ศูนย์กสิกรรม ท่ามะขาม

ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ ท่ามะขาม
***ติดต่อศูนย์กสิกรรมท่ามะขาม
ที่ 213 ม.2 ซอยพัฒนา 1 ต.ท่ามะขาม อ.เมือง จ.กาญจนบุรี 
มือถือ 081-857-2500
และ 081-378-2209
 
ศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน
                 เป็นศูนย์ถ่ายทอดความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ดำเนินงานภายใต้เครือข่ายป่าต้นน้ำ จังหวัดกาญจนบุรี ที่ทำงานด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในจังหวัดกาญจนบุรี เป็นศูนย์ถ่ายทอดองค์ความรู้ โดยนำภูมิปัญญาท้องถิ่น นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ควบคู่ไปกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แก่ชุมชน และบุคคลทั่วไปได้นำไปใช้ในการดำเนินชีวิต รวมถึงความพยายามในการยกระดับและพัฒนางานเกษตรกรรมยั่งยืนของเกษตรรายย่อย และองค์กรชุมชนของภาคตะวันตก ให้มีความเข้มแข็งและเป็นที่ยอมรับในสังคมกว้างจะเห็นได้ว่าในปัจจุบันมีกลุ่มองค์กรต่างๆ ที่หันมาให้ความสนใจและสนับสนุนงานด้านเกษตรกรรมยั่งยืนทั้งภาครัฐและเอกชน


           นางทิวาพร ศรีวรกุล ผู้อำนวยการศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขาม กล่าวว่า ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขาม เกิดมาจากแรงบันดาลใจที่ได้มาจากการดำเนินการรณรงค์ให้เกษตรกรหันมาทำ การเกษตรแบบพึ่งพาตนเอง ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากเดิมที่ตนเองทำงานด้านสิ่งแวดล้อมมานานกว่า 30ปี ตั้งแต่ปี 2520 จนถึงปัจจุบันโดยเป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มอนุรักษ์ป่าเต่าดำ เพื่อเฝ้าระวังการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่า การทำแนวป้องกันไฟป่า และการดูแลรักษาสัตว์ป่าที่บาดเจ็บในพื้นที่ป่าเต่าดำ จังหวัดกาญจนบุรี
                จนกระทั่งปี 240 เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจปี 2540 ทำให้ทิวาพรและเครือข่ายป่าต้นน้ำจ.กาญจนบุรี เกิดแนวคิดเกี่ยวกับการพึ่งพาตนเองภายใต้แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อลดการพึ่งพาป่าให้มากที่สุด โดยพบว่าเกษตรกรทั้งที่อยู่อาศัยรอบๆ ป่าต้นน้ำและเกษตรกรทั่วไปต่างประสบปัญหาที่เหมือนกันคือ มีหนี้สินจากค่าปุ๋ยและยาฆ่าแมลง, สภาพดินเสื่อมโทรมจากปุ๋ยและสารเคมี, มีการบุกรุกพื้นที่ป่าและย้ายพื้นที่เพาะปลูกจากสภาพดินที่เสื่อมโทรม รวมถึงการใช้จ่ายที่ไม่มีการวางแผน ส่งผลให้เกิดการใช้จ่ายสินค้าอุปโภคและบริโภคอย่างฟุ่มเฟือย
 
ล่องแพเปียกกาญจนบุรี
              จากแนวคิดเรื่องการฟื้นฟูและการจัดการทรัพยากรป่าชุมชน การเกษตรอินทรีย์ และเศรษฐกิจพอเพียง ของเครือข่ายป่าต้นน้ำ จ.กาญจนบุรี ทำให้ทิวาพร ผุดต้นแบบการจัดการแหล่งเรียนรู้ ให้เป็นการปรับเปลี่ยนวิถีการผลิตมาเป็นเกษตรธรรมชาติ หรือการวางแผนการใช้ชีวิตที่จะนำไปสู่การพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น จึงได้จัดตั้ง “ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขาม” ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2547 เน้นแนวคิดการพึ่งพาตนเอง ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                จากแนวคิดเรื่องการฟื้นฟูและการจัดการทรัพยากรป่าชุมชน การเกษตรอินทรีย์ และเศรษฐกิจพอเพียง ของเครือข่ายป่าต้นน้ำ จ.กาญจนบุรี ทำให้ทิวาพร ผุดต้นแบบการจัดการแหล่งเรียนรู้ ให้เป็นการปรับเปลี่ยนวิถีการผลิตมาเป็นเกษตรธรรมชาติ หรือการวางแผนการใช้ชีวิตที่จะนำไปสู่การพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น จึงได้จัดตั้ง “ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขาม” ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2547 เน้นแนวคิดการพึ่งพาตนเอง ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


             ปัจจุบันศูนย์กสิกรรมท่ามะขาม ดำเนินงานภายใต้เครือข่ายป่าต้นน้ำ จ.กาญจนบุรี เป็นศูนย์ปราชญ์ชาวบ้าน ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ให้เป็นศูนย์ถ่ายทอดองค์ความรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำเกษตรอินทรีย์แบบธรรมชาติ เปิดเป็นศูนย์ฝึกอบรมด้านปฏิบัติการ มีการลงแปลงสาธิตจริง สามารถนำกลับไปทำเองได้ เน้นการพึ่งพาตนเองอย่างเป็นระบบ และมองการเชื่อมโยงของปัจจัยต่างๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้อง หวังให้เป็นอีกทางเลือกของความอยู่รอดของชุมชน

ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขาม

              สำหรับการฝึกอบรมและให้ความรู้ด้านการทำการเกษตรแบบยั่งยืน ทางศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขาม บนเนื้อที่ทั้งหมด 14 ไร่ ได้แบ่งฐานเรียนรู้ทั้งหมดออกเป็น 6 ฐาน คือ

      1. ฐานเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
      2. ฐานเกษตรธรรมชาติ
      3. ฐานปุ๋ยชีวภาพ สมุนไพรไล่แมลง
      4. ฐานก๊าซชีวภาพ 6.ฐานน้ำส้มควันไม้
      5. ฐานการแปรรูปอาหาร และอาหารสัตว์ เป็นฐานการเรียนรู้วิธีการทำแหนมปลา ปลาส้ม ขนมกุยไช และข้าวเกรียบฟัก
ทอง และเรียนรู้การผลิตอาหารให้กับสัตว์ โดยใช้วัสดุที่มีอยู่ในชุมชน
      6.ฐานน้ำยาอเนกประสงค์
      นับเป็นอีกหนึ่งผลงานของหญิงแกร่งที่ไม่นิ่งดูดายกับความยากลำบากของชาวบ้าน แต่มุ่งพัฒนาผืนดินให้อุดมสมบูรณ์พร้อมให้ความรู้ด้านอาชีพแก่ชาวบ้าน ให้สามารถพึ่งตนเองเดิมตามรอยเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างสมบูรณ์แบบ

ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขาม กาญจนบุรีศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขาม กาญจนบุรี
     เป้าหมาย
  มุ่งเน้นการเสริมสร้างศักยภาพคนในชุมชนเมืองและชนบทให้รู้จักพึ่งพิงตนเองเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันจากสิ่งรุกเร้าภายนอกให้ชุมชนสามารถดำเนินชีวิตที่สอดคล้องกับธรรมชาติเป็นแนวทางไปใช้ปฏิบัติได้เหมาะสมตามภูมินิเวศ และสภาพแวดล้อมซึ่งเป็นพื้นฐานในการพัฒนาศักยภาพของตนเองครอบครัวและชุมชน
 
 
    วัตถุประสงค์
1.เพื่อเป็นศูนย์ค้นคว้าวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อการกสิกรรม การเพาะเลี้ยงสัตว์ การพลังงาน แพทย์เภสัชกรรม การจัดการสิ่งแวดล้อมโดยใช้ภูมิปัญญาตะวันออก
2.เพื่อเป็นศูนย์ฝึกอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้ ด้านเกษตรอินทรีย์ เพื่อการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนโดยยึดแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงให้กับเกษตรกรนักเรียน ข้าราชการ ประชาชน
3.เพื่อเป็นศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีประจำจังหวัด
4.เพื่อเป็นสถานที่จัดทำแปลงสาธิต ในเรื่องการนำเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้กับสมุนไพร พืชผักสวนครัว และเป็นแปลงตัวอย่างให้กับกลุ่มเกษตรกรในท้องถิ่น และเกษตรกรอื่นๆ ที่สนใจ
5.เพื่อเป็นสถานที่ท่องเที่ยวให้กับผู้ที่สนใจทางด้านการเกษตรแบบธรรมชาติ เข้ามาแวะและแสวงหาความรู้ฐานเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชี้แนวทาง “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” เน้นการผลิตให้เพียงพอกับความต้องการบริโภค ในครัวเรือนเป็นหลัก เหลือจากการบริโภคจึงคิดถึงการผลิตเพื่อการค้า โดยสร้างสิ่งอุปโภคบริโภคในที่ดินเปล่าของตนเอง เช่น ข้าว น้ำ ปลา ไก่ ผลไม้ พืชผัก ฯลฯ หากเป็นชุมชนเมืองส่วนใหญ่ ก็มีปัญหาด้านการจัดการขยะ ก็ต้องมาดูเรื่องการคัดแยกขยะ ที่ต้องเริ่มตั้งแต่ครอบครัวและขยายสู่ชุมชนประโยชน์ที่เกิดขึ้นจึงไม่ได้หมายถึงรายได้อย่างเดียวหากยังรวมถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ของชุมชนบนพื้นฐานของภูมิปัญญาท้องถิ่น
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขาม กาญจนบุรีศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขาม กาญจนบุรี


ศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรและพลังงานทางเลือกกาญจนบุรี
   เป็นศูนย์ที่ต่อยอดมาจากศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขาม ซึ่งนับเป็นเวลามากกว่าสิบปีแล้วที่ได้ก่อตั้งศูนย์นี้ขึ้นมา ทางศูนย์ได้มีการจัดตั้งโครงการพลังงานสร้างอาชีพแบบผสมผสาน โดยนำเอาพลังงานหลายรูปแบบ ทั้งพลังงานจากแสงอาทิตย์ และพลังงานจากขยะ มาบริหารจัดการกิจกรรมภายในศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีการเกษตร และในกระบวนการผลิตต่างๆ ที่จะเชื่อมโยงทั้งภาคเกษตรกรรมและพลังงานเข้าด้วยกัน ทำให้ชาวบ้านในชุมชนขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ บริเวณใกล้เคียง ได้มีอาชีพและรายได้ สามารถพึ่งพาตนเองได้มากยิ่งขึ้น และสามารถนำพลังงานรอบตัวเรามาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด

1. เครื่องเผาถ่าน สร้างโดยคุณยุทธการ ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีการเกษตร นอกจากจะได้ถ่านเผามาใช้แล้ว เครื่องนี้ยังสามารถผลิตน้ำส้มควันไม้ ซึ่งสามารถนำไปฉีดไล่แมลงแทนการใช้สารเคมีในแปลงเกษตรอินทรีย์ผสมผสานในศูนย์กสิกรรมได้อีกด้วย

เครื่องเผาถ่าน ศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรและพลังงานทางเลือกกาญจนบุรี
2. โครงการผลิตน้ำมันจากขยะพลาสติก โดยจะนำขวดพลาสติก ฝาขวด และถุงพลาสติก มาใส่ในเครื่อง ก็จะได้น้ำมันจากขยะพลาสติก หากใครสนใจจะบริจาคขยะพลาสติก ทางศูนย์กสิกรรมก็รับบริจาคเช่นเดียวกัน แต่ต้องล้างให้สะอาดก่อนจะส่งมาที่ศูนย์นะคะ

โครงการผลิตน้ำมันจากขยะพลาสติก ศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรและพลังงานทางเลือกกาญจนบุรี
3. เม็ดดินเผามวลหนัก เกิดจากการนำดินมาเผาร่วมกับน้ำมันที่ได้มาจากขยะพลาสติก อัดเป็นเม็ดดินที่เป็นก้อนกลมๆ แข็งๆ ซึ่งจะสามารถนำมาปลูกไม้ประดับโดยไม่ต้องใส่ปุ๋ยเลยล่ะค่ะ

เม็ดดินเผามวลหนัก ศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรและพลังงานทางเลือกกาญจนบุรีเม็ดดินเผามวลหนัก ศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรและพลังงานทางเลือกกาญจนบุรี

4. โครงงานผลิตน้ำแข็งจากพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเครื่องทำน้ำแข็งนี้ก็ผลิตโดยคุณยุทธการอีกเช่นเดียวกัน ได้มีการใช้พลังงานโซลาเซลล์เข้ามาผสมผสานในกระบวนการการผลิต ทำให้ไม่ต้องใช้ไฟฟ้า ก็ได้น้ำแข็งทั้งหลอดเล็กและหลอดใหญ่มาใช้และขาย

โครงงานผลิตน้ำแข็งจากพลังงานแสงอาทิตย์ ศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรและพลังงานทางเลือกกาญจนบุรี
5. ตู้แช่ผักพลังงานร่วมแสงอาทิตย์ มีการใช้พลังงานโซลาเซลล์แทนไฟฟ้า ในการควบคุมอุณหภูมิของตู้เย็น ทำให้ลดการใช้ไฟฟ้าได้

ตู้แช่ผักพลังงานร่วมแสงอาทิตย์ ศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรและพลังงานทางเลือกกาญจนบุรี
6. ร้านกาแฟพลังงานร่วมแสงอาทิตย์ มีการใช้พลังงานไฟฟ้าจากโซลาเซลล์เพื่อเป็นพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ภายในร้าน ทั้งน้ำตกที่ใช้ตกแต่ง ทางศูนย์กสิกรรมได้ใช้พลังงานโซลาเซลล์ แทนการใช้ไฟฟ้าในการปั๊มน้ำตกจำลองขึ้นมาจากในบ่อ ทั้งนี้ภายในร้านกาแฟยังมีน้ำสมุนไพรให้ลองทานอย่าง “น้ำกระชายผสมน้ำผึ้ง” ที่ใช้วัตถุดิบในศูนย์เอง มาผลิตเป็นน้ำให้เราได้ลิ้มลองกันอีกด้วย

ร้านกาแฟพลังงานร่วมแสงอาทิตย์ ศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรและพลังงานทางเลือกกาญจนบุรี
   นอกจากนี้ยังมีการใช้เครื่องสูบน้ำที่ใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ ส่งน้ำผ่านสปริงเกอร์เพื่อใช้รดน้ำพืชผักในแปลงเกษตรอินทรีย์ผสมผสานภายในศูนย์กสิกรรม นับได้ว่าเป็นการทำงานร่วมกันของภาคเกษตรกรรมและพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อชุมชนใกล้เคียง

ศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรและพลังงานทางเลือกกาญจนบุรี
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 085-539-5569 คุณยุทธการ 

ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรและพลังงานทางเลือกกาญจนบุรี
เปิดทุกวันเวลา 08.00 น. – 17.00 น.

ขอบพระคุณข้อมูล 
http://www.duenshine.com
https://www.manager.co.th

กาญจนบุรี 3 วัน 2 คืน (K302)
ทีมงาน กาญจนบุรี

  • เนินพอกิน
    *****ประกาศปัจจุบัน ศูนย์การเรียนรู้เนินพอกิน ขาดวิทยากรคอยให้ข้อมูล เนื่องจากปรับเปลี่ยนให้เป็นแหล่งการผลิตหากผู้ที่สนใจเข้าศึกษาดูงานให้ติดต่อไปที่ชมรมเพื่อนช่วยเพื่อน พุทธสถานปฐ...

  • มูลนิธิพัฒนรักษ์
    “ มูลนิธิพัฒนรักษ์ ” หนาวนี้มีโอกาสไปเยือนสังขละบุรีน่าจะไปสัมผัสวิถีชุมชนของกลุ่มคนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงและมอญ พร้อมกับการเรียนรู้กิจกรรมดีๆ ด้วยวิถีพอเพียงตามแนวพระราชดำริภายใ...

  • หนองสาหร่าย-01.jpg
    ชุมชนตำบลหนองสาหร่ายต.หนองสาหร่าย อ.พนมทวน จ. กาญจนบุรีโทร 089 083 1060 คุณปลา เชื่อว่าหลายๆ คนคงจะเคยได้ยินคำว่า “เงิน ซื้อไม่ได้ทุกอย่างในชีวิต” แต่แทบทุกอย่าง...
Visitors: 109,846