ ทั้งลูกปัดแก้ว เหรียญกษาปณ์ เหรียญโรมันสมัยจักรพรรดิวิคโตรินุส ฯลฯ ได้รับอิทธิพลทางศาสนาศิลปกรรมแบบอมราวดีจากอินเดีย รวมถึงประติมากรรมดินเผารูปพระสงฆ์ 3 องค์ อุ้มบาตร และพระพุทธรูปปูนปั้นนาคปรกศิลปะแบบอมราวดีฯลฯ

ศาสตราจารย์ชอง บวสเซอริเยร์ เชื่อว่า เมืองอู่ทอง น่าจะเป็นราชธานีแห่งอาณาจักรสุวรรณภูมิ ที่พระเจ้าอโศกมหาราช ได้ส่งพระสมณฑูต เข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนา และ นายพอล วิทลีย์ เชื่อว่า เมืองจินหลิน ตั้งอยู่ที่เมืองอู่ทอง เป็นรัฐสุดท้ายที่พระเจ้าฟันมัน แห่งอาณาจักรฟูนันปราบได้ เมื่ออาณาจักรฟูนันล่มสลายลง ในปลายพุทธศตวรรษที่ 11 รัฐทวารวดีได้เจริญขึ้นมาแทนที่ ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง นอกจากนี้บันทึกของพระภิกษุเหี้ยนจัง ได้กล่าวถึงอาณาจักรโตโปตี้ หมายถึงทวารวดี ได้มีการค้นพบเหรียญเงินจารึกว่า “ศรีทวารวดี ศวรปุณยะ” ยืนยันการมีตัวตนของอาณาจักรทวารวดี มีเมืองอู่ทองเป็นเมืองหลวง และศูนย์กลางทางศาสนาพุทธ ศาสนาพราหมณ์ และวัฒนธรรมทวารวดี

นักประวัติศาสตร์โบราณคดีทั้งไทยและนานาชาติจำนวนมาก สันนิษฐานว่าหลักฐานการติดต่อสัมพันธ์กับอินเดียโบราณที่ค้นพบที่อู่ทอง มีความเป็นไปได้สูงว่าที่นี่คือ "สุวรรรณภูมิ" ต้นทางพระพุทธศาสนาแห่งเอเซียอาคเนย์

 

Visitors: 110,429