ธุรกิจประมงในเมืองมะริด

การประมง
     เมืองมะริดมีชายฝั่งทะเลที่ยาว ทำให้มีทรัพยากรการประมงที่อุดมสมบูรณ์ และยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ เช่น ปลา ปู กุ้งมังกร ทั้งกระดาน แมงกะพรุน และยังเป็นแหล่งอุตสาหกรรมการประมงที่มีการส่งออกอาหารทะเล โดยมี ท่าเรือมะริดซึ่งตั้งอยู่ที่ปากแม่น้าตะนาวศรี เป็นท่าเรือชายฝั่งที่สำคัญ ที่ใช้ในการประมง และการค้าขายกับ ประเทศไทย และหมู่เกาะอันดามันของอินเดีย อีกทั้งมีเรือประมง 750 ลำ สัตว์น้ำที่จับได้ คือ ปลาและกุ้ง ในปี 2555 มีปริมาณ 890,357 ตัน ส่วนใหญ่เพื่อการบริโภคภายในประเทศ และบางส่วนส่งออกไปตลาดต่างประเทศด้วย สามารถนำรายได้เข้าสู่ประเทศ 113.56 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งส่งออกสินค้าประมงมาที่ไทยร้อยละ 60-70 หรือ ประมาณวันละ 1,500 ตัน หากเป็นสินค้าประมงแช่เย็นจะส่งออกไปตลาดปีนัง ประเทศมาเลเซีย

ข้อมูลเมืองมะริด


ธุรกิจประมงในมะริด
มีทั้ง ธุรกิจห้องเย็นและโรงงานผลิตเพื่อส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแช่แข็งและผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูป เช่น กุ้งแห้ง ปลาป่น และปลาแห้ง มีตลาดปลานานาชาติ (International Fish - Market) ที่ตั้งอยู่ใกล้กับเขตอุตสาหกรรมมะริด(Myeik Industrial Zone) โดยตลาดดังกล่าวเป็นการร่วมทุนระหว่างกรม ประมงสังกัดกระทรวงปศุสัตว์และประมง ของ พม่า บริษัท OEM ของพม่าและบริษัท Setraco International ของฝรั่งเศส ในสัดส่วนร้อยละ 30, 10 และ 60 ตามลำดับ โดยจะมีการนำสัตว์น้ำที่จับได้ในแต่ละวันมาคัดเลือกคุณภาพกันที่ตลาดแห่งนี้ เพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ซื้อที่จะเข้า มาประมูลซื้อสินค้าในแต่ละวันต่อไป

ข้อมูลเมืองมะริด
อุตสาหกรรมห้องเย็นปัจจุบันมีอุตสาหกรรมแซ่เย็น 10 แห่ง ที่ได้ดำเนินการประกอบธุรกิจแช่เย็นปลา 6,401 ตัน มีรายได้จากการส่งออก 28.84 ล้านเหรียญสหรัฐ สินค้าที่ส่งออก ได้แก่ กุ้งทะเล ปลาหมึก ปู ปูนิ่ม และปลาดุก 

ปัจจุบัน ในเมืองมะริดมีฟาร์มประมง ประมาณ 208 แห่ง พื้นที่ประมาณ  153 ไร่ ปริมาณผลผลิต 3.78 ตันจากการลงทุนของ 3 บริษัทใหญ่ ส่วนการทำฟาร์มปูนิ่มมี 4 บริษัทที่ทำการลงทุนในเมืองมะริด ใช้พื้นที่ 372 ไร่ ส่งออก 1,067.89 ตัน มีรายได้จากการส่งออก 4.84 ล้านเหรียญสหรัฐ 

การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเมืองมะริด
     ด้านเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เมียนมาร์มีการนำเข้าของลูกพันธุ์สัตว์น้ำและเครื่องจักรต่างๆ จาก ไทยในส่วนของอาหารสัตว์น้ำเมียนมาร์มีวัตถุดิบจำนวนมาก แต่ยังขาดแคลนเทคโนโลยีการผลิต เทคนิคการปรับปรุง สูตรอาหารและส่วนผสมพิเศษอื่นๆ ในการผลิตผลตอบแทนที่ได้จากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในเมียน-มาร์ยังต่ำ เพราะ เป็นการผลิตเพื่อขายในประเทศเป็นส่วนมาก และส่วนใหญ่เป็นการเพาะเลี้ยงขนาดเล็กโดยยังนิยมเลี้ยงแบบ Polyculture จึงให้ผลผลิตต่ำ นอกจากนี้ ปัญหาในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่สำคัญของเมียนมาร์ ได้แก่ การขาดแคลน ไฟฟ้าและพลังงาน ราคาอาหารสัตว์น้ำที่สูงขึ้น ทำให้ต้นทุนการเลี้ยงเพิ่มขึ้น

การแปรรูปสัตว์น้ำเมืองมะริด
     อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารทะเลของเมียนมาร์มี จุดแข็ง ในด้านแรงงานที่มีราคาถูกมีที่ดินที่สามารถพัฒนาได้อีกมาก แต่ยังมีจุดอ่อนในเรื่องระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ที่ยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา พลังงาน และระบบองค์กรรัฐที่ไม่เข้มแข็ง และยังมีอุปสรรคจากตลาดภายในประเทศที่ยังค่อนข้างจำกัด ผู้บริโภคยังขาดความรู้ และการขาดเสถียรภาพของราคา แต่ในอนาคตตลาดส่งออกมีโอกาสที่จะเติบโตได้ โดยเฉพาะ จากการที่สหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกายกเลิกการคว่ำบาตรทางการค้ากับเมียนมาร์และการได้สิทธิพิเศษทางภาษี ศุลกากร (Generalised System of preferences: GSP) จากสหภาพยุโรป ทำให้สินค้าอาหารทะเลซึ่งรวมทั้งสินค้า กุ้งของเมียนมาร์ที่ส่งออกไปสหภาพยุโรปจะเสียภาษีนำเข้าในอัตราร้อยละ0. ซึ่งเป็นโอกาสในการขยายการส่งออก ของเมียนมาร์ และเป็นโอกาสของผู้ประกอบการแปรรูปอาหารทะเลของไทย หากสนใจไปลงทุนธุรกิจนี้ในเมียนมาร์โรงงานแปรรูปอาหารทะเลส่วนใหญ่ในเมียนมาร์ประสบปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ ทำให้โรงงานต้อง ปิดสายการผลิตเป็นช่วงๆ ส่งผลให้การผลิตในปัจจุบันต่ำกว่ากำลังการผลิตที่มีอยู่ค่อนข้างมาก ปัญหาอุปสรรคสำคัญ อื่นๆ ในภาคอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเลของเมียนมาร์ ได้แก่ ความไม่พร้อมของสาธารณูปโภค โดยเฉพาะไฟฟ้า ซึ่งประสบปัญหาไฟฟ้าดับบ่อยครั้ง ทำให้ทุกโรงงานต้องมีเครื่องปั่นไฟสำรอง การคมนาคมขนส่งค่อนข้างลำบากต้นทุนค่าขนส่งสูง

ความน่าสนใจของธุรกิจประมงในเมียนมาร์
     ปัจจุบันทรัพยากรทางทะเลของเมืองมะริดมีความสมบูรณ์มากเมืองมะริดเป็นศูนย์กลางประมงของเมียนมาร์เมื่อเทียบกับสงขลา หรือมหาชัย เมื่อ 25 ปีก่อน ชาวประมงส่วนใหญ่เป็นคนท้องถิ่นของ เมืองมะริดและเมืองใกล้เคียงและเริ่มมีผู้ประกอบการไทยเข้าไปทําธุรกิจเรือประมงมากขึ้นเรือประมงของไทย ส่วน ใหญ่ในตอนนี้เข้าไปจับปลาในเขตเมียนมาร์
โดยแบ่งกิจการเป็น 2 ลักษณะ
      1)  แปลงสัญชาติเป็นเรือพม่า ซึ่งในอดีต เคยทําได้ แต่ปัจจุบันไม่สามารถทําได้
      2)  ซื้อ “ตัวเรือ” หรือโควตาจับปลา โดยมีสองเขตคือ เกาะสอง กับ ตะนาวศรี โดยต้องติดต่อสองบริษัทในเมียนมาร์ 
ตอนนี้ประเทศไทยต้องการวัตถุดิบจากกิจการประมงจากเมียนมาร์อยู่เป็นจำนวนมาก ที่มะริดยังมี ศักยภาพอีกอย่างน้อย 8 ปี ทั้งนี้ น่านน้ำทะเลอันดามัน ตั้งแต่ทวายลงมาจนถึงเกาะสอง มีเกาะต่างๆ อยู่กว่า 1,300 กว่าเกาะ เป็นตัวบังลม บังมรสุมให้กับชายฝั่งทะเล ชายฝั่งจึงมีสัตว์นน้ำที่มีมูลค่าอยู่ตามชายเกาะ การที่มีเกาะจํานวนมากทําให้เมียนมาร์มีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ สัตว์น้ำหลายชนิด อย่างที่เมืองไทยหายากแล้วในเมียนมาร์ด้านชายฝั่ง ตะนาวศรียังมี เช่น ปลาหน้าหงส์ ปลากุเลา ภาครัฐตั้งใจให้ท่าเรือมะริดเป็นศูนย์กลางการค้าขายอาหารทะเล (สะพาน ปลา) แต่ติดปัญหาเรื่องการขนส่งสิ่งอํานวยความสะดวก หากการปรับปรุงเส้นทางระหว่างเมืองมะริด-ด่านสิงขรเสร็จ เรียบร้อยแล้ว คาดว่าภาครัฐของเมียนมาร์จะเปิดท่าเรือมะริดเป็นสะพานปลา
(ระยะทางจากมะริดจนถึงด่านสิงขรรวมประมาณ200 กิโลเมตร) ทั้งนี้ มีนักลงทุนชาวไทย ญี่ปุ่น และมาเลเซียเริ่มเข้าไปลงทุนมากขึ้น เช่น โรงงานผลิตปลาป่น โรงงานกุ้งแช่แข็ง 

ข้อมูลเมืองมะริด
 

ธุรกิจบริการที่สำคัญ  ของเมืองมะริด ประกอบด้วย ธุรกิจศูนย์การค้าธุรกิจที่พักโรงแรมการให้เช่าเรือ ในมะริดยังมีสนามบินภายในเมือง มีเที่ยวบินเส้นทางจาก ย่างกุ้ง-มะริด และ เกาะสอง-มะริด เท่านั้น แต่ในปี 2557 ได้มีการเปิดเส้นทางใหม่จากดอนเมือง-มะริด เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ให้แก่นักท่อง เที่ยวไม่ต้องเดินทางผ่านเกาะสองหรือย่างกุ้ง
โรงแรมและที่พัก ในเมืองมะริด มีโรงแรมระดับ 5 ดาว 1 แห่ง มีโรงแรมทั่วไป 5 แห่ง และเกสเฮาส์ 31 แห่ง บางแห่งคุณภาพอาจไม่ดีนัก และขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้างโรงแรมระดับ 5 ดาว เพื่อรองรับการเดินทาง มาของนักท่องเที่ยว และนักธุรกิจ


ข้อมูลเมืองมะริด


ศูนย์การค้า
  ส่วนใหญ่เป็นร้านค้าขนาดเล็ก และมี ห้างสรรพสินค้า ใหญ่ 1 แห่ง สินค้าอุปโภคบริโภคที่ นํามาขายส่วนใหญ่มักเป็นสินค้าที่นําเข้ามาจากประเทศไทย ปัจจุบันในเมืองมะริดบริโภคสินค้าไทยเป็นส่วนใหญ่ร้อยละ 80 % ของทั้งหมด เช่น อาหาร เสื้อผ้า และสินค้าอื่นๆ เพราะมะริดอยู่ห่างไกลจากกรุงย่างกุ้ง มะริดจึงมีความใกล้ชิดกับไทย มากกกว่า สินค้าส่วนใหญ่จึงเป็นสินค้าของไทย       

ข้อมูลเมืองมะริด

เมืองมะริดมีหมูเกาะประมาณ 800 เกาะ และเป็น แหล่งดําน้ำที่สวยงามที่สุดติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก มีแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติบริสุทธิ์ชายฝั่งทะเลอันดามันที่มีแผนพัฒนาสู่ความเป็นศูนย์กลางการ ท่องเที่ยวแห่งใหม่โดยมีภูเก็ตเป็นต้นแบบ รัฐบาลเมียนมาร์จึงมีความต้องการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวที่มีศักยภาพสูง ของทั้งสองฝ่ายระหว่างกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2 และจังหวัดราชบุรี กับ เขตตะนาวศรี โดยเชื่อมั่นว่า ความใกล้ชิดด้านวัฒนธรรมและเชื้อชาติจะเป็นกลไกสนับสนุนการเชื่อมโยงความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นการ ท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ เช่น กิจกรรมดําน้ำ ตกปลา พายเรือ รวมถึงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เช่น วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน สิ่งก่อสร้างที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ หรือศาสนา เช่น วัด ต่างๆ


  • แหล่งท่องเที่ยว (3).jpg
    แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจด้วยทําเลที่ตั้งที่อยู่ติดชายฝั่งทะเล รวมทั้งมีภูมิประเทศที่สวยงาม ตลอดจนวัฒนธรรมที่เก่าแก่ ทําให้ เขตตะนาวศรีมีเสน่ห์ในการดึงดูดนักท่องเที่ยว โดยมีแหล่งท่...

  • แหล่งท่องเที่ยว (1).jpg
    ลักษณะกายภาพของเมืองมะริด มะริด หรือ มเยะ(Mergui, Myeik) ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.1820 เกิดขึ้นในช่วงสมัยสุโขทัย คนไทยเรียกว่า เมืองมะริด (Myeik) แต่คนอังกฤษเรียกว่าเมืองเมอร์กุย (Mergui...

  • 2.jpg
    ศักยภาพของเมืองมะริด เมืองมะริด มีทรัพยากรธรรมชาติทั้งบนบกและทางทะเลที่อุดมสมบูรณ์ ตลอดจนมีอุตสาหกรรมสัตว์น้ำที่โดดเด่น เป็นเมืองท่าการประมงและศูนย์กลางการค้าไข่มุกที่สำคัญของเมียน...

  • Navy Blue Nature Photo Collage Men Travel Twitter Post.jpg
    แหล่งท่องเที่ยวมะริด"เกาะฮันนีมูน เกาะใหม่ทะเลพม่า" ในช่วง 2- 3 ปีที่ผ่านมา ทางพม่าเปิดเกาะใหม่ๆ เยอะมากและสวยทุกที่ เพราะทางรัฐบาลพม่า นำโดยกระทรวงการท่องเที่ยวและโรงแรม (Ministry...
Visitors: 110,491