ข้อมูลพื้นฐานเมืองมะริด

ลักษณะกายภาพของเมืองมะริด
มะริด หรือ มเยะ (Mergui, Myeik) ก่อตั้งเมื่อปี  พ.ศ.1820 เกิดขึ้นในช่วงสมัยสุโขทัย คนไทยเรียกว่า เมืองมะริด (Myeik) แต่คนอังกฤษเรียกว่าเมืองเมอร์กุย (Mergui) ความหมายของเมืองมะริดของไทย คือ เสาที่ใช้ผูกม้า แต่ในความหมายของเมียนมาร์ หมายถึง พื้นที่ขายขอบหรือพื้นที่ตอนใต้สุดของประเทศ ทั้งนี้เมืองมะริดถือเป็นเมืองที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นเมืองที่พ่อค้าต่างประเทศทางอินเดียและยุโรปนำสินค้าจากทางเรือขึ้นมาค้าขายในเมืองไทย อาจกล่าวได้ว่า ในเมืองมะริดนับเป็นเมืองที่มีความมั่นคง หรือ เมืองที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจสูงสุดของเขตตะนาวศรี 
 
ลักษณะภูมิศาสตร์
     - เมืองมะริด ตั้งอยู่ในเขตตะนาวศรี ( Tanintharyi Division / หรือชื่อเดิมชื่อ Tenasserim Division) ทางตอนใต้ของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมือนมาร์ ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ในแผนที่ มีรูปร่างเหมือนนกยูง ซึ่งเขตตะนาวศรี คือ ขาของนกยูงที่สวยสง่า และ เป็นขาที่เป็นฐานรากสร้างความมั่นคงและมั่งคั่งให้กับนกยูงหรือเมียนมาร์ทั้งประเทศ
    - เมืองมะริด อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 85 ฟุต มีอาณาเขตติดต่อด้านตะวันตกติดทะเลอันดามัน ด้านใต้ติดต่อกับเมืองเกาะสอง หรือ กอตอง/วิคตอเรียพอยต์ (Kawthaung, Victoria Point) และด้านเหนือติดต่อกับเมืองทวาย หรือ ดะแว(Dawei , Tavoy) ด้านตะวันออกติดกับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประเทศไทย 
   - มะริด มีพื้นที่ 7,783 ตารางไมล์ ประกอบด้วยเกาะประมาณ 800 เกาะ ซึ่งเป็นแหล่งดำน้ำ ที่สวยงามที่สุดติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก ลักษณะพื้นที่เมืองมะริด เป็นพื้นที่แนวเทือกเขาสีเขียวขจี และดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งทรัพยากรประมง พื้นที่เพาะปลูกพื้นเศษรฐกิจสำคัญ ก๊าซธรรมชาติ แร่ธาติ อัญมณี และ แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ มีแม่น้ำตะนาวศรีไหลผ่านพื้นที่เมืองมะริด ซึ่งเป็นแม่น้ำที่หล่อเลี้ยงชีวิตของคนเมืองมะรีด จากนั้นจะไหลออกสู่ทะเลอันดามัน
 
สังคมและวัฒนธรรม
     เมืองมะริดเป็นศูนย์กลางเขตตะนาวศรี มีประชากรประมาณ 770,000 คน ( ปี 2555) ประชากรเฉลี่ย ครอบครัวละ 6 คน อาศัยในชุมชนเมือง ในหมู่บ้านต่างๆและบนเกาะ ส่วนใหญ่มีเชื้อสายของชนกลุ่มน้อย เช่น เมียนมาร์ จีน กะเหรี่ยง อินเดีย มอญ และ ซะโลน (ตามหมู่เกาะ) ซึ่งประกอบอาชีพเกษตรกร ประมงเป็นหลักพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ยางพารา ปาล์ม และมะพร้าว ส่วนการเพาะปลูกพืชอายุสั้น ได้แก่ มะละกอ กล้วย พริก บางส่วนทำการผลิตกะปิ การเก็บรังนกและการทำฟาร์มหอยไข่มุก ส่วนน้อยเดินทางมาค้าขายในด่านชายแดน ในรูปแบบเช้าเย็นกลับ แต่ก็ยังมีบางคนที่ได้รับการยกเว้นเดินทางเข้าออกได้ตลอดเวลา เช่น คนถือสองสัญชาติ ถือบัตรประชาชนทั้งพม่าและไทย ซึ่งสามารถสื่อสารพูดไทยได้ คนเมืองมะริดพูดภาษา
เมียนมาร์ ที่แตกต่างจากพื้นที่อื่นๆ โดยเป็นภาษาเมียนมาร์เฉพาะพื้นถิ่น ที่ยากต่อการเข้าใจของคนทั่วไป
 
การเมืองการปกครอง
    การปกครองท้องถิ่นของเมืองมะริด แบ่งออกเป็น 6 พื้นที่ คือ มะริด กองซู ตะนินทะยี ปาลอ มอเต่า(มูต่อง) และปาลัง 

ข้อมูลเมืองมะริด

หมู่บ้านมูต่อง
(Maw-Danung)
เป็นหมู่บ้านติดกับด่านสิงขรชายแดนไทย อยู่ห่างไปทางทิศตะวันตกประมาณ 1.8 กิโลเมตร ซึ่งก่อนเข้าถึงพื้นที่ฝั่งพม่าจะมีศาลของเจ้าพ่อหินกอง ซึ่งทั้งคนไทยและ คนเมียนมาร์ เคารพนับถือ ทางเข้าหมู่บ้านมีหน่วยทหารพม่าประจำอยู่ที่ชายแดน เป็นจุดตรวจของเมียนมาร์ จากจุดตรวจเข้าไปประมาณ 800 เมตร จะถึงหมู่บ้านมูด่อง มีประชากรประมาณ 5,000 คน อาชีพหลัก คือ ทำสวน ทำไร่ ค้าขาย และชาวบ้านส่วนหนึ่งเดินทางเข้ามาทำงานในฝั่งไทยแบบเช้าไปเย็นกลับ จำนวนประมาณวันละ 100 กว่าคน เป็นหมู่บ้านที่อยู่บนเชิงเขา  ถนนหนทางที่นี่ยังต้องปรับปรุงอีกเยอะเพราะเป็นหลุมเป็นบ่อ 
 อำเภอเมืองมะริด : การค้าภายในตัวเมืองมะริด มีการเติบโตทางการค้าเพิ่มขึ้นทุกปี การค้าระหว่างไทย - มะริด ส่วนใหญ่
จะเป็นส่งออกอาหารทะเลและนำเข้าเชื้อเพลิง โดยในลักษณะคู่ค้าเป็นเวลานานแล้ว เหมือนเป็นพี่เป็นน้องที่มีความเชื่อมั่นต่อกัน  และ ในอนาคตมีนโยบายในการพัฒนาการค้าชายแดนกับเพื่อนบ้านมากขึ้นทั้งบริการและการท่องเที่ยว
 
ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน
♦ ไฟฟ้า 
ระบบไฟฟ้าไม่เสถียร มีกระแสไฟฟ้าตกและดับเป็นระยะๆ ในการผลิตไฟฟ้านั้น เดิมรัฐบาลรับผิดชอบจ่ายไฟฟ้าและกำหนดเวลาจ่ายไฟฟ้า ปัจจุบันมีโรงผลิตไฟฟ้าดำเนินการโดยผู้ผลิตรายย่อยและการรวมตัวของชุมชน จำนวน 13 แห่ง เนื่องจากมีปัญหาการผลิตไฟฟ้าไม่เพียงพอ ในภาคอุตสาหกรรมจึงต้องมีการปั่นไฟใช้เอง จึงมีแนวโน้มว่าภาคเอกชน จากฝั่งไทยจะเข้าไปลงทุนผลิตไฟฟ้าในมะริด 
♦ ประปา
ผลิตจากแห่งน้ำตามธรรมชาติ ที่มีกระจายอยู่ตามแหล่งเพาะปลูกสำคัญ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง โดยการกั้นน้ำเป็นอ่างเก็บน้ำ ส่วนน้ำดื่มซื้อจากประทศไทยทางด่านสิงขน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
♦ ระบบโทรศัพท์
มีโทรศัพท์และ WIFI ใช้ระบบของประเทศไทย โดยการตั้งเสารับสัญญาณที่หมู่บ้านมูด่อง ซึ่งผู้ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มผู้มีฐานะ
♦ ธนาคาร
ปัจจุบันมีธนาคารของรัฐบาลและธนาคารพาณิชย์ให้บริการในพื้นที่เมืองมะริด ซึ่งขณะนี้ เมียนมาร์กำลังพัฒนระบบธนาคารให้ทำธุรกรรมผ่านธนาคารได้
♦ ด้านภาษี 
ในเมียนมาร์ยังไม่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่มีภาษีศุลกากรซึ่งมีอัตราเดียวกัน 

การพัฒนาในอนาคตจะมีการพัฒนาเป็นเมืองที่สมบูรณ์ขึ้น โดยรัฐบาบสนับสนุนการพัฒนาและปรับปรุงเส้นทางโลจิสติกส์ รวมทั้งการสื่อสาร เพื่อเตรียมความพร้อมในการค้ากับประเทศไทย โดยเฉพาะการค้าสัตว์และเตรียมการส่งออกไม้ โดยดำเนินการจัดตั้ง One Stop Service ณ บริเวณหมู่บ้านมู่ด่อง 

เส้นทางการคมนาคมของมะริด 
♦ ทางบก
เมืองมะริดห่างจากกรุงย่างกุ้ง 500 ไมล์ หรือ 800 กิโลเมตร ใช้ระยะเวลาการเดินทางทางถนนด้วยเส้นทางหลวงแผ่นดินประมาณ 26 ชั่วโมง
เมืองมะริดห่างจากเมืองเกาะสอง 302 ไมล์  หรือ  512  กิโลเมตร ใช้ระยะเวลาการเดินทางด้วยเส้นทางถนนหลวงแผ่นดินประมาณ 24 ชั่วโมง
เมืองมะริดห่างจากเมืองมูด่อง 118 ไมล์  หรือ 190 กิโลเมตร ใช้ระยะเวลาการเดินทางทางถนนด้วยเส้นทางหลวงแผ่นดินประมาณ 5 ชั่วโมง 
♦ ทางเรือ
มีเส้นทางเดินเรือจากเมืองมะริดไปกรุงย่างกุ้ง รวมระยะทาง 340 ไมล์ทะเล เดินทางด้วยเรือโดยสาร ใช้เวลาประมาณ 24 ชั่วโมง เรือเร็ว (Speed Boat) ใช้เวลาเพียง 11 ชั่วโมง 
♦ ทางอากาศ
จากเมืองมะริดไปยังกรุงย่างกุ้ง ระยะทาง 302 ไมล์อากาศ ใช้เวลาบิน 1.25 ชั่วโมงมีสายการบิน 4 เที่ยวต่อวัน ส่วนเส้นทางมะริด-เกาะสอง ใช้เวลาบินเพียง 30 นาที

  • แหล่งท่องเที่ยว (3).jpg
    แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจด้วยทําเลที่ตั้งที่อยู่ติดชายฝั่งทะเล รวมทั้งมีภูมิประเทศที่สวยงาม ตลอดจนวัฒนธรรมที่เก่าแก่ ทําให้ เขตตะนาวศรีมีเสน่ห์ในการดึงดูดนักท่องเที่ยว โดยมีแหล่งท่...

  • 2.jpg
    ศักยภาพของเมืองมะริด เมืองมะริด มีทรัพยากรธรรมชาติทั้งบนบกและทางทะเลที่อุดมสมบูรณ์ ตลอดจนมีอุตสาหกรรมสัตว์น้ำที่โดดเด่น เป็นเมืองท่าการประมงและศูนย์กลางการค้าไข่มุกที่สำคัญของเมียน...

  • 3.jpg
    การประมง เมืองมะริดมีชายฝั่งทะเลที่ยาว ทำให้มีทรัพยากรการประมงที่อุดมสมบูรณ์ และยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ เช่น ปลา ปู กุ้งมังกร ทั้งกระดาน แมงกะพรุน และยังเป็นแหล่งอุตสาหกรรม...

  • Navy Blue Nature Photo Collage Men Travel Twitter Post.jpg
    แหล่งท่องเที่ยวมะริด"เกาะฮันนีมูน เกาะใหม่ทะเลพม่า" ในช่วง 2- 3 ปีที่ผ่านมา ทางพม่าเปิดเกาะใหม่ๆ เยอะมากและสวยทุกที่ เพราะทางรัฐบาลพม่า นำโดยกระทรวงการท่องเที่ยวและโรงแรม (Ministry...
Visitors: 110,211