วัดพุทธกาญจนมุนี  (วัดวังปลาหมู จังหวัดกาญจนบุรี)

วัดพุทธกาญจนมุนี (วัดวังปลาหมู)
ที่อยู่   บ้านวังปลาหมู หมู่ที่ 6 ตำบลหนองหญ้า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี

สังกัด  คณะสงฆ์มหานิกาย 
โทร.   063 546 9499
เปิดทุกวัน
ไหว้บูชาในถ้ำเวลา  09.30 - 16.00 น.

 

 

 

วัดพุทธกาญจนมุนี (วัดวังปลาหมู)
     เล่ากันว่าช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ราว พ.ศ. 2484 ชาวบ้านวังปลาหมู และชาวบ้านดงยาง พร้อมด้วยชาวบ้านโป่งนก ได้ร่วมมือร่วมใจกันสร้างที่พักสงฆ์ขึ้น ณ บริเวณเชิงเขาหน้าถ้ำบ้านวังปลาหมูเพื่อเป็นที่ประกอบศาสนกิจและพิธีการทางศาสนาได้(ถ้ำแห่งนี้เคยเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ยุคหินเพราะมีการค้นพบซากโครงกระดูกมนุษย์ยุคหินพร้อมเครื่องมือเครื่องใช้จำพวกขวานหิน เครื่องปั้นดินเผา จำนวนมาก) เมื่อสร้างที่พักสงฆ์เสร็จเรียบร้อยแล้วก็นิมนต์พระมาจำพรรษา แต่ก็หาพระที่อยู่จำพรรษานานๆไม่ค่อยได้ สาเหตุเพราะว่าหมู่บ้านอยู่ไกลจากตัวเมืองกาญจน์มาก การเดินทางก็ไม่สะดวกต้องเดินด้วยเท้าหรือไม่ก็ต้องโดยสารเรือจากปากแพรก(หน้าเมือง) บางปีไม่มีพระจำพรรษาเลยจึงเป็นวัดร้างในบางครั้ง เป็นอย่างนี้เรื่อยมา จนกระทั้งในปี พ.ศ. 2507 ช่วงเดือนเมษายน ได้มีพระภิกษุจำนวน 4รูป ดังนี้ พระบุญเลิศ จตฺตมโล พระหรั่ง ฐีตสีโล (พระครูถาวรวรวิหารคุณ เจ้าอาวาสวัดบางบอน กรุงเทพฯ) พระจิตติ อุตฺตมาจาโร และพระสุวรรณ กิตติธโร ธุดงค์มาจากวัดสุทธาราม กรุงเทพฯ มาพำนักปฏิบัติธรรมเจริญกรรมฐานภายในถ้ำบริเวณที่พักสงฆ์บ้านวังปลาหมู คณะสงฆ์ได้อบรมธรรมะและสอนหลักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแก่ชาวบ้านจนเกิดความเลื่อมใสศรัทธา จึงพร้อมใจกันอาราธนา นิมนต์พระภิกษุสงฆ์ทั้ง 4 รูปให้อยู่จำพรรษาที่วัด พระท่านก็รับนิมนต์และตัดสินใจจะร่วมกับชาวบ้านสร้างเป็นวัดที่ถาวรขึ้น โดย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2516  เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร มีเนื้อที่ 28 ไร่ ปัจจุบันวัดวังปลาหมูได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนชื่อจากวัดวังปลาหมู เป็น “วัดพุทธกาญจนมุนี” เหตุผลการขอเปลี่ยนแปลงชื่อวัด มีดังนี้   

      1.)เปลี่ยนชื่อให้ตรงกับชื่อพระประธานภายในโบสถ์
    2.)ปัจจุบันบ้านวังปลาหมูได้มีการพัฒนาหมู่บ้านและประชากรเพิ่มมากขึ้น ประกอบด้วย 3 หมู่บ้าน วัดจึงควรมีชื่อเป็นกลางเพื่อให้เกิดความสามัคคีไม่เป็นชื่อหมู่บ้านใครหมู่บ้านหนึ่ง
 

                                          



ประวัติหมู่บ้านวังปลาหมู
     บ้านวังปลาหมู เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแควน้อย มีชาวบ้านตั้งบ้านเรือนอาศัยไม่มากนัก ประกอบอาชีพการเกษตรและหาของป่า สาเหตุที่ได้ชื่อบ้านวังปลาหมูเพราะว่าบริเวณคุ้มน้ำหน้าหมู่บ้านเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของปลาหมูจำนวนมากมาย   ชาวบ้านจึงเรียกบริเวณคุ้มน้ำนั้นว่าวังปลาหมู ซึ่งคำว่า “วัง” หมายถึงแหล่งที่อยู่อาศัยของปลาจำนวนมากๆ ปลาหมู มีรูปร่างโดยรวม คือ ป้อมสั้น เกล็ดมีขนาดเล็กละเอียด นัยน์ตาไม่มีหนังปกคลุม ใต้นัยน์ตามีเงี่ยงแข็งปลายสองแฉกอยู่หนึ่งชิ้น ซึ่งเมื่อกางออกมาแล้วจะตั้งฉากกับแก้ม จุดเริ่มต้นของครีบหลังอยู่หน้าหรือตรงข้ามกับจุดเริ่มต้นของครีบท้อง มีหนวดที่ปลายจะงอยปากสองคู่และหนวดที่มุมปากบนอีกหนึ่งคู่รวมเป็นสามคู่ ครีบหางเว้าลึกเป็นแฉก ซึ่งเป็นปลาน้ำจืดตามแหล่งน้ำของไทย เพราะว่าปัจจุบันปลาหมูได้ลดจำนวนลงมาก แทบไม่พบเห็นตามแหล่งน้ำธรรมชาติแล้ว


 

              
 

บรรยากาศภายในวัด
     เป็นวัดที่สงบร่มรื่น  ร่มเย็น  ผู้คนไม่พลุกพล่านมาก  ทางวัดมีจัดให้ทำบุญสังฆทานขอขมาเจ้ากรรม  ถวายเท่าไรก็ได้แล้วแต่ศรัทธา  กราบสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์  ขอพรหลวงพ่อหยกขาว  สามารถเข้ามาทำบุญ  กราบสักการะบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้ทุกวัน   ด้านหน้ามีรูปปั้นไอ้ไข่ให้กราบไหว้ ขอโชคลาภ และมีวัตถุมงคลไว้ให้เช่าบูชา  ก่อนที่จะขึ้นไปภายในถ้ำ ซึ่งตั้งอยู่บนเขา จะต้องเดินขึ้นบันไดไปประมาณ 100 เมตร ที่ซุ้มบันไดจะมีพ่อปู่พญาอนันตนาคราช และ แม่ย่าอุษาอนันตวดี อยู่ด้านหน้าทางเดินขึ้นบันได เมื่อผ่านซุ้มบันไดขึ้นไปประมาณ 50 เมตรด้านฝั่งซ้ายมือจะพบมณฑปหลวงพ่อหยกขาวมหาลาภ เมื่อเดินขึ้นบันไดปูนไปอีกประมาณ 200 เมตร  จนสุดบันได  ก็จะเจอทางเข้าถ้ำ  ชื่อว่า  “ถ้ำพระนิมิตรเรืองรอง” มีประตูเหล็กบานใหญ่ปิดตลอดเวลา แต่เราสามารถ เปิดเข้าไปได้ ที่ต้องปิดตลอดเวลาเพื่อป้องกัน ไม่ให้ลิงเข้าไปในถ้ำ

             

 
บรรยากาศภายในถ้ำพระนิมิตรเรืองรอง
    ถ้ำพระนิมิตรเรืองรอง สวยงามมาก วิจิตรตระการตาไปด้วย หินงอกหินย้อยตามธรรมชาติ เย็นสบายและเงียบสงบ เหมาะสำหรับคนที่ชอบนั่งสมาธิปฏิบัติธรรมและยังมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้เรากราบไหว้ขอพรเป็นจุด ๆ ตลอดจนถึงสุดถ้ำ  ด้านในภายถ้ำก็จะประกอบไปด้วยสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ดังนี้
 • จัดให้เข้าไปกราบรูปหลวงปู่เทพโลกอุดร 
 • จุดบูชาองค์พระนเรศวรมหาราช 
 • มีอ่างน้ำศักดิ์สิทธิ์ขององค์ปู่พญานาคราช
 • มีองค์พระสังกัจจายน์
 • มีองค์จำลองหลวงปู่ทวด หลวงปู่โต หลวงปู่แหวน องค์พระพิฆเนศ
 • องค์พระครูวิสุทธิ์กาญจนมุนี (หลวงพ่อ จิตติ อุตตมาจาโร) ฯลฯ
 
              
 

 
ล่องแพเปียก
<a title="ล่องแพเปียก"
Visitors: 109,852