ทรัพยากรธรรมชาติ ด้านต่างๆในเมืองมะริด

ศักยภาพของเมืองมะริด
เมืองมะริด มีทรัพยากรธรรมชาติทั้งบนบกและทางทะเลที่อุดมสมบูรณ์ ตลอดจนมีอุตสาหกรรมสัตว์น้ำที่โดดเด่น เป็นเมืองท่าการประมงและศูนย์กลางการค้าไข่มุกที่สำคัญของเมียนมาร์ โดยกิจกรรมทางเศรษฐกิจหลัก ประกอบด้วย การประมง การเกษตรกรรม และธุรกิจบริการ
 
แร่ธาตุและอัญมณีมีค่า
แร่ธาตุที่พบมากในเมืองมะริด ได้แก่ ดีบุกและทังสเตน โดยเขตตะนาวศรี สามารถผลิตดีบุกและทังสเตนได้มากถึง 62 % ของผลผลิตทั้งหมดในเมียนมาร์ ดังนั้น จึงพบเห็นการทำเหมืองแร่อยู่ทั่วไปในเขตนี้
อัญมณีมีค่าที่โดดเด่นและมีชื่อเสียงมาก ได้แก่ ไข่มุก พบมากในบริเวณทะเลรอบเกาะ Pale , Mali และ Shwe ของหมู่เกาะมะริด ซึ่งมะริดถือเป็นแหล่งผลิตไข่มุกที่สำคัญ สามารถผลิตไข่มุกรวมกันได้มากที่สุด ทั้งนี้ไข่มุกส่วนใหญ่ที่ผลิตได้ เป็นไข่มุกชนิด South Sea ซึ่งเป็นไข่มุกที่มีราคาแพงและหายากที่สุดในบรรดาไข่มุกที่มีการค้าขายกัน ( ไข่มุกที่มีการค้าขายกันมากในตลาดโลกมี 4 ชนิด ได้แก่ Fresh Water Pearl , AKoya Pearl (พบมากในญี่ปุ่น)  Black Pearl (พบมากที่เกาะ Tahiti ของเฟรนซ์โปลินีเซีย) และ South Sea Pearl) โดยมีตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ญี่ปุ่น และบางส่วนได้ถูกส่งไปประมูลในงานแสดงและประมูลอัญมณี( Myanmer Gems Emporium) ที่กรุงย่างกุ้ง ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ปีละ2 ครั้ง คือในเดือนมีนาคมและเดือนตุลาคม ของทุกปี และสามารถสร้างรายได้เงินตราต่างประเทศได้เป็นจำนวนมาก
ในการทำฟาร์มเลี้ยงหอยมุกในเขตตะนาวศรี มีบริษัท ต่างชาติจากญี่ปุ่น ออนเตรเลีย และไทยเข้ามาร่วมลงทุนกับทางการพม่า ทั้งนี้เมื่อปี 2544 บริษัท Myanmar Andaman Pearl ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง Myanmar Pearl Enterprise 
ของทางการเมียนมาร์ และบริษัทของไทย ได้ค้นพบไข่มุกมีขนาดใหญ่ซึ่งมีน้ำหนักมากถึง 169 กรัม และยังมี ไข่มุกสีทองสุก 
(Deep Golden Pearl) จากหมู่เกาะมะริด เป็นที่รู้จักกว้างไกลไปทั่วโลกการเพาะเลี้ยงไข่มุกทำกันมากที่สุดในเขตหมู่เกาะมะริด 
ใต้ลงไปในทะเลอันดามัน หมู่เกาะแห่งนี้ มีเกาะใหญ่น้อยราว 800 เกาะ เนื้อที่รวมกันทั้งหมด 25,600 ตารางกิโลเมตร ส่วนใหญ่ยังคงเป็นเกาะธรรมชาติ
5 ประเทศที่ผลิตไข่มุกมากที่สุดในโลก ประกอบไปด้วย
1. ออสเตรเลีย
2. ญี่ปุ่น
3. จีน
4. ฟิลิปปินส์

5. พม่า (ผลิตไข่มุกสีทองสุกมากที่สุดในโลก แบบ organic ของแท้ 100%)

ข้อมูลเมืองมะริด

เกษตรกรรม
     เมืองมะริดตั้งอยู่ในเขตมรสุมเขตร้อน และมีภูมิอากาศแบบร้อนชื้น ทำให้อบอุ่นทั้งปี และมีฝนตกค่อนข้างชุดจึงเหมาะแก่การเพาะปลูกพืชหลายชนิด เช่น ข้าว สับปะรด ส้ม มะนาว มังคุด มะม่วงหิมพานต์ ฯลฯ สำหรับพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของเมืองมะริด รวมทั้งเขตตะนาวศรี ได้แก่ ยางพารา และปาล์มน้ำมัน 
ยางพารา
เมื่อพิจารณาตามแผนยุทธศาสตร์ยางพาราของเมียนมาร์ ระยะเวลา 30 ปี (ปี 2543-2573) รัฐบาลเมียนมาร์ ได้กำหนดให้เขตตะนาวศรีเป็นเขตเศรษฐกิจการเกษตร โดยเน้นปลูกยางพาราเป็นหลัก และมีแผนจะขยายพื้นที่อย่างต่อเนื่อง เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบป้อนอุตสาหกรรมภายในประเทศ เช่น อุตสาหกรรมถุงมือ อุตสาหกรรมรองเท้า และสร้างรายได้จากการส่งออก เนื่องจากความต้องการใช้ยางพาราในตลาดโลกยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 
ปาล์มน้ำมัน
ปาล์มน้ำมันที่ปลูก จะมี สายพันธุ์คอสตาริก้า (Costa Rica) สายพันธุ์ในจีเรีย (Nigeria) ซึ่งไม่มีการเพาะพันธุ์ต้นกล้า กล้าทั้งหมดจะต้องสั่งซื้อจากมาเลเซีย โดยนำเข้าจากปีนัง ผ่านมายังมะริด จะให้ผลผลิตภายใน 4 ปี ส่วนปุ๋ยและยาฆ่าแมลงนำเข้าจากประเทศไทย และจ้างนักวิชาการไทย ทำหน้าที่ดูแลให้คำปรึกษา ลงพื้นที่ตรวจเป็นครั้งคราว

  • แหล่งท่องเที่ยว (3).jpg
    แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจด้วยทําเลที่ตั้งที่อยู่ติดชายฝั่งทะเล รวมทั้งมีภูมิประเทศที่สวยงาม ตลอดจนวัฒนธรรมที่เก่าแก่ ทําให้ เขตตะนาวศรีมีเสน่ห์ในการดึงดูดนักท่องเที่ยว โดยมีแหล่งท่...

  • แหล่งท่องเที่ยว (1).jpg
    ลักษณะกายภาพของเมืองมะริด มะริด หรือ มเยะ(Mergui, Myeik) ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.1820 เกิดขึ้นในช่วงสมัยสุโขทัย คนไทยเรียกว่า เมืองมะริด (Myeik) แต่คนอังกฤษเรียกว่าเมืองเมอร์กุย (Mergui...

  • 3.jpg
    การประมง เมืองมะริดมีชายฝั่งทะเลที่ยาว ทำให้มีทรัพยากรการประมงที่อุดมสมบูรณ์ และยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ เช่น ปลา ปู กุ้งมังกร ทั้งกระดาน แมงกะพรุน และยังเป็นแหล่งอุตสาหกรรม...

  • Navy Blue Nature Photo Collage Men Travel Twitter Post.jpg
    แหล่งท่องเที่ยวมะริด"เกาะฮันนีมูน เกาะใหม่ทะเลพม่า" ในช่วง 2- 3 ปีที่ผ่านมา ทางพม่าเปิดเกาะใหม่ๆ เยอะมากและสวยทุกที่ เพราะทางรัฐบาลพม่า นำโดยกระทรวงการท่องเที่ยวและโรงแรม (Ministry...
Visitors: 109,789