วัดเขาดีสลัก

  วัดเขาดีสลัก

ถ้ามาถึง อู่ทอง แล้ว จะไม่พูดถึงไม่ได้เลยก็คือ วัดเขาดีสลัก เพราะเป็นวัดที่สวยงามสงบเงียบและล้อมรอบไปด้วยธรรมชาติ ต้องลองมาเยือนสถานที่แห่งนี้สักครั้งในชีวิตแล้วคุณจะรู้ว่า ความสงบนั้นมีอยู่จริง คุ้มค่าแก่การเดินทางมาอย่างแน่นอน มีสิ่งก่อสร้างในความเชื่อทางศาสนา ที่มีอายุนับพันปี ที่งดงามทั้งรูปแบบ มากด้วยคุณค่าที่มีเรื่องราวที่น่าศึกษาค้นคว้าในเรื่องความเป็นมา ของประวัติศาสตร์ที่ยังคงปริศนา

โบราณสถานบนเขาดีสลัก (วัดเขาดีสลัก)
โบราณสถานบนเขาดีสลัก (วัดเขาดีสลัก) ตั้งอยู่ในตำบลดอนคา อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี อยู่ห่างจากเมืองโบราณอู่ทองไปทางทิศเหนือประมาณ 10 กิโลเมตร บนยอดเขาดีสลัก มีมณฆปงดงามหลังใหม่สร้างประดิษฐานรอยพระพุทธบาทศิลาสมัยศิลปทวารวดีตอนปลายและยังมีเจดีย์ทรงระฆังที่งดงามอีกด้วย นอกจากนี้ที่หัวบันไดทางขึ้นด้านล่าง มีภาพหินหลักพุทธประวัติด้วยศิลปะอย่างทวารวดี ตั้งแต่ครั้งทวยเทพอันเชิญเสด็จพระโพธิสัตว์มาจุติบนโลก จนกระทั่งดับขัน ปรินิพพาน มีการแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ งดงามมากแม้จะเพิ่งทำขึ้นใหม่ก็ตาม ภายใน วัดเขาดีสลัก ยังมีการพบโพรงหิน ที่มีพระพุทธรูปอยู่ด้านใน รวมทั้ง โบราณวัตถุต่างๆ อีกมากมายหลายชนิดด้วยกัน เป็นพิกัดเที่ยวที่ทั้งสายบุญและสายเที่ยว ชอบเรื่องราวประวัติศาสตร์ น่าจะชอบกันอย่างแน่นอนและวิวทิวทัศน์ด้านบนก็ยังสวยงดงามมากๆ อีกด้วย


บนเขาดีสลักนั้นเป็นที่ตั้งของโบราณสถานสำคัญมากมาย ไม่ว่าจะเป็น

๑. เจดีย์ทรงระฆัง มีที่มาจากหลุมฝังศพในสมัยอินเดียโบราณ คติทางพุทธศาสนาสืบทอดมาใช้สร้างเป็นสถูป (หรือที่เรานิยมเรียกว่าเจดีย์) โดยก่อด้วยศิลา เช่น มหาสถูปที่สาญจีในประเทศอินเดีย ทรงที่คล้ายขันคว่ำ ของมหาสถูปนี่ที่ใช้เวลาราวสองพันปี จึงคลี่คลายมาเป็นเจดีย์ไทย ซึ่งมีทรงคล้ายระฆัง ตั้งอยู่บนยอดเขา ปัจจุบัน พังทลายเหลือแต่ส่วนฐานซึ่งได้รับการบูรณะแล้ว

  เจดีย์ที่ถูกขนานนามว่า ''เจดีย์พันปี'' ด้วยความที่เกิดหลายๆเหตุการณ์เกี่ยวกับเจดีย์องค์นี้ ไม่ว่าจะถูกลักลอบทำลาย  เป็นจำนวนมาก ยอดเจดีย์พังลงมาทั้งหมด ต่อมาราวพุทธศตวรรษที่ 17 ได้ถูกสถาปนาขึ้นเมื่อปี พ.ศ.1893 จึงทำให้สมัยอู่ทองเก่าแก่กว่าอยุธยาถึง 193 ปี สำหรับเจดีย์พันปีที่พูดถึงนี้ มีอายุจริงประมาณ 862 ปี


รูปแบบของเจดีย์องค์นี้ เป็นเจดีย์ทรงระฆังก่ออิฐสอปูน ตั้งอยู่บนลานหินในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ลานหินนี้ก่อด้วยหินปูน ธรรมชาติเพื่อปรับพื้นที่ก่อนการสร้างเจดีย์ มีบันไดขนาดใหญ่ทางด้านทิศตะวันออก และบันไดขนาดเล็กทางด้านทิศ ตะวันตก การปรับพื้นที่ด้วยหินธรรมชาติพบอยู่ทั่วไปสำหรับการสร้างศาสนสถานบนภูเขา ในพื้นที่ใกล้เคียงพบการก่อหินปูนปรับพื้นที่ในลักษณะเดียวกันนี้ ได้แก่ เจดีย์บนเขาทำเทียมใกล้เมืองโบราณอู่ทอง และโบราณสถานบนยอดเขาวงศ์ วัดเขาวงศ์ ตำบลพลับพลาไชย อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

๒. รอยพระพุทธบาทมีลักษณะศิลปะทวารวดีตอนปลายที่ได้รับอิทธิพลศิลปะจากขอม ประดิษฐานอยู่ในมณฑปบริเวณ ไหล่เขา สลักจากหินทรายสีแดงเป็นประติมากรรมแบบนูนต่ำ ไม่ใช่รอยพระพุทธบาทที่สลักเป็นหลุมลึกลงไปแบบรอยเท้ากดประทับ ดังนั้น รอยพระพุทธบาทนี้จึงไม่มีเรื่องราวหรือตำนานว่าด้วยการเสด็จมาประทับของพระพุทธเจ้า แต่เป็นรอย พระพุทธบาทที่สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงพระพุทธเจ้า ซึ่งจัดเป็นอุเทสิกเจดีย์รูปแบบหนึ่ง สำหรับลวดลายที่ปรากฏบนรอยพระพุทธบาท ได้แก่ ลายมงคล ๑๐๘ ประการ ในกรอบวงกลมเต็มฝ่าพระบาท จุดเด่นของพระพุทธบาทวัดเขาดีสลัก คือ พระพุทธภาพนูนขึ้น ไม่ใช่ยุบตัวลงดังเช่นพระพุทธบาทโดยทั่วไป จึงทำให้นักท่องเที่ยวยิ่งหลั่งใหลกันเข้ามา
โดย รอยพระพุทธบาทจำลอง นี้ สร้างขึ้นมาจากแผ่นหินทรายสีแดง รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีลายกลีบบัวโดยรอบพระบาท ขนาดกว้างประมาณ 65.5 ซม. ยาว 141.5 ซม. นักโบราณคดีบางคนก็ว่าเป็น ศิลปะในสมัยทวาราวดี พุทธศตวรรษที่ 14-16 บางคนก็บอกว่าอาจเป็นผลงานที่สร้างในสมัยอยุธยา พุทธศวรรษที่ 19-23 ก็ได้ เพราะมีรูปแบบศิลปะอื่นๆ เข้ามาผสมด้วยนั่นเอง
 ซึ่งในปี พ.ศ. 2535 นายบรรหาร ศิลปอาชา ก็ให้กรมศิลปากรมาทำการพิสูจน์รอยพระพุทธบาท จึงสรุปได้ว่าน่าจะเป็นในช่วงสมัยที่ใกล้เคียงกับพระพุทธบาทที่จังหวัดสระบุรี เลยให้ทางกรมฯ ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุ และสร้างมณฑปบนยอดครอบเอาไว้อย่างสวยงาม

นักวิชาการส่วนใหญ่สันนิษฐานว่าเป็นรอยพระพุทธบาทศิลปะทวารวดีตอนปลาย ที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะเขมรโบราณ กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๗ และมีซากเจดีย์บนยอดเขา
โดยเชื่อกันว่า รอยพระพุทธบาทที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศ ก็คือ รอยพระพุทธบาทที่วัดเขาดีสลักนั่นเองค่ะ เนื่องด้วยที่สร้างขึ้น เมื่อประมาณ ปี พ.ศ.1000-1400 ที่ผ่านมา ซึ่งนับดูแล้ว ก็พันกว่าปีมาแล้ว จึงไม่แปลกเลยที่จะถูกขนานนาม ด้วย คำว่า ''เก่าแก่ที่สุด'' และโบราณสถานแห่งนี้ ได้ถูกลักลอบขุดทำลายเป็นจำนวนมาก จนไม่สามารถระบุรูปทรงได้ สาเหตุนั้นไม่ได้ถูกระบุไว้จึงไม่รู้เหตุผลว่าทำไมถึงถูกลักลอบทำลาย อิฐที่พบเจอส่วนมากก็เป็นอิฐในสมัยอยุธยา อิฐที่มาจากสมัยทวารวดีก็เลยจะพบเจอน้อย แต่สิ่งที่ยังคงหลงเหลืออยู่ก็ยังมีความงดงามอยู่ไม่จาง จึงทำให้นักท่องเที่ยวส่วนมากยังเลือกที่จะมาเยี่ยมชมโบราณสถานแห่งนี้อยู่ไม่ขาด เพราะต้องการจะขึ้นไปชมโบราณสถานต่างๆที่งดงามให้ได้ โดยจะมีบันได กว่า 500 ขั้น เป็นอุปสรรคนั่นเอง

และเนื่องจากสมัยก่อน ศิลปะยังไม่เจริญก้าวหน้ามากนัก จึงไม่สามารถที่จะสร้างรูปเคารพได้ เลยทำให้พุทธศาสนิกชนสร้าง  สัญลักษณ์ทางวัตถุขึ้นแทนเพื่อ เป็นการระลึกถึงพระพุทธองค์ ไม่ว่าจะเป็น ใบโพธิ์ ดอกบัว และพระพุทธบาท

 

ข้อมูล วัดเขาดีสลัก สุพรรณบุรี

  • ที่อยู่ : หมู่ 5 ตำบลดอนคา อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
  • พิกัด : https://goo.gl/maps/zhWHyd4iAQRxrHfr7  
  • เปิดให้เข้าชม : 08.00-16.30 น.
  • เบอร์โทรติดต่อ : 081 197 4974
Visitors: 110,395